วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

พฤติกรรมผิดๆ ในการเล่นหุ้น สัมภาษณ์ Brett N. Steenbager



วันนี้ผมนำเอาวิดีโอคลิป จากการสัมภาษณ์ Brett N. Steenbager เซียนหุ้นที่เราได้รู้จักกันไปแล้ว จากหนังสือEnhancing Trader Performance มาให้ดูครับ ขอขอบคุณ แมงเม่าคลับ ครับ


เราจะพูดกันถึงว่า จะทำอย่างไร “เมื่อนักเล่นหุ้นเกิดฟุ้งซ่านกับตัวเองขึ้นมา” กับ Dr. Brett Steenbager
+สวัสดีครับ สบายดีไหมครับ?
-สบายดีครับ ขอบคุณมาก
+จากการที่คุณเป็นจิตแพทย์ และเป็นผู้เขียนหนังสือหุ้น “The Daily trading coach” โดยที่คุณได้ให้คำปรึกษากับนักเล่นหุ้นมามากมายนั้น อะไรคือพฤติกรรมที่มักจะบ่อนทำลายตัวของพวกเขาเอง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคกับการเป็นนักเล่นหุ้นที่ดีบ้างครับ?
-มีพฤติกรรมแย่ๆ อยู่ 2 อย่าง ซึ่งผมมักจะนึกถึงขึ้นมาทันทีเลย อย่างแรกก็คือ “มัวเมาอยู่กับการเล่นหุ้น” คนส่วนใหญ่สามารถเสพติดการเล่นหุ้นได้เหมือนๆ กับเล่นการพนัน ด้วยเหตุผลที่คล้ายๆ กัน ไม่ใช่ว่าทุกๆ คนจะเข้ามาเพียงเพื่อการทำกำไร บางคนก็เข้ามาเพราะอยากตื่นเต้น หวาดเสียว และนั่นก็อาจทำให้พวกเขาฟุ้งซ่านขึ้นมาได้
+แต่การเล่นหุ้นนั้นที่จริงแล้วก็เหมือนกับการทำธุรกิจ ซึ่งทุกๆ คนควรจะตระหนักไว้ให้ดี มันไม่ได้เหมือนกับคุณกำลังเดินเข้าบ่อนที่ “ลาสเวกัส” สักเท่าไหร่เลย
-นี่เป็นประเด็นที่ดีมาก เพราะกำไรที่เกิดจากการเล่นหุ้นส่วนใหญ่นั้น มักจะมาจากความ “อดกลั้น” เพื่อที่จะรอความได้เปรียบและโอกาสของคุณ หากคุณอยากตื่นเต้นหล่ะก็ คุณก็จะไม่มีความ “อดกลั้น” คุณจะไม่รอให้โอกาสของคุณมาถึง และคุณกำลังทำร้ายตัวเองอยู่
+อะไรคือพฤติกรรมของนักเล่นหุ้นที่บ่อนทำลายตัวเองอีกอย่าง ที่คุณมักเห็นด้วยเสมอ?
-พฤติกรรมที่บ่อนทำลายตัวเองอีกอย่างก็คือ “อารมณ์ชั่ววูบ” ของพวกเขา เมื่อไหร่ที่คนเราตัดสินใจด้วยอารมณ์ชั่ววูบ จากความสับสนในใจของพวกเขา เช่น การตัดขาดทุนแต่ตลาดไม่ลงต่อ พวกเขาก็จะเริ่มสับสน แล้วจากความสับสนและฟุ้งซ่านนี่เอง ทำให้รู้สึกว่าต้อง “เอาคืน” ซึ่งเรามักเรียกว่าการ “เล่นหุ้นอย่างหน้ามืด” พวกเขาตัดสินใจจากอารมณ์ชั่ววูบ ทั้งที่ไม่มีความได้เปรียบอะไรเลย และนั่นมักจบลงด้วยการขาดทุนอย่างมาก
+ถ้าเปรียบเทียบกับการเล่นด้วย “สัญชาตญาณ” ล่ะครับ มันเกี่ยวข้องกันบ้างไหม ยกตัวอย่างเช่น… การเก็งกำไรค่าเงินปอนด์ของ “จอร์จ โซรอส” ในช่วงปี 90 เขาบอกว่าเขารู้สึกว่า ค่าเงินปอนด์จะต้องตกลงมา และเขาก็ได้ทำมันลงไป จนได้กำไรอย่างมหาศาล ซึ่งมีตัวอย่างอย่างนี้ให้เราเห็นมากมาย การเล่นหุ้นด้วย “อารมณ์ชั่ววูบ” จะแตกต่างกับการเล่นด้วย “สัญชาตญาณ” อย่างไรบ้าง?
-นี่เป็นคำถามที่ดีมาก และถูกต้องที่สุด… โดยส่วนใหญ่แล้ว นักเล่นหุ้นระยะสั้นมักจะอาศัย “สัญชาตญาณ” กันทั้งนั้น แต่หากว่าคุณไม่มีจิตใจที่สงบนิ่งแล้วหล่ะก็ คุณจะไม่สามารถเข้าถึงสัมผัสพิเศษที่คุณมีแน่ๆ เมื่อไหร่ที่นักเล่นหุ้นกำลังสับสนนั้น เขามักจะคิดถึงแต่กำไร-ขาดทุน ที่เกิดขึ้น นั่นทำให้เขาไม่ได้เพ่งสมาธิไปที่ตลาด ผลก็คือ “อารมณ์ชั่ววูบ” ของพวกเขา จึงไม่ได้เกิดจาก “สัญชาตญาณ” แต่มันเกิดจากอารมณ์ที่สับสนของพวกเขาเอง
+เบื้องต้นแล้วก็คือ เขาควรจะหายใจลึกๆ ถอยออกมา แล้วมองไปที่ตลาดหุ้นจริงๆ ถามตัวเองว่า อะไรคือเหตุผลต่างๆ ในการกระทำของเขา แทนที่จะปล่อยให้อารมณ์พาไปสินะครับ?
-กฏง่ายๆ ของผมก็คือ “หากคุณกำลังคิดถึงแต่ตัวเอง หรือกำไร-ขาดทุนที่เกิดขึ้น” คุณกำลังหลงทางแล้วครับ ! คุณควรจะเพ่งสมาธิไปที่ตลาดหุ้น ไม่ใช่ตัวของคุณเอง
+ขอบคุณมากนะครับ
-ขอบคุณเช่นกันครับ

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

คั่นรายการแบบมันส์ๆ ดีกว่า

สไตล์และวิธีการเล่นหุ้นที่เหมาะสมกับตัวของคุณ!



เรื่องสไตล์การเล่นหุ้นนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว เพราะจากการวิจัยจำนวนมากพบว่านักเล่นหุ้นเก่งๆนั้น ตัวแปรที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ พวกเขามีสไตล์ และวิธีการเล่นหุ้นที่เข้ากับตนเองได้ก่อนเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นจึงเกิดเป็นช่วงการพัฒนา จนถึงระดับของการเป็น Master ในด้านนั้นๆครับ ผมคิดว่าจะทำให้หลายๆคนได้ย้อนกลับไปคิดถึงสิ่งต่างๆที่ผ่านมาได้พอสมควร

ผมเองจำได้ว่าเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งได้เขียนไว้ว่า “วินัยนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการเล่นหุ้นมากๆ แต่มีน้อยคนนักที่จะทำตามได้ตลอด แต่บางครั้งไม่ใช่เพราะเขาไม่มีวินัย แต่ระบบการเล่นนั้นไม่เข้ากับนิสัยของเขาต่างหาก จึงทำให้วินัยกลายเป็นเรื่องยากลำบากขึ้นมา” และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมนักเล่นหุ้นระดับโลกถึงได้มีวินัยที่สูงมาก นั่นเพราะพวกเขาได้เจอกับระบบ หรือสไตล์การเล่นที่เหมาะกับพวกเขาตั้งแต่แรกๆครับ

ขอขอบคุณ แมงเม่าคลับ

ปรับพื้นฐานวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคกับ Rebecca

มาปรับพื้นฐานกับคนบรรยายที่น่าสดชื่นกันดีกว่า


Against All Odds - Phill Collins

เป็นคอนเสิร์ตที่ได้บรรยากาศดีมาก

What a Wonderful World

ผ่อนคลายในวันหยุดนะครับ ร้องเพลงเพราะมาก
ว่าแต่ว่า คอมเมนเตเตอร์ก็น่ารักดีนะครับ อิอิ


วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 1 กพ.


Pivot: 1.3945
คำแนะนำ : Short ที่ระดับต่ำกว่า 1.3945 targets @ 1.3860 & 1.3815
หากราคาผ่านเหนือ 1.3945 เป้าหมายคือ 1.399 & 1.4025
ข้อสังเกต : RSI อยู่ที่ระดับต่ำมาก
Key levels
1.4025
1.3990
1.3945
1.3865 last
1.3860
1.3815
1.3750

สรุปข่าวสถานการณ์ ศุกร์ 29 มค. ค่าเงิน USD แข็งขึ้นเทียบกับสกุลหลัก

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 29 มค.:ดอลล์พุ่งเทียบสกุลเงินหลัก ขานรับ GDP สหรัฐขยายตัวเกินคาด

เงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (29 ม.ค.) ขานรับรายงานตัวเลขผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐในไตรมาส 4 ปี 2552 ที่ขยายตัวดีเกินคาด

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.72% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.3862 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.3962 ยูโร/ดอลลาร์ และเพิ่มขึ้น 0.46% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 90.290 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 89.880 เยน/ดอลลาร์

นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.79% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0607 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0524 ฟรังค์/ดอลลาร์ และแข็งค่าขึ้น 0.86% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ 1.5984 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6123 ปอนด์/ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 1.04% แตะที่ 0.8839 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 0.8932 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 0.34% แตะที่ 0.7011 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7035 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ตัวเลขผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐในไตรมาส 4 ปี 2552 พุ่งสูงขึ้นในอัตรา 5.7% ต่อปี ทำสถิติขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี ซึ่งรายงานดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนภาคเอกชนในสหรัฐที่ฟื้นตัวดีขึ้น รวมไปถึงการส่งออกและการใช้จ่ายผู้บริโภคที่เริ่มคึกคัก

นอกจากนี้ การรายงานตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวยังจุดกระแสคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าประเทศอื่นๆที่อยู่ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น

ขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ยังได้รับปัจจัยหนุนจากการรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนในเดือนม.ค.ที่เพิ่มขึ้น 1.9% แตะระดับ 74.4 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2551 และสมาคมผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อแห่งชาติ (NAPM) ได้เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกประจำเดือนม.ค.ที่เพิ่มขึ้นแตะ 61.5 จุด จากระดับ 58.7 จุดในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2548 และเป็นระดับที่บ่งชี้ถึงการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

รายงานข่าว สัปดาห์นี้ และคาดการณ์แนวโน้ม จาก FX Options

รายงานข่าว 28 มค.


เนื้อหาภาษาไทย ตามข่าวเช้านี้นะครับ ด้านล่าง

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 29 มค.

Pivot: 1.403

คำแนะนำ : Short ที่ระดับต่ำกว่า 1.4030 targets @ 1.3935 & 1.3880

หากราคาผ่านเหนือ 1.4030 เป้าหมายคือ 1.4088 & 1.4130

ข้อสังเกต : RSI ผสมกันสองทิศทางและมีแนวโน้มในทางลง

Key levels
1.4130
1.4088
1.4030
1.3968 last
1.3935
1.3880
1.3815

UBS คาดว่า EUR/USD จะลงต่อไปอีก

The Swiss bank has apparently entered short EUR/USD at 1.4010. Has a target of 1.3500, stop loss 1.4200.

Ongoing situation in Greece, Portugal and expectation of stronger than expected Q4 US GDP data behind their thinking.

ธนาคารสวิส เข้าชอตเซล อียู ที่ระดับ 1.4010 เมื่อวานนี้ โดยเป้าหมายอยู่ที่ 1.3500 SL 1.4200

ถ้าสนใจก็ตามได้นะครับ

:)



ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 28 มค.: ดอลล์พุ่งเทียบยูโร เหตุนักลงทุนวิตกภาคการเงินยุโรป

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินหลักๆในตะกร้าเงิน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (28 ม.ค.) เนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะและความอ่อนแอในภาคการเงินของประเทศยุโรป รวมถึงกรีซ ทำให้นักลงทุนแห่ซื้อดอลลาร์สหรัฐเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.40% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.3961 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 1.4017 ยูโร/ดอลลาร์ และทะยานขึ้น 0.24% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ 1.6122 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6161 ปอนด์/ดอลลาร์

นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.22% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0524 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 1.0501 ฟรังค์/ดอลลาร์ แต่อ่อนตัวลง 0.13% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 89.880 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 90.000 เยน/ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.15% แตะที่ 0.8934 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันพุธที่ 0.8947 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 0.27% แตะที่ 0.7039 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7058 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์

นักวิเคราะห์จากธนาคารยูบีเอสกล่าวว่า นักลงทุนแห่ถือครองสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หลังจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เตือนว่าระบบการธนาคารที่อ่อนแอของอังกฤษอาจทำให้อันดับเครดิตของอังกฤษตกอยู่ในความเสี่ยง ซึ่งข่าวดังกล่าวได้ฉุดสกุลเงินปอนด์ร่วงลงด้วย

ค่าเงินยูโรถูกกระหน่ำขายเนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับหนี้สินสาธารณะของหลายประเทศในยุโรป รวมถึงกรีซ โดยรัฐบาลกรีซเร่งระดมทุนอย่างหนักเพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณที่มีอยู่เกือบ 13% ของตัวเลขจีดีพี

ยอดขาดดุลงบประมาณที่พุ่งขึ้นอย่างรุนแรงของกรีซส่งผลให้ S&P ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงหนึ่งขั้น สู่ระดับ BBB+ จากเดิมที่ระดับ A- และเตือนว่าจะลดอันดับเครดิตลงอีกหากรัฐบาลไม่สามารถลดยอดขาดดุลงบประมาณ

นอกจากนี้ นักลงทุนยังเข้าซื้อดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงหลังจากทางการสหรัฐรายงานว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนธ.ค.ที่ขยับขึ้นเพียง 0.3% ซึ่งเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะพุ่งขึ้น 2.0%

นักลงทุนจับตาดูตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 4 ปี 2552 ซึ่งทางการสหรัฐจะเปิดเผยในวันศุกร์ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจีดีพีไตรมาส 4 ของสหรัฐ จะขยายตัว 4.6% ทำสถิติขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 4 ปี

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 28 มค.


Pivot: 1.408

คำแนะนำ : ที่ระดับต่ำกว่า 1.4080 targets @ 1.4000 & 1.3960

หากราคาผ่านเหนือ 1.4080 จะไปสู่เป้าหมาย 1.4140 & 1.4180

ข้อสังเกต :RSI ติดบริเวณ 50% และกำลังกลับลง

Key levels
1.4180
1.4140
1.4080
1.4022 last
1.4000
1.3960
1.3880

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 27 มค.: ดอลล์พุ่งแรง หลัง FED ระบุเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัว

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (27 ม.ค.) โดยดอลลาร์ทะยานขึ้นแข็งแกร่งสุดในรอบ 6 เดือนเมื่อเทียบกับยูโร หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงความคิดเห็นในด้านบวกต่อภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ ขณะที่สกุลเงินยูโรร่วงลงอย่างหนักเนื่องจากเศรษฐกิจของหลายประเทศในยุโรปยังอ่อนแอ โดยเฉพาะกรีซ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.38% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.4020 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 1.4073 ยูโร/ดอลลาร์ และแข็งแกร่งขึ้น 0.44% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 90.010 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 89.620 เยน/ดอลลาร์

นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้น 0.34% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0497 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 1.0461 ฟรังค์/ดอลลาร์ และแข็งค่าขึ้น 0.14% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.6163 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6141 ปอนด์/ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดิ่งลง 0.50% แตะที่ 0.8938 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันอังคารที่ 0.8983 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.30% แตะที่ 0.7053 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7074 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์

นักวิเคราะห์จาก CMC Markets กล่าวว่า ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งแกร่งขึ้นหลังจากคณะกรรมการเฟดกล่าวภายหลังการประชุมเมื่อคืนนี้ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง และภาวะตึงตัวในตลาดแรงงานเริ่มทุเลาลง ขณะที่ตัวเลขการใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวปานกลาง นอกจากนี้ ดอลลาร์ได้แรงหนุนเมื่อเฟดและธนาคารกลางรายใหญ่อื่นๆระบุว่าจะยุติโครงการปล่อยกู้ดอลลาร์ฉุกเฉินในวันที่ 1 ก.พ.

ขณะที่ค่าเงินยูโรดิ่งลงอย่างหนักเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในยุโรป โดยเฉพาะกรีซ โดยเมื่อวานนี้หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์สรายงานว่า รัฐบาลกรีซกำลังโน้มน้าวจีนให้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลของกรีซมูลค่าสูงถึง 2.5 หมื่นล้านยูโร หรือ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเป้าหมายที่จะระดมทุนเพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณที่มีอยู่เกือบ 13% ของตัวเลขจีดีพี และสูงสุดที่สุดในบรรดาชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) จนทำให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอียูยื่นมือเข้ามาตรวจสอบตัวเลขรายรับจากการจัดเก็บภาษีและงบประมาณการใช้จ่ายของกรีซ

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดขายบ้านใหม่เดือนธ.ค.ปี 2552 ร่วงลง 7.6% แตะที่ 342,000 ยูนิต จากเดือนพ.ย.ที่ระดับ 370,000 ยูนิต และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่ายอดขายบ้านใหม่จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 370,000 ยูนิตในเดือนธ.ค.

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงรายงานยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนธ.ค. และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 4 ปี 2552 โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจีดีพีไตรมาส 4 ของสหรัฐ จะขยายตัว 4.6% ทำสถิติขยายตัวรวดเร็วที่สุดในรอบ 4 ปี

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 27 มค.


Pivot: 1.4135
คำแนะน : Shortที่ต่ำกว่า 1.4135 targets @ 1.4030 & 1.4000
หากราคาผ่านเหนือ 1.4135 เป้าหมายคือ 1.4180 & 1.4220

ข้อสังเกต : ตราบใดที่แนวต้าน 1.4135 ยังไม่ถูกทำลาย , ยังมีโอกาสสูงในการทะลุต่ำกว่า 1.4030
Key levels
1.4220
1.4180
1.4135
1.4075 last
1.4030
1.4000
1.3960

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 26 มค: ดอลล์พุ่งเทียบยูโร หลังข่าวจีนคุมเข้มแบงค์พาณิชย์กระตุ้นนลท.แห่ซื้อดอลล์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินเยนพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (26 ม.ค.) เนื่องจากข่าวที่ว่าธนาคารกลางจีนมีคำสั่งให้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเพิ่มเพดานกันสำรองพิเศษ ทำให้นักลงทุนแห่ถือครองสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

ค่าเงินดอลลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.49% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.4080 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.4150 ยูโร/ดอลลาร์ ขณะที่เงินเยนพุ่งขึ้น 0.65% แตะที่ 89.640 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 90.230 เยน/ดอลลาร์

นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.63% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0460 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.0394 ฟรังค์/ดอลลาร์ และทะยานขึ้น 0.60% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.6143 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6240 ปอนด์/ดอลลาร์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.60% แตะที่ 0.8986 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับ 0.9040 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.88% แตะที่ 0.7075 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7138 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์

นักวิเคราห์จากบริษัท FXSolutions กล่าวว่า ดอลลาร์สหรัฐทะยานขึ้นแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับยูโรและสกุลเงินอื่นๆ เนื่องจากนักลงทุนแห่ถือครองดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หลังจากธนาคารกลางจีนมีคำสั่งให้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเพิ่มเพดานกันสำรองพิเศษ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวานเป็นต้นไป

เงินเยนแข็งค่าขึ้นหลังจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศปรับแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศญี่ปุ่นเป็น "ลบ" จากเดิม มีเสถียรภาพ เนื่องจากนโยบายการคลังของญี่ปุ่นมีความยืดหยุ่นลดลง ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการจัดการกับปัญหาหนี้สาธารณะและการขาดดุลงบประมาณ

ส่วนเงินปอนด์ร่วงลงหลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า เศรษฐกิจอังกฤษตลอดปี 2552 หดตัวลง 4.8% อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจขยายตัว 0.1% ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551

นักลงทุนจับตาดูการประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในคืนวันพุธที่ 27 ม.ค. โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0-0.25% นอกจากนี้ นักลงทุนยังติดตามดูการแถลงนโยบายประจำปี (state of the union) ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในวันพุธนี้ด้วย

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์เปิดเผยว่า ราคาบ้านใน 20 เขตเมืองของสหรัฐร่วงลง 0.2% ในเดือนพ.ย. มากกว่าเดือนต.ค.ที่ลดลงเพียง 0.1% และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลง 0.1%

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

The Week Ahead มองล่วงหน้าสัปดาห์นี้ 25 มค.

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 25 มค.: ดอลล์อ่อนเทียบยูโร แต่แข็งเทียบเยนขานรับกระแสคาดเบอร์นันเก้รั้งปธ.เฟด

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 ม.ค.) แต่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนเนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานเฟดเป็นสมัยที่สอง

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนลง 0.09% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.4150 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.4137 ยูโร/ดอลลาร์ และอ่อนตัวลง 0.16% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0396 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0413 ฟรังค์/ดอลลาร์

นอกจากนี้ ดอลลาร์ร่วงลง 0.79% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.6234 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.6107 ปอนด์/ดอลลาร์ แต่ดอลลาร์ดีดตัวขึ้น 0.37% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 90.220 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 89.890 เยน/ดอลลาร์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.43% แตะที่ 0.9046 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันศุกร์ที่ 0.9007 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.59% แตะที่ 0.7142 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7100 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนเนื่องจากนักลงทุนเชื่อมั่นว่าเบอร์นันเก้จะได้รับเสียงสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งประธานเฟดต่ออีกสมัย หลังจากวุฒิสมาชิกแม็กซ์ โบคัส ประธานคณะกรรมาธิการด้านการเงินแห่งวุฒิสภาสหรัฐ และวุฒิสมาชิกไดแอน เฟ็นสเต็น จากรัฐแคลิฟอร์เนีย ยืนยันว่า พวกเขาจะสนับสนุนการแต่งตั้งเบอร์นันเก้ให้เป็นประธานเฟดสมัยที่สอง

นอกจากนี้ เดวิด เอ็กเซลร็อด ที่ปรึกษาอาวุโสของทำเนียบขาวระบุว่า เบอร์นันเก้มีฐานเสียงมาพอที่จะรั้งตำแหน่งได้อีกครั้ง

ขณะที่ค่าเงินเยนได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กำลังพิจารณาขยายโครงการเงินกู้ฉุกเฉินสำหรับธนาคารพาณิชย์ภายในประเทศ และจะเพิ่มวงเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาลหากเศรษฐกิจยังไม่ส่งสัญญาณการฟื้นตัว

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าบีโอเจจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.1% ในการประชุมนโยบาย 2 วันซึ่งจะเสร็จสิ้นในวันนี้ และคาดว่าบีโอเจจะจับตาสถานการณ์เงินเยนที่แข็งค่าอย่างใกล้ชิด

กลุ่มวิจัยตลาด Gfk เปิดเผยผลสำรวจที่ได้จากการสอบถามผู้บริโภคชาวเยอรมนี 2,000 คน ซึ่งบ่งชี้ว่า ดัชนีคาดการณ์ความเชื่อมั่นผู้บริโภคชาวเยอรมนีเดือนก.พ.อยู่ที่ระดับ 3.2 จุด ซึ่งลดลงจากระดับ 3.4 จุดในเดือนม.ค. หลังจากเมื่อปีที่แล้ว เศรษฐกิจเยอรมนีซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปหดตัวลง 5% ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 25 มค.

Pivot: 1.4220.
คำแนะนำ : SHORT ที่ระดับ 1.421 เป้าหมาย 1.4125 & 1.4065

หากราคาผ่านเหนือ 1.4220 จะไปที่ 1.4265 & 1.4300

ข้อสังเกต : RSI ติดแนวต้านที่แข็งแกร่ง & ราคาติดเส้น trend line ขาลง

แนวโน้ม : ระยะสั้น Downside; ระยะกลาง อยู่ในกรอบ

Key levels Comment

1.4300** Intraday resistance
1.4265** Fib retracement (61.8%)
1.4220*** Intraday pivot point
1.4175 Last
1.4125** Bullish channel support
1.4065* Intraday support
1.4030** Intraday support

I'm Yours - Jason Mraz

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

อัพเดทเทมเพลท เวอร์ชันที่ 4

วันนี้อัพเดทเทมเพลทใหม่ เป็นเวอร์ชันที่ 4 แล้วนะครับ
โดยเพิ่ม ADX เพื่อดูเทรนด์ และลบกราฟด้านล่างออกไปหนึ่งแถว เพื่อความสะดวก เพราะไม่ค่อยได้ใช้งาน
รายละเอียดของอินดี้อยู่ในเอนทรีของวันที่ 13 กย. 52 นะครับ

เทมเพลทของใหม่นี้หากต้องการ ให้เมลมาได้นะครับ
ผมลงไฟล์ในบล็อกไม่เป็น

การใช้ ADX Average Directional Index ดูความแรงของตลาด



ADX จะมีหน้าที่บอกความแรงของทิศทางของราคา ขึ้นแรงไหม ลงแรงไหม แต่มันจะไม่บอกว่าตอนนี้อยู่ทิศไหน จึงต้องใช้คู่กับอีก 2 ตัวคือ plus direction index และ minus directional index

โดยปกติ ถ้า plus อยู่สูงกว่า minus จะชี้ว่า ADX ชี้กำลังของขาขึ้น วิธีการใช้คร่าวๆคือส่วนใหญ่ใช้ ADX 14

ถ้า ADX ต่ำกว่า 20-25 maket จะเป็น sideway

เริ่มเหนือ 20-30 จะเป็นเทรนทิศทางนั้นคือถ้าขึ้นก็มีกำลัง (ให้ดูที่ Plus หรือ minus เพื่อรู้ว่าขาขึ้นหรือลง

ตั้งแต่ 40-50 แล้วอ่อนตัวจะชี้ถึงการกลับทิศทาง

การเทรดด้วย ADX

ADX อยู่ที่ระดับ 20 — ไม่มีเทรนด์ หรือเทรนด์อ่อน
ADX เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับเหนือ 20 — เทรนด์มีความแรง
ADX ผ่านเหนือระดับ 40 — เทรนด์มีความแรงมาก
ADX กำลังเพิ่มสูงขึ้น — เทรนด์กำลังแรงขึ้น , กำลังลดลง — เทรนด์กำลังอ่อนลง
+DI อยู่สูงกว่า -DI — เทรนด์ขึ้น (DI = Direction Indicator)
-DI อยู่สูงกว่า +DI — เทรนด์ลง
เส้น DI ตัดกัน —เทรนด์กำลัีงเปลี่ยน

บทสัมภาษณ์เซียนหุ้น J. Welles Wilder ผู้ให้กำเนิด RSI Indicator


ขอบคุณ แมงเม่าคลับ ครับ
บทสัมภาษณ์ มีประโยชน์และได้หลักคิดที่ดีมาก

วันนี้ผมนำบทสัมภาษณ์เซียนหุ้นผู้ปฏิวัติวงการการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค และการเก็งกำไรมาให้อ่านกันครับ เขาคือคนที่ยกระดับ และสร้างมิติใหม่ในการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค โดยนำคณิตศาสตร์เข้ามาใช้เป็นคนแรกๆในวงการ ผลงานของเขานั้นมีอยู่มากมายเหลือเกิน คุณอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเครื่องมือวิเคราะห์ที่คุณใช้อยู่นั้น เป็นหนึ่งในผลงานชิ้นโบว์แดงของเขาก็เป็นได้ครับ และเขาก็คือ J. Welles Wilder นั่นเองครับ

ในนิตยสาร Technical Analysis of Stock and Commodities (กุมภาพันธ์ 1986) ได้เขียนถึงเขาไว้ว่า

“ไม่บ่อยครั้งนัก ที่จะมีผู้ที่ค้นพบสิ่งใหม่ๆทางด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิคขึ้นมาจริงๆ อย่างไรก็ตามเราสามารถกล่าวได้ว่า J. Welles Wilder ผู้นี้นั้น คือผู้ที่ได้เปลี่ยนแปลงการวิเคราะห์ทางเทคนิค ให้เข้าสู่ยุคใหม่ของการวิเคราะห์หุ้น และเก็งกำไรขึ้นมาทีเดียว”

อ่านบทสัมภาษณ์แบบเต็มๆ ได้ที่ลิงค์
http://mangmaoclub.com/interview-wilder/

ข้อคิดบางส่วน
“สิ่งที่ง่ายที่สุด คือสิ่งที่ดีที่สุดครับ”
อย่ากัดมากกว่าที่คุณจะเคี้ยวมันได้!
อะไรคือเหตุผลที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จ ความดื้อรั้นมุ่งมั่น และความยืดหยุ่นไงครับ
เมื่อคุณได้เจอกับสิ่งที่มันใช้ได้ดีในการเล่นหุ้นแล้วล่ะก็ จงใช้มันซะ! อย่าไปเสียเวลาพยายามมองหาสิ่งอื่นอีก

สรุปเงินสี่ด้าน - จากหนังสือ พ่อรวย สอนลูก RichDad PoorDad คุณเป็นคนประเภทไหน

E S B I คุณเป็นคนประเภทไหน ??

ด้านซ้าย

E (Employee)
- ลูกจ้าง
- รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน
- รายได้ตามตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมาย
- นายจ้างเป็นผู้กำหนดวิถีชีวิตและเงินเดือนให้คุณ
- ขาดอิสรภาพ ต้องเซ็นต์ชื่อ ตอกบัตร
- ตกงานเท่ากับล้มละลาย (ตกงาน 3 เดือน ไม่ต่างจากคนล้มละลาย)
- อยู่ในวงจรหนี้สิน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ

S (Self-employed)
- ทำธุรกิจส่วนตัว
- ขายเวลาแลกกับเงิน จ้างตัวเองทำงาน
- ชอบคิดเองทำเอง, ควบคุมทุกอย่างด้วยตัวเอง
- ขาดประสบการณ์
- เจอคู่แข่งที่มีทุนหนากว่า
- อาจจะทนทำ เพราะชอบ อิสระ แต่ไม่มี อิสรภาพ

ด้านขวา

B (Business Owner)
- เจ้าของธุรกิจ
- มีทุน
- หาคนเก่งๆ มาทำงานให้
- ไม่ทำก็มีรายได้ B มีหลายประเภท
- บริษัท
- แฟรนไซส์
- การตลาดแบบเครือข่าย (เป็นช่องทางที่จะเป็นเจ้าของกิจการ ที่มีความเสี่ยงน้อย)

I (Investor) - นักลงทุน
- ไม่ได้ทำงานเพื่อเงิน
- มองผลตอบแทนจากการปันผล ดอกเบี้ย
- ซื้อกิจการมาปรับปรุง แล้วขายต่อ


คนฝั่งซ้าย ........................................................คนฝั่งขวา
มี ความกลัว เป็นตัวขับเคลื่อน ......................... มี ความฝัน (ความใฝ่ฝัน) เป็นตัวขับเคลื่อน
ยึดติดกับงานประจำ ...........................................พยายามสร้างงาน
รายได้จำกัด ......................................................รายได้ไม่จำกัด
ไม่มีเป้าหมายในชีวิต ........................................มีเป้าหมายชัดเจน
มองเห็นอุปสรรค ...............................................มองเห็นโอกาส
ไม่เข้าใจคำว่า ทรัพย์สิน หนี้สิน ........................เข้าใจคำว่าทรัพย์สิน - หนี้สิน
ทำงานเพื่อเงิน ..................................................ใช้เงินทำงาน
คิดถึงความเสี่ยง ...............................................คิดถึงความน่าเสี่ยง
ยึดติดกับสิ่งเก่า .................................................เรียนรู้สิ่งใหม่
ไม่มีแผนงาน .....................................................มีแผนงานชัดเจน
ดำเนินชีวิตด้วยตัวเอง .......................................มีที่ปรึกษา
ชอบออกความเห็น ............................................ชอบหาความจริง
ชอบมีเงินสดเยอะๆ ............................................ชอบมี กระแสเงินสด สม่ำเสมอ
ชอบแสดงตัวว่าเก่ง ...........................................ชอบมองหาคนเก่ง
ชอบวิธีการ ........................................................ชอบวิธีคิด
ชอบการเฉลี่ย (ขจัดความเสี่ยง) .......................ชอบการจดจ่อ (Focus)
ถูกระบบความคุม ...............................................ความคุมระบบ
เป็นส่วนหนึ่งของระบบ .......................................เป็นเจ้าของระบบ
เรียนเพื่อประกาศนียบัตร ....................................เรียนเพื่อหาความรู้
ทำงานเพื่อคนอื่น ...............................................สร้างงานเพื่อคนอื่น
อยากทำบุญแต่ไม่มีงบ .......................................ทำบุญทุกครั้งที่มีโอกาส

สถานการณ์ค่าเงิน ศุกร์ 22 มค.

สรุปข่าว ศุกร์ 22 มค.

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 22 มค.: ดอลลาร์ร่วงเทียบเยนและยูโร ขณะนลท.วิตกนโยบายโอบามา

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยนและยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลต่อข่าวที่ว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐ เสนอให้ใช้นโยบายจำกัดขนาดและการลงทุนของสถาบันการเงินเพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งใหม่ ขณะที่ตลาดก็จับตาจีนที่มีแนวโน้มคุมเข้มนโยบายการเงินเพิ่มเติม
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วง 0.61% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 89.870 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 90.420 เยน/ดอลลาร์ และดิ่งลง 0.35% เมื่อเทียบกับเงินยูโรที่ระดับ 1.4139 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับ 1.4090 ยูโร/ดอลลาร์
เงินดอลลาร์ขยับลง 0.12% แตะที่ 1.0410 ฟรังค์สวิส/ดอลลาร์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.0423 ฟรังค์สวิส/ดอลลาร์ และเงินปอนด์ดิ่งลง 0.55% แตะที่ระดับ 1.6107 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6196 ปอนด์/ดอลลาร์
นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียขยับลง 0.06% แตะที่ 0.9003 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 0.9008 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่า 0.13% แตะที่ 0.7110ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7101 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์
การที่ธนาคารกลางจีนกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มการกันสำรองเงินฝากอย่างเหนือความคาดหมายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้จุดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้างเกี่ยวกับนโยบายการเงินของจีนในอนาคต

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 22 มค.

Pivot: 1.414
คำแนะนำ : Short ที่ราคาต่ำกว่า 1.4140 targets @ 1.4030 & 1.3970
หากราคาผ่านเหนือ 1.4140 เป้าหมายคือ 1.4175 & 1.4225
ข้อสังเกต : RSI ติด bearish trend line

Key levels
1.4225
1.4175
1.4140
1.4093 last
1.4030
1.3970
1.3940

เริ้มต้นกับคนนี้

ตลาดแรงและสับสน พักฟังเพลงย้อมใจก่อน

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 21 มค: ดอลล์ร่วงเทียบเยน หลังโอบามาเสนอใช้แผนควบคุมแบงค์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (21 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อข่าวที่ว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐ เสนอให้ใช้นโยบายจำกัดขนาดและการลงทุนของสถาบันการเงินเพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งใหม่

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.94% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 90.390 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 91.250 เยน/ดอลลาร์ และดิ่งลง 0.20% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0417 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0438 ฟรังค์/ดอลลาร์
เงินยูโรขยับลง 0.06% แตะที่ 1.4093 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 1.4101 ยูโร/ดอลลาร์ และเงินปอนด์ดิ่งลง 0.52% แตะที่ระดับ 1.6196 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6280 ปอนด์/ดอลลาร์ นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดิ่งลง 0.73% แตะที่ 0.9021 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันพุธที่ 0.9087 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 1.07% แตะที่ 0.7120 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7197 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์
นักลงทุนเทขายดอลลลาร์สหรัฐหลังจากโอบามาเสนอให้มีการออกกฎที่เข้มงวดยิ่งขึ้นในการจำกัดการลงทุนแบบเสี่ยงสูงของสถาบันการเงิน ขณะที่คณะทำงานของโอบามาเปิดเผยว่า โอบามาจะประกาศมาตรการชุดใหม่ในการลดขนาดความเสี่ยงที่มากเกินไป ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปกฎระเบียบทางการเงินในสหรัฐ
นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับแรงกดดันอย่างหนักหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นเกินคาด 36,000 ราย แตะที่ 482,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 16 ม.ค. มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 440,000 ราย

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 21 มค. FXCBS

ก่อนหน้านี้ คู่เงินได้ร่วงลงมาที่ระดับ 1.4045 และสูงสุดที่ 1.41367, ทำให้มีแนวกลางอยู่ที่ประมาณ 1.40802 ค่าเงินยูโรลงมาที่ระดับต่ำสุดในรอบห้าเดือนเมื่อวานนี้ และลงต่อเนื่องมาอีก

คาดการณ์ตลาด
EUR/USD : คู่เงินยูโรดอลลาห์ลงมาที่แนวรับ 1.40600 , ซึ่งเป็นจุดที่แข็งมากในขณะนี้ Stochastic แสดงสัญญาณการอิ่มตัวของการขาย ซึ่งอาจจะนำไปสู่การปรับฐานไปที่ระดับ 1.42450 ก่อนที่จะลงต่อไปยังระดับ 1.3860

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก 20 มค.: ดาวโจนส์ปิดร่วง 122.28 จุด จากข่าวจีนคุมเข้มการปล่อยกู้

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (20 ม.ค.) เนื่องจากความกังวลที่ว่าการที่จีนใช้มาตรการคุมเข้มด้านการปล่อยกู้จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ นักลงทุนยังผิดหวังต่อผลประกอบการของบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บิสิเนส แมชีนส์ คอร์ป (IBM) และมอร์แกน สแตนลีย์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 122.28 จุด หรือ 1.14% ปิดที่ 10,603.15 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 12.19 จุดหรือ 1.06% ปิดที่ 1,138.04 จุด และดัชนี Nasdaq รูดลง 29.15 จุด หรือ 1.26% ปิดที่ 2,291.25 จุด
ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 1.1 พันล้านหุ้น เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับวันอังคารที่ 1 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วน 3 ต่อ 1
นักวิเคราะห์จากบริษัท ไอจี มาร์เก็ตส์ ในเมืองชิคาโกกล่าวว่า นักลงทุนเทขายหุ้นเพราะวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะไม่ฟื้นตัวแข็งแกร่งตามที่มีการประเมินกันไว้ในเบื้องต้น หลังจากคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการธนาคารจีนได้สั่งการให้ธนาคารพาณิชย์ บางส่วนจำกัดการปล่อยเงินกู้ พร้อมกับประกาศเป้าหมายการปล่อยกู้ภายในประเทศเอาไว้ที่ 7.5 ล้านล้านหยวน หรือ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ และจะยังคงควบคุมระดับการขยายตัวและปริมาณสินเชื่อในปีนี้
ธนาคารกลางจีนเผยยอดการปล่อยเงินกู้เดือนธ.ค.ปี 2552 เพิ่มขึ้นแตะ 3.798 แสนล้านหยวน หรือ 5.56 หมื่นล้านดอลลาร์ จากยอดการปล่อยกู้เดือนพ.ย.ที่ 2.94 แสนล้านหยวน ซึ่งปริมาณการปล่อยกู้ที่เพิ่มขึ้นเช่นนี้ส่งผลให้ยอดขายอสังหาริมทรัพย์ในจีนปี 2552 พุ่งขึ้น 75.5% แตะระดับ 4.4 ล้านล้านหยวน หรือ 6.44 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังหนุนราคาอสังหาริมทรัพย์พุ่งขึ้น 7.8% ในเดือนธ.ค.2552 ทำสถิติพุ่งขึ้นรวดเร็วที่สุดในรอบ 18 เดือน ทำให้ที่ประชุมเศรษฐกิจโลกออกรายงานเตือนว่า เศรษฐกิจจีนอาจขยายตัวร้อนแรงเกินไป และภาวะฟองสบู่ด้านสินทรัพย์และเงินเฟ้อของจีนกำลังสร้างความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
ก่อนหน้านี้ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างหนักหลังจากธนาครกลางจีนประกาศเพิ่มสัดส่วนการกันสำรองเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 0.5% ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวานนี้ นับเป็นการปรับเพิ่มครั้งแรกตั้งแต่เดือนมิ.ย.2551
นอกจากนี้ นักลงทุนยังผิดหวังต่อผลประกอบการของ IBM โดยเมื่อวานนี้ IBM เปิดเผยว่า ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลก เปิดเผยว่า ยอดขายด้านการบริการคอมพิวเตอร์ในภาคธุรกิจ ซึ่งรวมถึงบริการให้คำปรึกษา ลดลง 2.8% แตะที่ 4.58 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาส 4 ปี 2552 กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ทั่วไปปรับตัวขึ้นเป็น เดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนธ.ค. โดยเพิ่มขึ้น 0.2% เนื่องจากราคาอาหารปรับตัวสุงขึ้น ส่วนดัชนี PPI พื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานทรงตัวในเดือนธ.ค.
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันพฤหัสบดี โดยกระทรวงแรงงานจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, สำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด จะรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนธ.ค. และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟียจะเปิดเผยผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจเดือนม.ค. ส่วนวันศุกร์ไม่มีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ
หุ้น IBM ร่วงลง 2.95% ส่วนหุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวขึ้นลงคละเคล้ากันไป โดยหุ้นแบงค์ ออฟ อเมริกา ปิดบวก 17 เซนต์ แตะที่ 16.49 ดอลลาร์ แต่หุ้นเวลส์ ฟาร์โก ปิดร่วง 46 เซนต์ แตะที่ 27.82 ดอลลาร์ และหุ้นมอร์แกน สแตนลีย์ ปิดลบ 53 เซนต์ แตะที่ 30.63 ดอลลาร์ หลังเวลส์ ฟาร์โกและยูเอส แบงคอร์ปปรายงานผลประกอบการรายไตรมาสดีเกินคาด แต่แบงค์ ออฟ อเมริกา รายงานยอดขาดทุนมากเกินคาด

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 21 มค.


Pivot: 1.4175
คำแนะนำ : Short ที่ต่ำกว่า 1.4175 targets @ 1.408 & 1.4035
หากราคาผ่านเหนือ 1.4175 เป้าหมายคือ 1.4225 & 1.4275
คำแนะนำ : RSI ผสมกันโดยไปทางด้านลง
Key levels
1.4275
1.4225
1.4175
1.4105 last
1.4080
1.4035
1.3970

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ค 19 มค.

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19 ม.ค.) โดยค่าเงินยูโรดิ่งลงอย่างหนักหลังจากเยอรมนีเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนที่อ่อนแอ และกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับยอดขาดดุลของกรีซ ขณะที่เงินเยนอ่อนตัวลงเนื่องจากนักลงทุนแห่ถือครองดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เนื่องจากสถานการ์การเมืองในญี่ปุ่นยังไร้เสถียรภาพ
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.58% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.4302 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.4385 ยูโร/ดอลลาร์ และทะยานขึ้น 0.42% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 91.100 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 90.720 เยน/ดอลลาร์
นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.65% เมื่อเทียบกับเงินฟรังค์ที่ระดับ 1.0313 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.0246 ฟรังค์/ดอลลาร์ และพุ่งขึ้น 0.26% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.6372 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6330 ปอนด์/ดอลลาร์
ค่าเงินยูโรดิ่งลงหลังจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป ZEW เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนที่มีเป้าหมายเพื่อชี้วัดแนวโน้มของนักลงทุนสำหรับช่วงเวลา 6 เดือนข้างหน้า ร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 47.2 ในเดือนม.ค. จากระดับ 50.4 จุดในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในเดือนก.ย. 2552
โดยตัวเลขที่ลดลงนี้มากกว่าที่สื่อในประเทศคาดการณ์เอาไว้มาก โดยสื่อเยอรมันคาดการณ์ว่าดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเดือนม.ค.จะลดลงแค่ 0.4 จุดจากเดือนก่อน
ทั้งนี้ ZEW ระบุว่า ทิศทางขาลงของดัชนีแสดงให้เห็นว่า ผู้เชี่ยวชาญในตลาดการเงินคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเยอรมนีจะฟื้นตัวในอัตราที่ชะลอตัว โดยเฉพาะภาคยานยนต์และการบริโภคมีแนวโน้มอ่อนตัวลงในช่วงครึ่งปีหน้า
นอกจากนี้ ยูโรยังได้รับแรงกดดันหลังจากมีรายงานว่ารัฐมนตรีคลังของหลายประเทศในยุโรปเรียกร้องให้รัฐบาลกรีซเร่งลดยอดขาดดุลงบประมาณ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเงินเข้ากรีซกำลังเข้าขั้นวิกฤตและอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อประเทศอื่นๆในยุโรป
โดยนายวอเตอร์ บอส รัฐมนตรีคลังของเนเธอร์แลนด์กล่าวว่า กรีซจำเป็นต้องตระหนักถึงสถานการณ์ที่รุนแรงอันเป็นผลมาจากยอดขาดดุลงบประมาณที่สูงขึ้น และกรีซต้องเร่งแก้ปัญหาเรื่องนี้ก่อนที่จะลุกลามเข้าไปสร้างความเสียต่อระบบเศรษฐกิจของยุโรปทั้งระบบ ขณะที่นายฌอง-คล้อด จังเกอร์ รัฐมนตรีคลังของลักเซมเบิร์กกล่าวว่า รัฐบาลกรีซต้องเร่งสร้างเสถียรภาพและการขยายตัวอย่างยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่สำคัญคือการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ
ยอดขาดดุลงบประมาณที่พุ่งขึ้นอย่างรุนแรงของกรีซส่งผลให้ S&P ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงหนึ่งขั้น สู่ระดับ BBB+ จากเดิมที่ระดับ A- และเตือนว่าจะลดอันดับเครดิตลงอีกหากรัฐบาลไม่สามารถลดยอดขาดดุลงบประมาณ ขณะที่ฟิทช์ เรทติ้งส์ ปรับลดอันดับเครดิตของกรีซลงสู่ระดับ BBB+ เช่นกัน ส่วนมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ลดอันดับเครดิตของกรีซลงหนึ่งขั้นสู่ระดับ A2 จากเดิมที่ A1

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 20 มค.

Pivot: 1.4335
คำแนะนำ : Short ที่ต่ำกว่า 1.4335 targets @ 1.4255 & 1.423
หากราคาผ่านเหนือ 1.4335 เป้าหมายด้านบนคือ 1.4375 & 1.4415
ข้อสังเกต : RSI ยังมีทิศทางไม่ดี , ราคาอยู่ในแนวโน้มลงและมาทดสอบแนวรับ
Key levels
1.4415
1.4375
1.4335
1.4282 last
1.4255
1.4230
1.4175

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 19 มค


Pivot: 1.4425
คำแนะนำ : Short ที่ราคาต่ำกว่า 1.4425 targets @ 1.4365 & 1.4335
หากราคาผ่านเหนือ 1.4425 จะไปที่เป้าหมาย 1.445 & 1.4485
ข้อสังเกต : ราคามีการรีบาวนด์ แต่ควรจะติดแนวต้านถัดไป เนื่องจาก RSI มีแรงขึ้นน้อย
Key levels
1.4485
1.4450
1.4425
1.4383 last
1.4365
1.4335
1.4300

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 18 มค.

Pivot: 1.441
คำแนะนำ : Short ที่ราคาต่ำกว่า 1.4410 targets @ 1.4335 & 1.4300
หากราคาผ่านเหนือ 1.4410 จะไปที่เป้าหมาย 1.4450 & 1.4485
คำแนะนำ : RSI เพิ่งผ่านแนวกลางที่ระดับ 50% และกำลังมีทิศทางลง
Key levels
1.4485
1.4450
1.4410
1.4385 last
1.4335
1.4300
1.4265

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์พุ่งเทียบยูโร หลังสหรัฐเผย CPI ขยับขึ้นเล็กน้อย

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ที่ขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่สกุลเงินยูโรร่วงลงเนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในยูโรโซน
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.89% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.4373 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.4502 ยูโร/ดอลลาร์ และดีดขึ้น 0.83% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0265 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0180 ฟรังค์/ดอลลาร์
นอกจากนี้ ดอลลาร์พุ่งขึ้น 0.45% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.6258 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.6332 ปอนด์/ดอลลาร์ แต่ร่วงลง 0.39% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 90.780 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 91.140 เยน/ดอลลาร์
ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดิ่งลง 0.98% แตะที่ 0.9228 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 0.9319 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.69% แตะที่ 0.7372 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7423 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐทะยานขึ้นแข็งแกร่ง หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) เดือนธ.ค.ปี 2552 ขยับขึ้น 0.1% ขณะที่ดัชนีซีพีไอซึ่งไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.1% เช่นกัน ส่งผลให้ดัชนีซีพีไอตลอดปี 2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.7% ส่วนอัตราค่าแรงปี 2552 หดตัวลง 1.6%
ค่าเงินยูโรและเงินปอนด์ดิ่งลง หลังจากสำนักงานสถิติของเยอรมนีเปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นที่ชี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) หดตัว 5% ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนและการส่งออกที่ทรุดตัวลงอย่างหนัก ถือเป็นสถิติการหดตัวหนักสุดของเยอรมนีนับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และสอดคล้องกับการคาดการณ์ของรัฐบาล
นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพ.ย. 2552 ร่วงลง 6% จากปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับสถิติในเดือนต.ค.

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดหุ้นโตเกียว 15 มค. : นิกเกอิร่วง 21.85 จุดเช้านี้ หลังสหรัฐเผยยอดค้าปลีกหดตัว

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวร่วงลงในช่วงเช้านี้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงยอดค้าปลีก อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นโตเกียวได้แรงหนุนจากการปิดบวกของตลาดหุ้นนิวยอร์ก เนื่องจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทเอกชน
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า หลังจากตลาดเปิดทำการได้เพียง 15 นาที ดัชนีนิกเกอิร่วงลง 21.85 จุด หรือ 0.20% แตะที่ระดับ 10,885.83 จุด
ตลาดหุ้นโตเกียวได้รับปัจจัยลบหลังจากสหรัฐเปิดเผยจำนวนชาวอเมริกันที่ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 11,000 คน มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ราว 3,000 คน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทค้าปลีก ภาคการผลิต และบริษัทก่อสร้าง เลย์ออฟพนักงาน
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่ระบุว่า ยอดค้าปลีกประจำเดือนธ.ค.ร่วงลง 0.3% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5%

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 14 มค.: ข้อมูลศก.อ่อนแอฉุดดอลล์ร่วง ขณะยูโรดิ่งหลังธ.กลางยุโรปคงดอกเบี้ย

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินเยนและสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ รวมถึงยอดค้าปลีกและตัวเลขจ้างงานรายสัปดาห์ อาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีก ขณะที่สกุลเงินยูโรอ่อนตัวลงหลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยและส่งสัญญาณว่าจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยในระยะใกล้นี้

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.24% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 91.180 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 91.400 เยน/ดอลลาร์ และดิ่งลง 0.28% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.6331 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6285 ปอนด์/ดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้น 0.06% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.4501 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 1.4510 ยูโร/ดอลลาร์ และขยับขึ้น 0.02% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0181 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0179 ฟรังค์/ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.81% แตะที่ 0.9316 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับ 0.9241 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าขึ้น 0.38% แตะที่ 0.7426 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7398 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์
ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐทำให้นักลงทุนคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีก
โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 11,000 คน มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ราว 3,000 คน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทค้าปลีก ภาคการผลิต และบริษัทก่อสร้าง เลย์ออฟพนักงาน

นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับแรงกดดันจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่ระบุว่า ยอดค้าปลีกประจำเดือนธ.ค.ร่วงลง 0.3% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5%

ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลง หลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1% ในการประชุมเมื่อวานนี้ โดยนายฌอง-คล้อด ทริเชต์ ประธานอีซีบีออกแถลงการณ์ภายหลังการประชุมว่า อีซีบีอาจยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะใกล้นี้ เนื่องจากมีข้อมูลบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยุโรปยังอยู่ในภาวะเปราะบางและยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่

นายทริเชต์กล่าวว่า เศรษฐกิจยุโรปยังอ่อนแอและยังไม่ฟื้นตัวขึ้นเต็มที่ ซึ่งอาจทำให้อีซีบียังไม่พิจารณาเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะใกล้นี้ นอกจากนี้ แรงกดดันด้านเงินเฟ้อในยุโรปยังคงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และคาดว่าเมื่อเศรษฐกิจเริ่มขยายตัวแข็งแกร่งในวันข้างหน้า ตัวเลขเงินเฟ้อก็จะไม่สูงเกินกว่าเป้าหมายที่อีซีบีกำหนดไว้

นักลงทุนจับตาดูรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันศุกร์ รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนธ.ค. และตัวเลขการผลิตทางอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิตเดือนธ.ค

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 14 มค.

Pivot: 1.4550
คำแนะนำ: Short ที่ระดับต่ำกว่า 1.4550 targets @ 1.4455 & 1.4415
หากราคาผ่านเหนือ 1.4550 เป้าหมายคือ 1.4580 & 1.4630
ข้อสังเกต : ตราบใดที่แนวต้าน 1.4550 ยังไม่ถูกทำลาย , ยังความเป็นไปได้สูงที่จะยังลงต่ำกว่า 1.4455
Key levels
1.4630
1.4580
1.4550
1.4515 last
1.4455
1.4415
1.4395

เยนอ่อนค่าที่ตลาดโตเกียวเช้านี้ 14 มค. หลังออสเตรเลียเผยตัวเลขจ้างงานพุ่งสูงเกินคาด

เงินเยนอ่อนค่าลงในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตราโตเกียวเช้าวันนี้ ขณะที่เงินดอลลาร์ออสเตรเลียซึ่งเป็นสกุลเงินที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงแข็งค่าขึ้น หลังจากที่ทางการออสเตรเลียรายงานอัตราจ้างงานที่พุ่งสูงเหนือความคาดหมาย
โดยในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาโตเกียว เงินเยนอ่อนค่าลงสู่ระดับ 84.90 ต่อดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับ 84.45 ต่อดอลลาร์ออสเตรเลียที่ตลาดนิวยอร์กวานนี้ นอกจากนี้ เยนยังร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรที่ 132.86 ต่อยูโร จากระดับ 132.59 ต่อยูโร และเทรดกันที่ 91.43 ต่อดอลลาร์ จากระดับ 91.37 ต่อดอลลาร์ ขณะเดียวกัน เงินยูโรเคลื่อนไหวที่ระดับ 1.4529 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับ 1.4510 ยูโร/ดอลลาร์

นักวิเคราะห์แสดงความเห็นต่อการอ่อนค่าลงของเงินเยนในวันนี้ว่า นักลงทุนเริ่มต้องการถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงท่ามกลางปัจจัยหนุนของการรายงานตัวเลขจ้างงานที่พุ่งสูงขึ้นในออสเตรเลีย ดังนั้น สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียจึงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน

สำนักงานสถิติออสเตรเลียรายงานว่า ภาคเอกชนมีการจ้างงานเดือนธ.ค.ปรับตัวสูงขึ้น 35,200 ตำแหน่งจากเดือนพ.ย. ขณะที่อัตราว่างงานลดลงสู่ระดับ 5.5% จากระดับ 5.6%

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 13 มค.: ดอลล์ร่วงเทียบยูโร เหตุนักลงทุนวิตกตลาดแรงงานสหรัฐตึงตัว

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายดอลลาร์เพราะมองว่าแม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุกภาคส่วนของสหรัฐเริ่มฟื้นตัวขึ้น แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย ขณะที่สกุลเงินยูโรและปอนด์ดีดตัวขึ้นในกรอบที่จำกัด หลังจากเยอรมนีและอังกฤษรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐขยับลง 0.10% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.4508 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 1.4494 ยูโร/ดอลลาร์ และดิ่งลง 0.69% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.6285 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6173 ปอนด์/ดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.54% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 91.440 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 90.950 เยน/ดอลลาร์ และขยับขึ้น 0.08% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0183 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0175 ฟรังค์/ดอลลาร์

นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.41% แตะที่ 0.9241 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันอังคารที่ 0.9203 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.16% แตะที่ 0.7399 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7387 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์

นักวิเคราะห์กล่าวว่า นักลงทุนเทขายดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน หลังจากสหรัฐเปิดเผยว่าอัตราว่างงานเดือนธ.ค.ยังอยู่ที่ระดับ 10% หลังจากพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 27 ปีที่ 10.1% ในเดือนต.ค แต่ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรร่วงหนักเกินคาดถึง 85,000 อัตรา จากที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะทรงตัวหรือลดลงเพียงเล็กน้อย

ยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐประจำเดือนธ.ค.อยู่ที่ 9.185 หมื่นล้านดอลลาร์ พุ่งขึ้นจาก 5.175 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนธ.ค.ปี 2008 ซึ่งก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่ายอดขาดดุลงบประมาณอาจอยู่ที่ 9.20 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนธ.ค.

สำนักงานสถิติของเยอรมนีเปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นที่ชี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) หดตัว 5% ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนและการส่งออกที่ทรุดตัวลงอย่างหนัก ถือเป็นสถิติการหดตัวหนักสุดของเยอรมนีนับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และสอดคล้องกับการคาดการณ์ของรัฐบาล

นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพ.ย. 2552 ร่วงลง 6% จากปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับสถิติในเดือนต.ค.

นักลงทุนจับตาดูรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนธ.ค. และตัวเลขการผลิตทางอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิตเดือนธ.ค

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

เพลงสำหรับนักเทรด

วิเคราะห์หุ้นด้วย RSI

ขอขอบคุณ mangmaoclub.com ครับ

วิธีการใช้ Traling Stop ในการเล่นหุ้น



ขอขอบคุณ เวบ http://www.mangmaoclub.com ครับ

ภาพรวมตลาดรายวัน 13 มค. FXCBS Daily Market Updates

ภาพรวมก่อนหน้านี้ของวันนี้
ค่าเงินอียูลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 1.44562 และสูงสุดที่ 1.45150,
ส่วนค่าเงินปอนด์ จียู ทำจุดสูงสุด 1.62253 และต่ำสุด 1.61360,

ค่าเงินดอลลาห์เทียบกับค่าเงินเยนร่วงต่ำลงไปที่ 90.902 และสูงสุดที่ 91.349,


คาดการณ์ตลาด
EUR/USD : ค่าเงินยูโรยังเคลื่อนไหวในช่วงแคบ , แต่อินดิเคเตอร์ทางเทคนิคทำให้เราคาดว่าราคามีความเป็นไปได้ที่จะขึ้นไปที่ระดับ 1.4645 แต่ก็ขึ้นอยู่กับระดับแนวรับที่ 1.4455, stochastic แสดงสัญญาณทางลบ , ซึ่งทำให้เกิดความผันผวนในการที่จะไปสู่เป้าหมายทางลง

GBP/USD : ค่าเงินปอนด์เคลื่อนผันผวนวานนี้ ไปทางบวกโดยไปถึงระดับ 1.6200, และเราคาดว่าราคาจะสัมผัสระดับแนวต้านที่ 1.62400 แล้วทำการปรับฐาน

USD/JPY : คาดว่าจะมีทิศทางลงในวันนี้ ; เป้าหมายอยู่ที่ประมาณ 89.75, แต่โอกาสในการปรับฐานขึ้นยังอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เมื่อวานนี้ ซึ่งจำกัดการทดสอบแนวรับที่ 91.25

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 13 มค.

Pivot: 1.4550.
คำแนะนำ: SHORT ที่ 1.4540 เป้าหมาย @ 1.4450 & 1.4410
หากราคาผ่านเหนือ 1.4550 จะเปิดทางไปสู่ 1.4590 & 1.4630

ข้อสังเกต : ราคายังผ่าน 1.4450 ขึ้นไปไม่สำเร็จ
แรงโมเมนตัมรายวันอ่อนลง
แนวโน้ม : ระยะสั้น ลง ; ระยะกลาง อยู่ในกรอบ

Key levels Comment
1.4630** Intraday resistance
1.4590** Intraday resistance
1.4550*** Intraday pivot point
1.4500 Last
1.4450*** Fib retracement (38.2%)
1.4410** Fib retracement (50%)
1.4375** Fib retracement (61.8%)

นักวิเคราะห์ชี้แบงค์ชาติจีนเพิ่มสำรองเงินฝากแบงค์พาณิชย์มีเป้าหมายสกัดเงินเก็งกำไรต่างชาติ

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า การที่ธนาคารกลางจีนตัดสินใจประกาศเพิ่มสัดส่วนการกันสำรองเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ เพราะมีเป้าหมายที่จะสกัดกั้นการไหลเข้าของเม็ดเงินเก็งกำไร เพราะเกรงว่าการปล่อยกู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อตามมา
ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งเหวถ้วนหน้าหลังจากธนาคารกลางจีนประกาศเพิ่มสัดส่วนการกันสำรองเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 0.5% ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคมปีนี้ นับเป็นการปรับเพิ่มครั้งแรกตั้งแต่เดือนมิ.ย.2551 โดยธนาคารกลางมีเป้าหมายที่จะคลายความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนที่มีอัตราขยายตัวเร็วที่สุดในโลก

นักวิเคราะห์จากซีซีบี อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่อันดับสองของจีน กล่าวแสดงความเห็นว่า ธนาคารกลางจีนดำเนินการเพิ่มสัดส่วนการกันสำรองเงินฝากของธนาคารพาณิชย์รวดเร็วอย่างเหนือความคาดหมาย เพราะนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจีนจะดำเนินการดังกล่าวในเดือนเม.ย.

"การที่ธนาคารกลางจีนเคลื่อนไหวในเรื่องดังกล่าวรวดเร็วเกินคาดทำให้นักลงทุนต้องหันมาทวบทวนยุทธศาสตร์การลงทุน เพราะเป้าหมายของธนาคารกลางจีนในครั้งนี้ก็เพื่อควบคุมสภาพคล่อง เพราะเกรงว่า hot money หรือเม็ดเงินเก็งกำไรจากต่างประเทศจะทะลักเข้าสู่ตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพทย์ ซึ่งจะทำให้เงินเฟ้อของจีนสูงขึ้น" นักวิเคราะห์จากซีซีบี อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว

ขณะที่นักวิเคราะห์รายอื่นๆมองว่า การตัดสินใจของธนาคารกลางจีนในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีเหวิน เจียเป่า วิตกกังวลต่อการที่ธนาคารพาณิชย์ของจีนปล่อยเงินกู้เป็นจำนวนเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.35 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2552 ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์

ทั้งนี้ นายเหวินให้คำมั่นสัญญาเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ว่า รัฐบาลจะควบคุมราคาอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่บางส่วน หลังจากราคาอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศพุ่งขึ้นรุนแรงสุดในรอบ 16 เดือน โดยนายเหวินคาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ของจีนจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 4% ภายในปีนี้ เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 1 ปีที่ระดับ 2.25% ซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางจีนปรับขึ้นการสำรองสภาพคล่องอีก 1 - 1.5% ในปีนี้

สรุปข่าวสถานการณ์จาก CMS Forex ของ อังคาร12 มค.

USD/JPY ปรับฐานขึ้น

* ค่าเงินดอลลาห์ยังวิ่งสับสนในวันอังคาร , มีการร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยน แต่ก็แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลหลักอื่นๆ จีนได้ประกสศว่าจะมีการปรับสัดส่วนเงินสำรองประมาณ 50 จุด โดยเริ่มต้นในวันที่ 18 มกราคม การฟื้นตัวขึ้นยังถูกการกดดันมาจากปัจจัยอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของอเมริกาที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำและราคาสินทรัพย์ที่ร่วงลง ภาวะการขาดดุลการค้าของอเมริกามีมากกว่าที่คาดการณ์กันไว้ขณะที่ราคาน้ำมันมีการรับตัวตลอดโดยมีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น ดรรชนี S&P 500 ร่วงลง 10.76 เป็น 1,136.22 จุด ค่าเงินปอนด์เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของข่าวดรรชนียอดค้าปลีกของอังกฤษและราคาบ้าน ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อย ค่าเงิน commodity currencies (ของประเทศกลุ่มส่งออก) ร่วงลงจากค่าที่สูงสุดในรอบสองเดือนจากข่าวความเคลื่อนไหวของจีน ค่าเงินดอลลาห์ออสเตรเลียถูกกดดันโดยการเติบโตที่จำกัดของสินเชื่อ และค่าเงินดอลลาห์แคนาดาร่วงลงจากตัวเลขการขาดดุลการค้าที่แย่กว่าคาด

* หลังจากความพยายามลงมาผ่านเส้น long term downtrend และเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไม่สำเร็จ USD/JPY ยังคงร่วงลงอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่สาม เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของ US ยังคงอ่อนตัวต่อเนื่อง วันนี้ คู่เงินได้ทะลุเส้น uptrend ระยะสั้น , และยังจะมีการปรับตัวลงต่อ แนวรับที่สำคัญอยู่ที่บริเวณ 90 ถ้ายังคงอยู่ที่ระดับแนวรับได้ จะมีแนวโน้มเป็นการทำรูปแบบ head-and-shoulder และเพิ่มโอกาสในการทะลุเส้น long-term downtrend และเป็นการกลับทางในรอบสองปีครึ่ง (ดูรายงานวันที่ 5 มค.) การผ่านทะลุเส้นแนวต้าน longterm diagonal resistance ในบริเวณ 93-94 จะเป็นการสิ้นสุดแนวโน้มขาขึ้นของ USD/JPY

อเมริกา & แคนาดา

* ยอดการขาดดุลการค้าของอเมริกาในด้านสินค้าและบริการขยายตัวขึ้น 9.7% m/m ในเดือน พย. เป็นมูลค่า $36.4 พันล้านเหรียญ , ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับจากเดือน มค. , จากค่าตัวเลขขาดดุล $33.2 พันล้านเหรียญในเดือน ตค. , จากตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ การนำเข้าเพิ่มขึ้น 2.6% m/m เป็น $174.6 พันล้านเหรียญในเดือน พย. ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น การส่งออกเติบโตขึ้น 0.9% m/m, เป็นมูลค่า $138.2 พันล้านเหรียญ , ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของปี , ซึ่งมาจากสินค้าด้านอาหาร ยานยนต์/ชิ้นส่วน
* ยอดดุลการค้าของแคนาดา แย่กว่าที่คาดการณ์ โดยขาดดุล C$344 ล้านดอลลาห์แคนาดา ($333 ล้าน USD) ในเดือน พย. หลังจากที่เพิ่มขึ้นมา C$503 ล้านดอลลาห์แคนาดาในเดือน ตค. , จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแคนาดา การขาดดุลในเดือน พย. มาจากการนำเข้าพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น , เครื่องจักร และยานยนต์ การส่งออกเพิ่มขึ้น 1.1% m/m เป็น C$31.6 พันล้านดอลลาห์แคนาดาในเดือน พย. เนื่องจากการส่งมอบพลังงานเพิ่มขึ้น 6.2% m/m. การนำเข้าเพิ่มขึ้น 3.9% m/m เป็น C$31.9 พันล้านเหรียญแคนาดา , ด้วยการนำเข้าพลังงานที่เพิ่มขึ้น 13.1% m/m.
* ราคาบ้านใหม่ของแคนาดาเพิ่มขึ้น 0.4% m/m ในเดือน พย. , ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ห้า , หลังจากที่เพิ่ม 0.3% ในเดือน ตค. ,จากรายงานของสำนักงานสถิติแคนาดา ราคาบ้านใหม่ในเดือน พย. ลดลงเป็น 1.4% y/y จากเดือน ตค. ที่ 2.1% y/y , โดยเป็นการลดลงรายปีในแคนาดาตะวันตก อย่างไรก็ตามเป็นอัตราที่น้อยลงกว่าเดือนก่อนหน้า


ยุโรป

* การขาดดุลการค้าของอังกฤษในภาคสินค้าและบริการหดตัวลงกว่าที่คาดการณ์ เป็น £2.9 พันล้านปอนด์ ($4.7 พันล้านเหรียญ) ในเดือน พย. จากตัวเลข £3.1 พันล้านปอนด์ในเดือน ตค. (รายงานเดิมขาดดุลที่ £3.2 พันล้านปอนด์), และการขาดดุลภาคสินค้าน้อยกว่าที่คาดเป็น £6.8 พันล้านปอนด์จากมูลค่าขาดดุล £7.0 พันล้านปอนด์ในเดือน ตค. (ตัวเลขเดิม ขาดดุล £7.1 พันล้านปอนด์), ตามตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ การส่งออกไม่เปลี่ยนแปลง ,แต่การนำเข้าลดลง £0.2 พันล้านปอนด์ การขาดดุลกับประเทศในกลุ่ม EU ขยายตัวเป็น £3.8 พันล้านปอนด์ในเดือน พย. จากการขาดดุล £3.5 พันล้านปอนด์ในเดือน ตค. , ขณะที่การขาดดุลกับกลุ่มประเทศนอกกลุ่ม EU เป็น £3.0 พันล้านปอนด์ จากยอดขาดดุล £3.5 พันล้านปอนด์ในเดือน ตค.

เอเชีย - แปซิฟิก

* ดุลการค้าของญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สี่ต่อเนื่องในเดือน พย. , เพิ่มขึ้น 76.9% y/y เป็นมูลค่าที่สูงกว่าคาดการณ์ ที่ ¥1.1 แสนล้านเยน ($11.9 พันล้านเหรียญ), จากตัวเลขของกระทรวงการคลัง การส่งออกลดลง 7.0% y/y ในเดือน พย. , ซึ่งเป็นการลดลงน้อยที่สุด ในรอบ 14 เดือน , หลังจากที่ลดลง 24.6% y/y ในเดือน ตค. การนำเข้าลดลง 18.2% y/y, จากตัวเลข ลดลง 37.7% y/y ในเดือน ตค.

* ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในเดือน ธค. เป็นครั้งแรกในรอบสามเดือน ดรรชนีการค้าของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาด เป็น 35.4 ในเดือนที่แล้ว , โดยรีบาวนด์เพิ่มขึ้น 7 จุดจากที่ร่วงลงไปที่ 33.9 ในเดือน พย. , ตามการสำรวจของสำนักงาน Cabinet Office ล่าสุด ดรรชนีสภาวะในอนาคตเพิ่มขึ้นเป็น 36.3 ในเดือน ธค. จาก 34.5 ในเดือนก่อนหน้า

* ยอดการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัยของออสเตรเลียตกลงกว่าที่คาดการณ์ 5.6% m/m ในเดือน พย. , ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดในรอบ 18 เดือน , เป็น 59,516, หลังจากค่าลดลง 1.9% m/m ในเดือน ตค. , ตามตัวเลขของสำนักงานสถิติออสเตรเลีย มูลค่าสินเชื่อรวมลดลง 1.6% m/m เป็น A$22.8 พันล้านดอลลาห์ออสเตรเลีย ($21.2 พันล้านเหรียญ) ในเดือน พย. มูลค่าการให้สินเชื่อสำหรับที่อยู่อาศัยส่วนตัวลดลง 2.9% m/m เป็น A$16.5 พันล้านดอลลาห์ออสเตรเลียในเดือน พย. ขณะที่มูลค่าการให้สินเชื่อสำหรับการลงทุนในบ้าน เพิ่มขึ้น 2.1% m/m เป็น A$6.3 พันล้านดอลลาห์ออสเตรเลีย

ค่าเงิน EUR/USD
หลังจากที่ราคาทะลุผ่านระดับ 1.4450 ขึ้นมา ยังคงรักษาระดับเหนือราคานี้ได้
คาดว่าหากไม่ทะลุแนว 1.4450 ลงไป จะยังคงมีแนวโน้มขึ้นไปที่เป้าหมาย ระดับ 1.4600
โดยมีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ระดับ 1.4560

ข่าวว่า Central Bank offer ที่ระดับ 1.4500,ดังนั้นคาดว่าราคาจะมีการร่วงช่วงหนึ่งที่จุดนี้

ภาวะตลาดหุ้นโตเกียว 13 มค.: นิกเกอิปิดภาคเช้าร่วง 97.22 จุด จากข่าวแบงค์ชาติจีนเพิ่มสำรองเงินฝากธ.พาณิชย์

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดตลาดภาคเช้าร่วงลงในวันนี้ หลังจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากธนาคารกลางจีนประกาศเพิ่มการกันสำรองเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากแรงเทขายทำกำไร
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ดัชนีนิกเกอิปิดตลาดภาคเช้าร่วงลง 97.22 จุด หรือ 0.89% แตะที่ 10,781.92 จุด
ฮิโรอิชิ นิชิ นักวิเคราะห์จากบริษัท นิกโก คอร์เดียล ซิเคียวริตีส์ กล่าวว่า นักลงทุนวิตกกังวลหลังจาก ธนาคารกลางจีนประกาศเพิ่มสัดส่วนการกันสำรองเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 0.5% เพื่อคลายความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนที่มีอัตราขยายตัวเร็วที่สุดในโลก เนื่องจากธนาคารกลางกังวลว่าการขยายตัวของสินเชื่อที่สูงเกินไปจะส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อและภาวะฟองสบู่ด้านสินทรัพย์
นักลงทุนยังคงเทขายหุ้นสายการบินเจแปน แอร์ไลน์ส (JAL) อันเนื่องมาจากความกังวลเรื่องการล้มละลาย นอกจากนี้ การปิดลบของตลาดหุ้นนิวยอร์กและตลาดหุ้นในยุโรปยังเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นโตเกียวซบเซาลงในช่วงเช้านี้ด้วย
ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มสายการบิน กลุ่มเหล็กและเหล็กกล้า และกลุ่มเหมืองแร่ ดิ่งลงอย่างหนัก แต่หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ กลุ่มแก๊สและไฟฟ้า กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มสื่อสาร ปิดบวกในช่วงเช้านี้

ค่าเงินดอลลาห์แข็งค่าขึ้นตามการซื้อขายหุ้น
ซึ่งทำให้ EUR/USD ปรับตัวลดลงจากระดับ 1.4540 เมื่อคืนนี้ ลงมาอยู่ที่ 1.4466

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

สรุปและวิเคราะห์เทคนิค EUR/USD, GBP/USD, AUD/CAD, USD/CAD จาก CMS Forex

เนื้อหาจะตรงกับรายละเอียดข่าวด้านล่างครับของ CMS

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 12 มค.




Pivot: 1.456
คำแนะนำ : Short ที่ระดับต่ำกว่า 1.4560 targets @ 1.4480 & 1.4440
หากราคาผ่านเหนือ 1.4560 เป้าหมายด้านบนคือ 1.4590 & 1.4630
ข้อสังเกต : RSI ติดเส้น bearish trend line
Key levels
1.4630
1.4590
1.4560
1.4515 last
1.4480
1.4440
1.4415

สรุปข่าวจาก CMS Forex

* ดอลลาห์ร่วงลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักในวันจันทร์ การค้าของจีนที่แข็งแกร่งขึ้นช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของโลกโดยรวมขึ้นมาและเพิ่มการลงทุนของนักลงทุน การฟื้นคืนของเศรษฐกิจยังคงจำกัดเนืองจากอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของอเมริกายังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป นักลงทุนลดความคาดหวังว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาอันใกล้นี้ จากข่าวตัวเลขการจ้างงานที่น่าผิดหวังเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หุ้น S&P 500 เพิ่มขึ้น 2.00 เป็น 1146.98. เงินเยนแข็งค่าขึ้นเป็นวันที่สองหลังจากที่พยายามทะลุเส้นแนวโน้มระยะยาวในสัปดาห์ที่แล้ว เงินปอนด์แข็งขึ้นทั้งๆ ที่ รายงาน CBI report แสดงความหมดหวังต่อการบริษัทการเงินของอังกฤษ เงินดอลลาห์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้น , เสริมแรงโดยการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนที่แข็งแรง เงินดอลลาห์แคนาดาร่วงลง , ปรับฐานจากการแข็งค่าก่อนหน้านี้
* EUR/USD แรลลี่ขึ้นมาเป็นวันที่สอง ตามมาจากรายงานการจ้างงานของอเมริกาที่อ่อนแอ เจมส์ บูลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐสาขาเซนต์หลุยส์กล่าวว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป “อีกระยะเวลาหนึ่ง” EUR/USD เจอแนวรับที่เส้นค่าเฉลี่ย 200-วัน moving average เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ราคาอยู่ในช่วง overbought, แต่ RSI ขณะนี้ยังอยู่ในช่วง neutral มีแนวต้านที่ระดับ 1.45 และ 1.47 ด้านขาขึ้นคาดว่าไม่เกิน 1.47 มีแนวรับอยู่ที่ 1.44 และจากเส้นค่าเฉลี่ย 200-วันที่บริเวณ 1.42

อเมริกา & แคนาดา
* การก่อสร้างบ้านของแคนาดาเริ่มต้นดีกว่าคาดการณ์ ที่ 5.9% m/m ในเดือนธันวาคม , ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในเดือนที่สามติดต่อกัน , เป็น 174,500 ในรายปี , ซึ่งอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 14 ปี , จากตัวเลข 164,800 ในเดือน พย. , จากตัวเลขขององค์การสินเชื่อและที่อยู่อาศัยของแคนาดา ยอดการก่อสร้างบ้านใหม่ในเดือน ธค. เพิ่มขึ้น 1.3% y/y
* ยอดการอนุมัติก่อสร้างบ้านลดลงกว่าที่คาดการณ์ 4.6% m/m ในเดือน พย. , ซึ่งเป็นการร่วงลงครั้งแรกในรอบสี่เดือน , เป็น C$5.94 พันล้านดอลลาห์แคนาดา ($5.75 พันล้าน USD), หลังจากที่เพิ่มขึ้น 20.0% m/m สูงสุดในรอบ 13-เดือนในเดือน ตค. , ตามข้อมูลสำนักสถิติของแคนาดา การร่วงลงในเดือน พย. มาจากการอนุมัติส่วนที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย 21.9% m/m เป็น C$2.14 พันล้านดอลลาห์แคนาดา การอนุมัติการก่อสร้างในเดือน พย. เพิ่มขึ้น 23.1% y/y
* ตามการสำรวจด้านธุรกิจที่รายงานโดยธนาคารแห่งแคนาดา , รายงานได้แสดงถึงยอดการขายที่ใกล้กับสถิติที่ดีที่สุด การสำรวจเจ้าหน้าที่สินเชื่ออาวุโสแสดงถึงการผ่อนปรนเงื่อนไขเครดิตเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2007
* ด้าน เดนนิส ลอคฮาร์ท ประธานธนาคารกลางของแอตแลนตา กล่าวว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอเมริกาจะยังคงเป็นไปอย่างเชื่องช้า และระบบธนาคารยังคงอ่อนแอ , อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำไปจนกว่าเศรษฐกิจแสดงแรงโมเมนตัมที่ดีขึ้น

ยุโรป
* จากการสำรวจโดยสมาพันธ์อุตสาหกรรมอังกฤษ , ยอดตัวเลขบริการบริษัทภาคการเงินของอังกฤษเป็น 13% ลดลงในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2010, ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์ที่แย่ที่สุดตั้งแต่เดือน ธค. ปี 2008
* ยอดค้าปลีกของสวิตเซอร์แลนด์ ลดลง 1.7% m/m ในเดือน พย. และเติบโตขึ้น 0.6% y/y , ซึ่งเป็นข้อมูลของสำนักงานสถิติ , ขณะที่ตัวเลขขายปลีก ลดลงในรายเดือน 1.2% m/m และเพิ่มขึ้น ในรายปี 0.2% y/y

เอเชีย-แปซิฟิก
* ยอดการส่งออกของจีนเพิ่มสูงขึ้น 17.7% y/y ในเดือน ธค. , ซึ่งเป็นค่าสูงสุดครั้งแรกในรอบ 14 เดือน , เป็น $130.7 พันล้านเหรียญ , สูงที่สุดเป็นครั้งที่สี่จากบันทึก , ขณะที่การนำเข้ายังคงกระเพื่อมที่ 55.9% y/y เป็น $112.3 พันล้านเหรียญ, ซึ่งเป็นข้อมูลการค้าจากศุลกากร , ทำให้มียอดเกินดุล $18.4 พันล้านเหรียญ
แปลโดย http://forexnectura.blogspot.com/ ครับ

EUR/USD กลับมาอยู่ที่เดิม


E/U กลับมาอยู่ที่จุดเดิม ที่ระดับ 1.4490

เนื่องจากเจ้าหน้าที่จีนออกมากล่าวว่า ความเห็นก่อนหน้านี้เป็นความเห็นส่วนบุคคลของเขาเอง


:)

ความเห็นของกองทุนจีนเช้านี้ทำให้ดอลแข็งค่า

เจ้าหน้าที่กองทุนของจีน ให้ความเห็นเช้านี้ว่าดอลลาห์อ่อนค่ามากแล้ว
แต่เงินเยนยังอ่อนค่าลงได้อีก
ทำให้ E/U ร่วงลงทันทีหลังจากระดับ 1.4490 ลงมาที่ 1.4455
ซึ่งอยู่ในระดับแนวรับ Pivot ของเมื่อวานนี้
แล้วเด้งกลับมาอยู่ที่ระดับ 1.4470
หลังจากที่ลงไปทดสอบเส้น EMA 200 ที่ 15 นาที จึงเด้งกลับมาอยู่ที่ 1.4490 ทันที

* U/J ขึ้น + 50 จุดไปที่ 92.40 หลังการออกความเห็น

* G/U ร่วงลงจาก 1.6085 เป็น 1.6060 ก่อนที่จะกลับไปที่ 1.6070

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 12 มค.: ดอลล์ร่วงหนัก หลังสหรัฐเผยตัวเลขจ้างงานดิ่งเกินคาด

โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดิ่งลง 0.71% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.4514 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.4412 ยูโร/ดอลลาร์ และร่วงลง 0.58% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 92.070 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 92.610 เยน/ดอลลาร์
นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดิ่งลง 0.70% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0161 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่1.0233 ฟรังค์/ดอลลาร์ และร่วงลง 0.51% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.6109 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6027 ปอนด์/ดอลลาร์
ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.66% แตะที่ 0.9306 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันศุกร์ที่ 0.9245 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.84% แตะที่ 0.7428 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7366 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์
นักลงทุนกระหน่ำขายสกุลเงินดอลลาร์ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า อัตราว่างงานเดือนธ.ค.ยังอยู่ที่ระดับ 10% หลังจากพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 27 ปีที่ 10.1% ในเดือนต.ค แต่ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรร่วงหนักเกินคาดถึง 85,000 อัตรา จากที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะทรงตัวหรือลดลงเพียงเล็กน้อย โดยภาคส่วนที่มีการปลดพนักงานมากที่สุดคือภาคการก่อสร้าง การผลิต และการค้าส่ง

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 11 มค.


Pivot: 1.445
คำแนะนำ : Long ที่เหนือ 1.4450 targets @ 1.4590 & 1.4630
หากราคาลงต่ำกว่า 1.4450 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.4360 & 1.4325
ข้อสังเกต : หากราคาผ่านเหนือระดับ 1.445 จะเป็นสัญญาณทางบวกไปที่ระดับ 1.4590
Key levels
1.4650
1.4630
1.4590
1.4523 last
1.4450
1.4360
1.4325

สรุปสถานการณ์ EUR/USD 11 มค.

* วันนี้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้นทั้งกระดาน ดอลอ่อนตัวลงต่อเนื่องจากตลาดนิวยอร์คเมื่อวันศุกร์
* ตลาดหุ้นเอเชียปิดบวก ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้บวก 0.5%
* ยอดการผลิตอุตสาหกรรมของฝรังเศส +1.1% ดีกว่าคาดการณ์ที่ +0.5%
* ยอดค้าปลีกรายเดือนของสวิส 0.6% ต่ำกว่าคาดการณ์muj 1.9%
* EUR/USD ขึ้นต่อเนื่องจาก 1.4415 ไปที่ระดับเหนือ 1.4500 ทำไฮที่ 1.4545 ก่อนที่ตลาดนิวยอร์คจะเปิดทำการ
* แนวต้านต่อไปที่ 1.4550
* วันนี้ข่าวตัวเลขดรรชนีเศรษฐกิจมีไม่มากนัก
20:15น. ยอดการสร้างที่แคนาดาดีขึ้นจากเดิม เป็น 175K จาก 165K
20:30น. ยอดอนุมัติการสร้างบ้านใหม่แคนาดา ลดลงเป็น -4.6% จาก 20.0%

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

มองไปข้างหน้า สัปดาห์ที่ 11 มค. 2010

สรุปสถานการณ์ EUR/USD



สวัสดีครับ

ผ่านวันศุกร์สยอง บวกกับข่าว นอนฟาร์มมาอีกแล้ว
มาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างนะครับ
ก็เป็นที่รู้กันว่าวันศุกร์มักจะมีอะไรแรงๆ และเป็นวันแห่งความผันผวน
ยิ่งมีข่าวมาแรงเต็งหนึ่งอย่างข่าว Non-Farm Payroll มาผสมโรงด้วยแล้ว ก็เพิ่มความดุเดือดกันไปใหญ่
(ข่าวตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร)
วันศุกร์ที่ 8 มค. ที่ผ่านมา ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ออกมาน้อยกว่าที่คาดการณ์เยอะมาก
ทำให้นักลงทุนที่เฝ้ารอการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดหมดหวัง ทำให้เทขายค่าดอลกันภายในไม่กี่นาที
โดยส่วนใหญ่แล้วข่าวที่ออกมาลบ จะทำให้ดอลแข็งค่าขึ้น ตามที่เคยอธิบายไว้ในหัวข้อก่อนๆ
แต่ครั้งนี้มีปัจจัยนี้เรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเข้ามาร่วมด้วย ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งให้เรารู้ว่าในแต่ละช่วงเวลา ตลาดให้ความสำคัญกับอะไรมากกว่ากัน

สัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่าเปิดตลาดสัปดาห์แรก
EUR/USD ยังวิ่งอยู่ในโซน 1.4200-1.4400
สองสามวันแรก ยังวนอยู่ในจังหวะเดิมๆ
คือช่วงตลาดเอเชีย มีการเด้งซื้อขึ้น จนถึงตลาดยุโรปช่วงบ่ายๆ
แล้วลงทำโลว ช่วงค่ำๆ ถึงดึก เหมือนกันทุกวัน
ข่าวโซนยุโรปออกมาลบกันต่อเนืื่อง
ปลายสัปดาห์ มีร่วงลงเป็นระยะ เช่นข่าว ECB ยังไม่สนับสนุนกรีซ
การคงอัตราดอกเบี้ยของเงินปอนด์
เป็นสัญญาณกลายๆ ว่าสถานการณ์ในยุโรป ยังคงซบเซา
ปัจจัยเทคนิค ก็ยังติดเส้น Bearish TrendLine กันอยู่ ทั้ง ตัวราคาเองและ RSI

ในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานในยุโรปยังซบเซา แต่อเมริกาก็ยังไม่ดีขึ้น จึงทำให้ดอลลาห์ยังแข็งขึ้นได้ไม่มาก
E/U เลยยังลงทะลุแนวรับนี้ไม่ได้
ทำให้กลายเป็นการสวิงไซด์เวย์เป็นแนวกว้างๆ ในโซนนี้ต่อไป

จากกราฟ
ช่วงเช้าของวันศุกร์ ก็ยังมีการปรับฐานขึ้นบ้าง ตามปกติของตลาดเอเชีย

ราคายังเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ตั้งแต่ 1.4295 - 1.4330
ตลาดยังค่อยๆ เคลื่อนตัวลงทั้งวัน จากข่าวการจ้างงานที่ออกมาไม่ค่อยดีนักของเยอรมัน ในช่วงบ่าย
และยังคาดกันว่าตัวเลขการจ้างงาน ที่จะออกมา คงไม่ต่างจากคาดการณ์นัก
เวลาสองทุ่มตรง ข่าวการจ้างงานของแคนาดาออกมาย่ำแย่ก่อน ทำให้ดอลลาห์แคนาดาร่วงหนัก แต่ดอลลาห์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ระดับราคาลงไปรออยู่ถึงประมาณ 1.4260
แต่ตัวเลขออกมาเวลาสองทุ่มครึ่ง แย่กว่าคาดการณ์มากเกินไป คืออยู่ที่ -85 K น้อยมาก
ทำให้เกิดการตกใจ และเทขายดอลกันอย่างมหาศาล (เพราะคาดว่าเฟดยังไม่น่าจะขึ้นดอกเบี้ยได้ในระยะเวลาอันใกล้)
ภายในเวลา 30 นาที ราคาขึ้นไปถึง 150 จุด ไปแตะระดับ 1.4415
แต่ในเวลาไม่นานก็เจอแรงขายของ Asian Central Bank และการเทขายทำกำไรปรับฐานลงมาอยู่ที่ 1.4300 เกือบเท่ากับระดับเดิมก่อนข่าวอย่างรวดเร็ว
ก่อนปิดตลาด ก็ไต่ขึ้นไปที่ 1.4440 อีกครั้ง แล้วลงมานิ่งอยู่ที่ 1.4415