วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 29 มิ.ย.: ยูโรร่วงเทียบดอลล์ เหตุวิตกสภาพคล่องในระบบการเงินยุโรป

ค่าเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (29 มิ.ย.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะขาดสภาพคล่องในระบบการเงินของยุโรป อันเนื่องมาจากข่าวที่ว่าธนาคารพาณิชย์ในยุโรปต้องเร่งระดมเงินจำนวนมากเพื่อชำระคืนเงินกู้ฉุกเฉินให้กับธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ภายในวันพฤหัสบดีนี้ ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยน หลังจากหน่วยงานของสหรัฐเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ร่วงลงเกินคาดในเดือนพ.ค.

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.71% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2190 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.2277 ดอลลาร์สหรัฐ และเงินปอนด์อ่อนตัวลง 0.19% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5070 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5099 ดอลลาร์สหรัฐ

ดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.91% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 88.540 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 89.350 เยน และดิ่งลง 0.54% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0810 ฟรังค์ จากระดับ 1.0869 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดิ่งลง 2.67% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8486 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันจันทร์ที่ 0.8719 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 2.13% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.6927 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7078 ดอลลาร์สหรัฐ

นักลงทุนยังวิตกกังวลกับข่าวที่ว่าระบบการเงินของยุโรปกำลังขาดสภาพคล่องอยู่กว่า 1 แสนล้านยูโร เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ในยุโรปต้องเร่งระดมเงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ฉุกเฉินให้กับธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มูลค่า 4.42 แสนล้านยูโร (5.455 แสนล้านดอลลาร์) ภายในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้สกุลเงินยูโรถูกเทขายอย่างหนัก

ธนาคารกลางยุโรปเปิดเผยว่า อัตราการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคครัวเรือนและภาคเอกชนในยุโรปขยายตัวเร็วขึ้นในเดือนพฤษภาคม สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วขึ้นเช่นกัน โดยสินเชื่อที่ปล่อยให้กับภาคเอกชนขยายตัว 0.2% ในเดือนพฤษภาคมเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หลังจากที่ขยายตัว 0.1% ในเดือนเมษายน ขณะที่ปริมาณเงิน M3 ซึ่งธนาคารกลางยุโรปใช้วัดอัตราเงินเฟ้อในอนาคต ปรับลดลง 0.2% ในเดือนพฤษภาคมเมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่เท่ากับในเดือนเมษายน

เศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่งขึ้นและเงินยูโรที่อ่อนค่าลงกระตุ้นให้ต่างประเทศต้องการสินค้าจากยุโรปมากขึ้น ขณะเดียวกันวิกฤตหนี้สินก็กดดันให้รัฐบาล 16 ประเทศยูโรโซนลดงบประมาณใช้จ่ายลง ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุโรป

ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M3 ในยุโรปลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M1 ขยายตัวช้าลงแตะ 10.3% จากเดิมที่ขยายตัว 10.7%

ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยน หลังจากสำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ดรายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.ของสหรัฐร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 52.9 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน จากเดือนพ.ค.ที่ระดับ 62.7 จุด

นอกจากนี้ สำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเม.ย.ของจีนขยับตัวขึ้นเพียง 0.3% ซึ่งเป็นระดับที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 5 เดือน และน้อยกว่าเดือนมี.ค.ที่พุ่งขึ้น 1.7% ซึ่งบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจจีนผ่านพ้นจุดสูงสุงของการขยายตัวมาแล้ว

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นเดือนมิ.ย. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนพ.ค. และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย. โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในวอลล์สตรีทคาดว่า ตัวเลขจ้างงานเดือนมิ.ย.จะลดลง 110,000 ตำแหน่ง เนื่องจากการจ้างพนักงานชั่วคราวของภาครัฐในส่วนของงานสำมะโนประชากรมีแนวโน้มปรับตัวลดลง และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมิ.ย.จะพุ่งขึ้นแตะระดับ 9.7%

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 30 มิ.ย.




EUR/USD intraday: under pressure


Pivot: 1.2220

คำแนะนำ : Short ที่ระดับต่ำกว่า 1.2220 targets @ 1.2150 & 1.2090

หากราคาผ่านเหนือ 1.2220 เป้าหมายด้านบนคือ 1.2250 & 1.2290

ราคาติดแนวต้านและคาดว่าจะอ่อนตัวลงอีกเนื่องจาก RSI กำลังกลับลง

Key levels
1.2290
1.2250
1.2220
1.2205 last
1.2150
1.2090
1.2045

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 28 มิ.ย.: วิตกสภาพคล่องแบงค์ยุโรป ฉุดยูโรร่วงเทียบดอลล์

ค่าเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (28 มิ.ย.) หลังจากมีข่าวว่าธนาคารพาณิชย์ในยุโรปกำลังเร่งเร่งระดมทุนเพื่อจ่ายคืนเงินกู้ให้กับธนาคารกลางยุโรป ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน ขานรับตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคของสหรัฐที่พุ่งขึ้นเกินคาด ส่วนเงินฟรังค์แข็งค่าขึ้นหลังจากเจ้าหน้าที่สวิสระบุว่า การแข็งค่าของเงินฟรังค์ไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศ

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.79% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2276 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.2374 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเงินปอนด์ดีดขึ้น 0.29% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 1.5106 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5063 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.24% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 89.420 เยน จากระดับของวันศุกร์ที่ 89.210 เยน แต่ร่วงลง 0.54% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0867 ฟรังค์ จากระดับ 1.0926 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.30% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8722 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 0.8748 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 0.73% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7086 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7138 ดอลลาร์สหรัฐ

นักลงทุนวิตกังวลเกี่ยวกับสถานะด้านการเงินของธนาคารพาณิชย์ในยุโรป เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต้องเร่งระดมทุนเพื่อชำระคืนหนี้มูลค่ารวม 4.42 แสนล้านยูโร หรือ 4.455 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับธนาคารกลางยุโรปในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้สถานะเงินทุนและสภาพคล่องของธนาคารได้รับผลกระทบ

ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้แรงหนุนหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคเดือนพ.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.2% ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 0.4% และอัตราการออมของผู้บริโภคพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน

ที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป หรือ G-20 มีมติสนับสนุนการใช้มาตรการการคลังเพื่อลดยอดขาดดุลให้ได้ภายในปี 2556 และลดตัวเลขหนี้สาธารณะของรัฐบาลต่อหน่วยจีดีพีลงให้ได้ภายในปี 2559 ซึ่งอาจทำให้ประเทศกลุ่ม G-20 ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและขึ้นภาษีเพื่อลดยอดขาดดุล

นอกจากนี้ ที่ประชุม G-20 ยังขานรับสหภาพยุโรปที่เดินหน้าใช้กลไกสร้างเสถียรภาพในยุโรป รวมถึงการทดสอบสถานะทางการเงินของธนาคาพาณิชย์ และยังขานรับสภาคองเกรสสหรัฐที่ผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปการเงิน ที่ครอบคลุมถึงการจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อคุ้มครองกลุ่มผู้บริโภคทางการเงิน จัดตั้งกระบวนการในการปิดบริษัทการเงินที่ประสบปัญหา และยกระดับมาตรฐานเงินกองทุนของธนาคาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติสินเชื่อแบบในปี 2550 - 2552 ขึ้นอีก

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นเดือนมิ.ย. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนพ.ค. และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย. โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในวอลล์สตรีทคาดว่า ตัวเลขจ้างงานเดือนมิ.ย.จะลดลง 110,000 ตำแหน่ง เนื่องจากการจ้างพนักงานชั่วคราวของภาครัฐในส่วนของงานสำมะโนประชากรมีแนวโน้มปรับตัวลดลง และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมิ.ย.จะพุ่งขึ้นแตะระดับ 9.7%

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Technical Analysis for Week 28 Jun - 02 Jul

EUR/USD trend: sell.
GBP/USD trend: buy.
USD/JPY trend: sell.
EUR/JPY trend: sell.
GBP/JPY trend: hold.

Floor Pivot Points
Pair3rd Sup2nd Sup1st SupPivot1st Res2nd Res3rd Res
EUR/USD1.19841.20971.22401.23531.24961.26091.2752
GBP/USD1.44301.45591.48081.49371.51861.53151.5564
USD/JPY86.2387.7288.4989.9890.7592.2493.01
EUR/JPY105.06107.29108.92111.15112.78115.01116.64
GBP/JPY130.08131.58133.00134.50135.92137.42138.84

Fibonacci Retracement Levels
PairsEUR/USDGBP/USDUSD/JPYEUR/JPYGBP/JPY
100.0%1.24651.506591.47113.39136.00
61.8%1.23671.492190.61111.92134.88
50.0%1.23371.487690.34111.46134.54
38.2%1.23071.483190.07111.00134.20
23.6%1.22691.477689.74110.44133.77
0.0%1.22091.468789.21109.53133.08

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 24 มิ.ย.: ดอลล์ร่วง หลังสหรัฐเผยข้อมูลศก.อ่อนแอ-เฟดปรับลดมุมมองศก.

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยนและยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (24 มิ.ย.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดมุมมองเศรษฐกิจในการประชุมครั้งล่าสุด นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังถูกกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของสหรัฐ รวมถึงยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและตัวเลขว่างงานรายสัปดาห์

ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลง 0.42% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 89.450 เยน จากระดับของพุธที่ 89.830 เยน และอ่อนตัวลง 0.17% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.1022 ฟรังค์ จากระดับ 1.1041 ฟรังค์

ค่าเงินยูโรขยับขึ้น 0.09% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2324 ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 1.2313 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลง 0.31% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.4921 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4967 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.89% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8660 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 0.8738 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนตัวลง 0.22% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7082 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7129 ดอลลาร์สหรัฐ

นักลงทุนเทขายค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากเฟดปรับลดมุมมองเศรษฐกิจและประเมินเศรษฐกิจอย่างระมัดระวัง โดยในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันพุธที่ผ่านมา เฟดออกแถลงการณ์ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ 'ยังคงดำเนินต่อไป' ขณะที่ตลาดแรงงานค่อยๆปรับตัวดีขึ้นและตัวเลขการใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ก็ถูกจำกัดด้วยอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ เฟดระบุว่าวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วย

นอกจากนี้ เฟดระบุว่า รายได้ส่วนบุคคลในสหรัฐมีการขยายตัวปานกลาง แต่ภาวะตึงตัวในตลาดการเงินซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปนั้น กำลังส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราการปล่อยกู้ของภาคธนาคารหดตัวลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ส่วนการลงทุนโดยรวมยังคงซบเซาเนื่องจากกลุ่มนายจ้างยังคงไม่มั่นใจที่จะเพิ่มการจ้างงาน และตัวเลขการสร้างบ้านยังคงอยู่ในระดับที่น่ากังวล

นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังของสหรัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ค.ร่วงลง 1.1% มาอยู่ที่ระดับ 1.92 แสนล้านดอลลาร์ หลังจากเพิ่มขึ้น 3.0% ในเดือนเม.ย.

ขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 19 มิ.ย.ลดลงเพียง 19,000 ราย สู่ระดับ 457,000 ราย ซึ่งแม้ว่าตัวเลขดังกล่าวปรับตัวลดลง แต่จำนวนคนว่างงานยังนับว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียทะยานขึ้นแข็งแกร่งในระหว่างวัน ก่อนที่จะอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากนักลงทุนขานรับนางจูเลีย กิลลาร์ด ที่ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของออสเตรเลีย ภายหลังจากนายเควิน รัดด์ ประกาศลงจากตำแหน่ง ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยให้ตลาดหุ้นออสเตรเลียและค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้นทันที

นอกจากนี้ นางกิลลาร์ดยังได้รับการตอบรับที่ดีจากสภาสหภาพแรงงานออสเตรเลีย (ACTU) โดยนายพอล ฮาวส์ เลขาธิการสหภาพแรงงานออสเตรเลียเรียกร้องให้นางกิลลาร์ดต้องเร่งกอบกู้ความน่าเชื่อถือของพรรคแรงงานในกลุ่มคนทำงานกลับคืนมา ขณะที่สมาพันธ์ด้านการพยาบาลของออสเตรเลียชี้ว่า สิ่งสำคัญอันดับแรกที่นางกิลลาร์ดจำเป็นต้องทำคือ การปฏิรูประบบสาธารณสุข และการปรับปรุงความสัมพันธ์ในภาคอุตสาหกรรม

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันศุกร์นี้ โดยกระทรวงพาณิชย์จะเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ขั้นสุดท้ายประจำไตรมาสแรกปีนี้ และรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนจะเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นขั้นสุดท้ายเดือนมิ.ย.

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 22 มิ.ย.: ดอลล์ร่วงตามยอดขายบ้านสหรัฐ ขณะปอนด์พุ่งรับข่าวอังกฤษใช้มาตรการลดรายจ่าย

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยนและฟรังค์สวิส ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 มิ.ย.) เนื่องจากยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐที่ร่วงลงอย่างหนักส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเปราะบางในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ค่าเงินปอนด์พุ่งขึ้นขานรับข่าวรัฐบาลอังกฤษประกาศมาตรการลดรายจ่ายและขึ้นภาษีครั้งใหญ่เพื่อลดตัวเลขขาดดุลงบประมาณ ส่วนยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพของธนาคารพาณิชย์ในยุโรป

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.62% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 90.440 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 91.000 เยน และดิ่งลง 0.44% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.1071 ฟรังค์ จากระดับ 1.1120 ฟรังค์

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.28% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2271 ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.2306 ดอลลาร์ และเงินปอนด์พุ่งขึ้น 0.42% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ระดับ 1.4809 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4747 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.35% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.8723 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันจันทร์ที่ 0.8754 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 0.33% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.7046 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7069 ดอลลาร์สหรัฐ

ดอลลาร์สหรัฐดิ่งลงเมื่อเทียบกับเงินเยน เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเปราะบางในตลาดอสังหาริมทรัพย์ หลังจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ค.ดิ่งลง 2.2% สู่ระดับ 5.66 ล้านยูนิต/ปี

ค่าเงินปอนด์ดีดตัวขึ้นหลังจากนายจอร์จ ออสบอร์น รัฐมนตรีคลังอังกฤษ ประกาศมาตรการลดรายจ่ายและขึ้นภาษีครั้งใหญ่เพื่อลดตัวเลขขาดดุลงบประมาณที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ลงมาให้ได้ภายในปีงบประมาณ 2558-59 ระบุเป็นการดำเนินการที่รุนแรงแต่ยุติธรรม และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

โดยในการแถลงงบประมาณต่อรัฐสภาเป็นครั้งแรกของรัฐบาลผสมชุดใหม่วานนี้ ออสบอร์นกล่าวว่า รัฐบาลจะใช้มาตรการเด็ดขาดในการจัดการกับหนี้สาธารณะ โดยจะพยายามเน้นไปที่การลดรายจ่ายมากกว่าการขึ้นภาษี พร้อมเผยว่า รัฐบาลจะตัดรายจ่ายประจำเพิ่มอีก 3 หมื่นล้านปอนด์ (4.4 หมื่นล้านดอลลาร์) ต่อปีภายในปีงบประมาณ 2557-2558

ส่วนข่าวความเคลื่อนไหวในยุโรปนั้น นางอังเกล่า แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ยืนยันว่าเยอรมนีจะเดินหน้าใช้มาตรการรัดเข็มขัดอย่างเข้มงวดเพื่อเป้าหมายที่จะลดยอดขาดดุลงบประมาณ แม้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐเตือนว่า การลดยอดขาดดุลงบประมาณมากเกินไปอาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกก็ตาม

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเสร็จสิ้นการประชุมระยะ 2 วันในคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดจะยังตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) ไว้เท่าเดิมที่ 0 - 0.25% ในการประชุมครั้งนี้ เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ภาวะผันผวนในตลาดวอลล์สตรีท ภาวะเปราะบางในตลาดที่อยู่อาศัย และอัตราว่างงานที่ยืนอยู่ในระดับสูง

Daily Video Recap 22-23rd Jun: Euro Slides vs Rivals, Pound Rallies on New Budget, US Data Mixed

Technical Update 22-23rd Jun - Return to Dollar Strength Tested

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 23 มิ.ย.

Pivot: 1.2315

คำแนะนำ : Short positions ที่ระดับต่ำกว่า 1.2315 with targets @ 1.2220 & 1.2160

หากราคาผ่านเหนือ 1.2315 เป้าหมายด้านบนคือ 1.2355 & 1.2395

ข้อสังเกต : ราคายังไม่ทะลุเส้น bearish trend line ทำให้มีการลงต่อ

Key levels
1.2395
1.2355
1.2315
1.2270 last
1.2220
1.2160
1.2120

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 21 มิ.ย.: ยูโรร่วงเทียบดอลล์ ขณะนักลงทุนจับตาประชุมเฟด

ค่าเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (21 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลเรื่องวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรป ขณะที่กระแสการตอบรับข่าวการปรับค่าเงินหยวนของจีนเริ่มแผ่วลง นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 23 มิ.ย. รวมทั้งติดตามการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ด้วย

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.49% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2323 ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.2384 ดอลลาร์ และเงินปอนด์ร่วงลง 0.49% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 1.4754 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4826 ดอลลาร์

ค่าดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.36% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 91.000 เยน จากระดับของวันศุกร์ที่ 90.670 เยน และดีดตัวขึ้น 0.35% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.1121 ฟรังค์ จากระดับ 1.1082 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.56% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8769 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 0.8720 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.30% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7086 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7065 ดอลลาร์สหรัฐ

ในช่วงเช้านั้น ค่าเงินยูโรดีดตัวขึ้นหลังจากธนาคารกลางจีนได้ตัดสินใจปรับเงินหยวนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของจีนอาจปูทางไปสู่การปรับขึ้นค่าเงินหยวนในวันข้างหน้า ขณะที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐ กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจโลก แต่ต่อมากระแสการตอบรับข่าวการปรับค่าเงินหยวนเริ่มแผ่วลง จึงทำให้นักลงทุนเทขายสกุลเงินยูโร

โรเบิร์ต มันเดลล์ นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กล่าวแสดงความเห็นว่า การที่จีนให้คำมั่นสัญญาว่าจะปรับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นนั้น อาจจะส่งผลบั่นทอนเสถียรภาพของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจทั่วโลก พร้อมกับตั้งข้อสังเกตุว่าการที่จีนออกมาให้คำมั่นสัญญาว่าจะปรับเงินหยวนให้ยืดหยุ่นมากขึ้นครั้งนี้ อาจเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมือง

นักลงทุนจับตาดูการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 23 มิ.ย.นี้ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) ไว้ที่ 0 - 0.25% และจับตาดูแถลงการณ์การประเมินเศรษฐกิจของเฟด

นอกจากนี้ นักลงทุนยังติดตามข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันอังคาร สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติจะเปิดเผยยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ค. วันพุธ กระทรวงพาณิชย์จะเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ค. และสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์

ส่วนวันพฤหัสบดี กระทรวงพาณิชย์จะเปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ค. และกระทรวงแรงงานจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ วันศุกร์ กระทรวงพาณิชย์จะเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ขั้นสุดท้ายประจำไตรมาสแรกปีนี้ และรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนจะเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นขั้นสุดท้ายเดือนมิ.ย.

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในวอลล์สตรีทคาดการณ์ว่า ยอดขายบ้านใหม่ประจำเดือนพ.ค.ของสหรัฐมีแนวโน้มร่วงลง 19% มาอยู่ที่ระดับ 410,000 ยูนิต/ปี และคาดว่ายอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ค.อาจปรับตัวเพิ่มขึ้น 1% ซึ่งจะเป็นสถิติที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากการขยายตัวด้านการลงทุนในภาคเอกชนและยอดขายในต่างประเทศจะช่วยกระตุ้นดีมานด์สินค้าทีมีอายุการใช้งานนานกว่า 3 ปี รวมถึงคอมพิวเตอร์และเครื่องจักร

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 17 มิ.ย.: ยูโรพุ่งแรง รับข่าวรัฐบาลสเปนระดมทุนผ่านประมูลพันธบัตร

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (17 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์การเงินในยุโรป หลังจากรัฐบาลสเปนสามารถระดมทุนได้จำนวนมากจากการออกพันธบัตรงวดใหม่ ขณะที่เงินฟรังค์สวิสทะยานขึ้น หลังจากธนาคารกลางสวิสยืนยันว่าจะไม่เข้าแทรกแซงตลาดเพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของค่าเงินฟรังค์ ส่วนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อข้อมูลเศรษฐกิจ รวมถึงตัวเลขว่างงานรายสัปดาห์ที่พุ่งขึ้นสวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.63% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2383 ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 1.2306 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์พุ่งขึ้น 0.60% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ระดับ 1.4816 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4728 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง 0.47% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 90.990 เยน จากระดับของวันพุธที่ 91.420 เยน และร่วงลง 1.71% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.1118 ฟรังค์ จากระดับ 1.1311 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดีดตัวขึ้น 0.51% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.8676 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 0.8632 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.80% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.7025 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6969 ดอลลาร์สหรัฐ

นักวิเคราะห์จากบริษัทยูเนียนเครดิตในกรุงลอนดอน กล่าวว่า นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของสกุลเงินยูโรและสถานะการคลังของประเทศยุโรปมากขึ้น หลังจากมีรายงานว่ารัฐบาลสเปนสามารถระดมทุนได้เกือบ 3.5 พันล้านยูโรในการประมูลพันธบัตรงวดใหม่ประเภท 10 ปี และ 30 ปี ซึ่งความสำเร็จในการออกพันธบัตรเมื่อวานนี้มีขึ้นหลังจากในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลสเปนสามารถระดมทุนได้ถึง 5.2 พันล้านยูโรผ่านการประมูลพันธบัตรประเภท 12 และ 18 เดือน

ส่วนข่าวความเคลื่อนไหวในด้านการธนาคารของสเปนนั้น เมื่อวานนี้นายมิเกล อังเกิล เฟอร์นันเดส ออร์โดเนซ ผู้ว่าการธนาคารกลางสเปนเปิดเผยว่า ธนาคารกลางสเปนเตรียมดำเนินการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) หรือทดสอบความสามารถในการรับมือกับวิกฤตการณ์การเงินของธนาคารพาณิชย์ภายในประเทศ และจะเปิดเผยผลการทดสอบด้วย

ด้านนักวิเคราะห์ในเมืองฮัมบูร์กของเยอรมนีกล่าวว่า การที่ธนาคารกลางสเปนตัดสินใจจะเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤตของธนาคารพาณิชย์ในประเทศนั้น อาจเป็นการบีบให้ธนาคารกลางอื่นๆในยุโรปดำเนินการตาม ท่ามกลางกระแสเรียกร้องของกลุ่มนักลงทุนที่ต้องการให้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว

วิกฤตหนี้สาธารณะทีเกิดขึ้นกับกรีซส่งผลให้หลายฝ่ายจับตาดูการเงินสาธารณะและต้นทุนการให้ความช่วยเหลือธนาคารของสเปนมาโดยตลอด โดยเฉพาะธนาคารออมทรัพย์ หรือ cajas ของสเปนที่มีหนี้เสียจำนวนมาก นอกจากนี้ ธนาคารกลางสเปนได้ยึดสถาบันการเงิน 2 แห่งนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงิน และกดดันให้ธนาคารออมทรัพย์ที่มีปัญหาการเงินเร่งหาลู่ทางในการควบรวมกิจการเพื่อให้มีคุณสมบัติในการกู้เงินจากกองทุนฉุกเฉินของรัฐบาลได้

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากทางการสหรัฐรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 12 มิ.ย. พุ่งขึ้น 12,000 ราย สู่ระดับ 472,000 ราย สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 450,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้น และดัชนีกิจกรรมการผลิตในเขตฟิลาเดลเฟียประจำเดือนพ.ค.ร่วงลงสู่ระดับ 8 จุด จากเดือนเม.ย.ที่ระดับ 21.4 จุด

นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดแผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) เดือนพ.ค.ลดลง 0.2% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ดัชนีซีพีไอพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.1%

นักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนีซีพีไอซึ่งเป็นหนึ่งในดัชนีวัดค่าเงินเฟ้อที่ร่วงลงติดต่อกัน 2 เดือน อาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) ไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0 - 0.25% ต่อไปอีกระยะหนึ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 17 มิ.ย.


EUR/USD intraday: bounce

Pivot: 1.2270

คำแนะนำ : Long ที่ระดับเหนือ 1.2270 targets @ 1.2355 & 1.2425

หากราคาลงต่ำกว่า 1.2270 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.2210 & 1.2160

ข้อสังเกต : RSI มีโมเมนตัมทางลงน้อย

Key levels
1.2455
1.2425
1.2355
1.2310 last
1.2270
1.2210
1.2160

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 16 มิ.ย.: ยูโรร่วงเทียบดอลล์ จากความวิตกปัญหาระบบการเงินสเปน

ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อคืนนี้ (16 มิ.ย.) เนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือและปัญหาในระบบการธนาคารของสเปน รวมถึงข่าวที่ว่าธนาคารกลางสเปนเตรียมดำเนินการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ของธนาคารพาณิชย์ภายในประเทศ ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้แรงหนุนจากข้อมูลด้านการผลิตที่แข็งแกร่งของสหรัฐ

ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลง 0.16% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ระดับ 1.2303 ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 1.2323 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลง 0.26% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ระดับ 1.4761 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4800 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐทรงตัวเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 91.410 เยน แต่ร่วงลง 0.33% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.1295 ฟรังค์ จากระดับของวันอังคารที่ 1.1332 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.21% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8635 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันอังคารที่ 0.8653 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ขยับลง 0.09% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.6977 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6983 ดอลลาร์สหรัฐ

นักลงทุนกระหน่ำขายเงินยูโรเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือและปัญหาในระบบการธนาคารของสเปน โดยมีรายงานว่าธนาคารกลางสเปนเตรียมดำเนินการทดสอบภาวะวิกฤต หรือความสามารถในการรับมือกับวิกฤตการณ์การเงินของธนาคารพาณิชย์ภายในประเทศ ขณะที่นักวิเคราะห์จากบริษัท แอคชั่น อิโคโนมิค ในเมืองโตรอนโต้ กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์ในสเปนกำลังเผชิญปัญหาสภาพคล่องตึงตัว เนื่องจากธนาคารในบางประเทศปฏิเสธที่จะปล่อยเงินกู้ให้กับธนาคารสเปน

สหภาพยุโรป (อียู) ปฏิเสธรายงานข่าวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์เอล เอโคโนมิสต้า ว่า อียู กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และกระทรวงการคลังสหรัฐ กำลังร่วมมือกันจัดหาสินเชื่อวงเงินสูงถึง 2.50 แสนล้านยูโรให้กับรัฐบาลสเปน หลังจากที่ก่อนหน้านี้อียูได้เคยออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าวมาแล้ว เมื่อหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ ดอยช์ลันด์ ระบุว่า อียูกำลังกำลังให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่สเปน ซึ่งเป็นเงินส่วนหนึ่งจากมาตรการฉุกเฉินมูลค่า 7.50 แสนล้านยูโร (9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ที่ทางอียูและไอเอ็มเอฟทำข้อตกลงร่วมกัน

สเปนและโปรตุเกส ต่างถูกมองว่าเป็นสองประเทศสมาชิกยูโรโซนที่อาจจะร้องขอความช่วยเหลือด้านการเงิน เนื่องจากเผชิญหาหนี้สาธารณะแบบเดียวกันกับกรีซ โดยที่ผ่านมานั้น รัฐบาลสเปนได้ประกาศใช้มาตรการลดรายจ่ายที่มีความเข็มงวด เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน

สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือ ยูโรสแตท เปิดเผยว่า ราคาผู้บริโภคในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร 16 ประเทศ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 1.6% ต่อปีในเดือนพ.ค. จากระดับ 1.5% ในเดือนเม.ย. ซึ่งทำให้ตัวเลขดังกล่าวขยับเข้าใกล้ระดับ 2% ที่ธนาคารกลางยุโรปได้กำหนดไว้เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา

ในบรรดาประเทศสมาชิกอียูนั้น กรีซมีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดที่ 5.3% ตามมาด้วยฮังการีและโรมาเนีย ขณะที่ลัตเวียมีเงินเฟ้อต่ำสุดที่ 2.4% ส่วนอัตราเงินเฟ้อในเยอรมนีและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่สุดในยุโรป อยู่ที่ 1.2% และ 1.9% ตามลำดับ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและเงินปอนด์ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.ของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงผลผลิตในโรงงาน เหมืองแร่ และสาธารณูปโภค พุ่งขึ้น 1.2%

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันพฤหัสบดี โดยกระทรวงแรงงานจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ รวมทั้งดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค. และสำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด จะเปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนพ.ค. ส่วนวันศุกร์ไม่มีรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Technical Update 15-16th Jun - Opening Moves Continue in US Session

Daily Video Recap 15-16th Jun: Data Mixed, But Euro Powers Past 1.23

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 16 มิ.ย.

EUR/USD intraday: the bias remains bullish

Pivot: 1.2260

คำแนะนำ : Long positions เหนือระดับ 1.2260 targets @ 1.2380 & 1.2425

หากราคาลงต่ำกว่า 1.2260 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.2210 & 1.2160

ข้อสังเกต : RSI เป็น bullish และยังมีแรงด้านขึ้นต่อ

Key levels
1.2455
1.2425
1.2380
1.2345
1.2260
1.2210
1.2160

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 15 : ยูโรพุ่งเทียบดอลล์ รับข่าวผลประมูลพันธบัตรสเปน-เบลเยียม

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นกว่า 1% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์การคลังในยุโรป หลังจากมีข่าวว่ารัฐบาลสเปนและเบลเยียมระดมทุนได้จำนวนมากจากการประมูลพันธบัตร อย่างไรก็ตาม ค่าเงินยูโรถอยร่นลงจากระดับสูงสุดในระหว่างวันเพราะถูกกดดันจากรายงานดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนของเยอรมนีที่ร่วงลงอย่างหนัก
ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 1.05% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 1.2345 ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.2217 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ดีดตัวขึ้น 0.53% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ 1.4819 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4741 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 91.400 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 91.530 เยน และร่วงลง 0.95% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.1313 ฟรังค์ จากระดับ 1.1422 ฟรังค์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.96% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.8657 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 0.8575 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.71% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.6989 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6940 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินยูโรทะยานขึ้นแข็งแกร่ง ขานรับข่าวรัฐบาลสเปนที่สามารถระดมทุนได้ถึง 5.2 พันล้านยูโรผ่านการประมูลพันธบัตรประเภท 12 และ 18 เดือน และรัฐบาลเบลเยียมระดมทุนผ่านการประมูลพันธบัตรได้ถึง 2.5 พันล้านยูโร ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าสถานะทางการคลังของประเทศยุโรปจะแข็งแกร่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ช่วงบวกของยูโรถูกกดดันหลังจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเยอรมนีในเดือนมิ.ย.ทรุดลงสู่ระดับ 28.7 จุด จากระดับ 45.8 จุดในเดือนพ.ค. เพราะความกังวลที่ว่าวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจเยอรมนี

ผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) เปิดเผยว่า ประเทศสมาชิกอียูเตรียมยื่นเสนอแผนลงโทษประเทศที่ไม่เร่งสร้างสมดุลงบประมาณการใช้จ่าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำให้ตลาดการเงินมั่นใจว่า นโยบายการคลังของประเทศสมาชิก 27 ประเทศของอียูจะกลับเข้าสู่แนวทางที่ยั่งยืน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์หนี้สินแบบกรีซขึ้นอีก โดยผู้นำอียูจะประชุมร่วมกันในวันพฤหัสบดีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบสามเดือน มาอยู่ที่ 3.4% ในเดือนพฤษภาคม จากระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือนที่ 3.7% ในเดือนเมษายน ซึ่งการปรับตัวลดลงในครั้งนี้มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลงแตะ 3.5% แต่ยังสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ระดับ 2% ของธนาคารกลางอังกฤษ

ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน ลดลงมาอยู่ที่ 2.9% จากระดับ 3.1% ในเดือนก่อนหน้านี้

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค. ข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนพ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Forex Technical Update 14-15th June - Openning Moves Stall in US Session

Daily Video Recap 14-15th Jun: Risk Appetite Fueled by Euro Output Data Dented by Greece Downgrade

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 15 มิ.ย.



EUR/USD intraday: the upside prevails
Pivot: 1.2210

คำแนะนำ : Long positions ที่ระดับเหนือ 1.2210 targets @ 1.2300 & 1.2330

หากราคาลงต่ำกว่า 1.2210 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.2170 & 1.2125

ข้อสังเกต : RSI ปนกันกับ bullish bias

Key levels
1.2400
1.2330
1.2300
1.2230 last
1.2210
1.2170
1.2125

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Technical Analysis for Week 14-18 June

EUR/USD trend: sell.
GBP/USD trend: sell.
USD/JPY trend: hold.
EUR/JPY trend: hold.
GBP/JPY trend: sell.

Floor Pivot Points
Pair3rd Sup2nd Sup1st SupPivot1st Res2nd Res3rd Res
EUR/USD1.16631.17701.19401.20461.22161.23221.2492
GBP/USD1.39281.41361.43421.45501.47551.49641.5169
USD/JPY89.7190.2790.9591.5192.1992.7693.44
EUR/JPY105.56106.81108.88110.13112.20113.45115.52
GBP/JPY126.00128.20130.74132.94135.48137.68140.22

Fibonacci Retracement Levels
PairsEUR/USDGBP/USDUSD/JPYEUR/JPYGBP/JPY
100.0%1.21521.475992.07111.38135.14
61.8%1.20461.460091.60110.11133.33
50.0%1.20141.455291.45109.72132.77
38.2%1.19811.450391.31109.33132.21
23.6%1.19411.444291.12108.85131.52
0.0%1.18761.434590.83108.06130.40