วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 1 มี ค.

EUR/USD intraday: consolidation.
Pivot: 1.3700

คำแนะนำ : Short ที่ระดับต่ำกว่า 1.3700 targets @ 1.3590 & 1.3550

หากราคาผ่านเหนือ 1.3700 เป้าหมายด้านบนคือ 1.3750 & 1.3790

คำแนะนำ : RSI ชนแนวต้านหลักที่ประมาณ 70% และกำลังกลับลง

Key levels
1.3790
1.3750
1.3700
1.3620 last
1.3590
1.3550
1.3500

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จีเอ็มเศร้า ! หยุดทำฮัมเมอร์ หลังเถิงจงชวดซื้อแบรนด์



เอเอฟพี – เถิงจงจำใจล้มเลิกข้อตกลงซื้อแบรนด์รถฮัมเมอร์จากเจเนอรัล มอเตอร์ส หรือจีเอ็ม หลังจากทางการจีนไม่อนุมัติ ส่งผลให้ค่ายรถมะกันเตรียมปิดฉากแบรนด์รถสไตล์สปอร์ตนี้แล้ว

บริษัทซื่อชวน เถิงจง เฮฟวี่ อินดัสเทรียล มาชีเนอรี่ (SichuanTengzhong Heavy Industrial Machinery Co.) แถลงเมื่อวันพฤหัสฯ (25 ก.พ.) ว่า เถิงจงและจีเอ็มตัดสินใจยุติการเจรจาทั้งหมด
โดยเถิงจงผิดหวัง ที่ไม่อาจคว้า “โอกาสอันยิ่งใหญ่” เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงรถฮัมเมอร์ ซึ่งกินน้ำมัน ให้กลายเป็นรถประหยัดพลังงาน ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับตลาดใหม่ เช่นจีน และตลาดหลักเดิม

รถฮัมเมอร์รุ่นH3 ในงานแสดงรถยนต์ประจำปีแห่งลอสแองเจลิสครั้งที่ 100
เถิงจงและจีเอ็มพยายามยื้อการทำธุรกรรมครั้งนี้อย่างเต็มที่ โดยเมื่อเดือนก่อนตกลงยืดเส้นตายจากเดิม 31 ม.ค. เป็นสิ้นเดือนก.พ. เพื่อให้เถิงจงมีเวลาเดินเรื่องขออนุมัติ

อย่างไรก็ตาม ด้านกระทรวงพาณิชย์จีนออกมายืนยันว่า นับตั้งแต่เดือนต.ค ที่ผ่านมา ที่บริษัททั้งสองบรรลุข้อตกลงขั้นสุดท้าย ทางกระทรวงไม่เคยได้รับการยื่นเรื่องขอซื้อแบรนด์ฮัมเมอร์จากเถิงจงเลย

ล่าสุดจีเอ็มประกาศเลิกกิจการผลิตรถฮัมเมอร์แล้ว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลูกจ้างไม่ถึง3,000 ตำแหน่ง แต่ยังคงให้การรับประกัน และบริการชิ้นส่วนอะไหล่แก่เจ้าของรถฮัมเมอร์ทั่วโลก

รถฮัมเมอร์ออกจำหน่ายเมื่อปี 2535 โดยดัดแปลงมาจากรถฮัมวี่ของทหาร และถูกวิจารณ์ว่าเป็นความสมบูรณ์แบบ ที่ไร้ประโยชน์ เนื่องจากกินน้ำมัน แผนเข้าซื้อแบรนด์ฮัมเมอร์ ซึ่งเถิงจงจะถือหุ้นร้อยละ 80 ประกาศครั้งแรกเมื่อเดือนมิ.ย.ปีก่อนในช่วงที่จีเอ็มต้องปรับโครงสร้างบริษัท หนีการล้มละลาย โดยรัฐบาลสหรัฐฯ และแคนาดาต้องเข้าอุ้ม

Money Wake Up 27 กพ. มูดีส์ขู่หั่นเครดิตกรีซใน 2-3 เดือน หากลดงบประมาณไม่สำเร็จ

มูดี้ส์ขู่หั่นเครดิตกรีซใน 2-3 เดือน หากลดงบประมาณไม่สำเร็จ

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส เตือนว่า มูดี้ส์อาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซภายในช่วง 2-3 เดือนนี้ นอกเสียจากว่ากรีซจะสามารถดำเนินการตามแผนการลดยอดขาดดุลงบประมาณ

นายปิแอร์ เคลเลตู กรรมการผู้จัดการด้านความเสี่ยงในการให้อันดับสินเชื่อของมูดี้ส์ กล่าวว่า ในระยะเวลา 2-3 เดือนนี้ การดำเนินการตามแผนลดยอดขาดดุลงบประมาณถือเป็นสิ่งสำคัญที่กรีซพึงปฏิบัติ ซึ่งหากกรีซไม่สามารถทำได้ มูดี้ส์ก็อาจปรับลดอันดับเครดิตของกรีซลง 2 ขั้น

แต่ในขณะเดียวกัน หากกรีซสามารถดำเนินการได้สำเสร็จ มูดี้ส์ก็จะปรับเพิ่มอันดับเครดิตของกรีซซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ A2 อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เดือนธ.ค.เป็นต้นมา สถานการณ์ด้านการคลังของกรีซยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง

คำเตือนเรื่องการปรับลดอันดับเครดิตของมูดีส์มีขึ้นหลังจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เปิดเผยว่า S&P อาจปรับลดอันดับเครดิตกรีซลง 1-2 ขั้นภายในเดือนมี.ค.นี้ โดยสาเหตุที่ทำให้ S&P ปรับลดอันดับเครดิต กรีซ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอและกระแสต่อต้านทางการเมืองที่กำลังส่งผลบั่นทอนความสามารถของกรีซในการลดยอดขาดดุลงบประมาณที่อยู่ในระดับสูงสุดในกลุ่มสหภาพยุโรป (EU)

นักวิเคราะห์มองว่า การเตือนเรื่องการปรับลดอันดับเครดิตครั้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อสถานะของกรีซในตลาดการเงิน หลังจากในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา S&P ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงหนึ่งขั้น สู่ระดับ BBB+ จากเดิมที่ระดับ A-

และเตือนว่าจะลดอันดับเครดิตลงอีกหากนายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีของกรีซไม่สามารถปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณที่พุ่งขึ้นสูงสุดในบรรดาชาติสมาชิก EU

ขณะที่ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับเครดิตของกรีซลงสู่ระดับ BBB+ ไปก่อนหน้านั้นเพียงวันเดียว พร้อมกับเตือนให้นายปาปันเดรอูเร่งลดยอดขาดดุลงบประมาณโดยเร็ว

สหภาพแรงงานหลายกลุ่มได้ก่อเหตุประท้วงทั่วประเทศกรีซเป็นครั้งที่ 2 เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้สนามบินกรีซต้องยกเลิกเที่ยวบินขาเข้าและขาออกทั้งหมด โดยผู้ประท้วงไม่พอใจที่รัฐบาลใช้มาตรการที่เข้มงวดในการลดปริมาณหนี้สาธารณะ


มูดี้ส์ เตือนอันดับน่าเชื่อถือญี่ปุ่นอาจถูกลด

บริษัทมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส แถลงวานนี้ว่า อันดับความน่าเชื่อถือ ตราสารหนี้ของญี่ปุ่น อาจเผชิญแรงกดดัน ถ้าหากเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประสบภาวะย่ำแย่ และรัฐบาลญี่ปุ่น ไม่สามารถร่างแผนการทางการคลังที่น่าเชื่อถือ

ในเดือนพ.ค.ปี 2552 มูดี้ส์ ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสาร หนี้ในประเทศของญี่ปุ่นสู่ Aa2 จาก Aa3 โดยให้เหตุผลว่าตลาดภายในประเทศ ของญี่ปุ่นสามารถดูดซับหนี้ใหม่จากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งเป็นรัฐบาลประเทศอุตสาหกรรม ที่ติดหนี้มากที่สุดในโลก ในเวลาเดียวกัน มูดี้ส์ก็ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือหนี้สกุลเงิน ต่างประเทศของญี่ปุ่นสู่ Aa2 จาก AAA

ขณะที่ เศรษฐกิจญี่ปุ่น ประสบปัญหาภาวะเงินฝืดเรื้อรัง โดยหนี้สินของรัฐบาลญี่ปุ่นขณะนี้อยู่ที่ราว 200 % ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ ( GDP ) ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว

หุ้นสหรัฐฯ ร่วงจากความกังวลปัญหากรีซ

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดติดลบ แม้จะมีแรงซื้อกลับเข้ามาในช่วงท้ายของการซื้อขาย แต่ก็ยังไม่แรงพอที่จะทำให้ดัชนีสามารถปิดบวกได้

หุ้นชื่อดังหลายตัวปรับลดลง ไม่ว่าจะเป็น แอ็ปเปิ้ล ดูปองท์ โบอิ้ง อเมริกัน เอ็กเพรสและ โคคา-โคลา

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ประเด็นที่ยังคงเป็นห่วงอยู่ก็คือเรื่องของการจ้างงาน โดยยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ล่าสุด ตัวเลขออกมามากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปปรับลดลง จากความกังวลเกี่ยวกับประเทศกรีซ

มูดี้ส์ อาจปรับลดอันดับเครดิตของกรีซหากไม่สามารถจัดการปัญหาการขาดดุลงบประมาณได้ ประกอบกับดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ค่อยดี ก็ส่งผลให้ตลาดรู้สึกไม่มั่นใจต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ปัจจัยบวกของยุโรปพอมีบ้าง เป็นเรื่องของผลประกอบการ อย่าง RBS และ France Telecom ซึ่งผลประกอบการดีกว่าคาดการณ์ของตลาด

ส่วนตลาดหุ้นเอเชีย เมื่อวานนี้ปรับลดลง หลังจีนประกาศเพิ่มมาตรการชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ

ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยุโรปลดลง หลังเศรษฐกิจ Q4/52 ชะลอตัว

ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในยุโรปเดือนก.พ. 2553 ร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 95.9 จุด จากระดับที่ 96 จุดในเดือนม.ค. เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ใช้สกุลเงินยูโรจำนวน 16 ประเทศขยับขึ้นเพียง 0.1% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว หลังจากที่บริษัทต่างๆยังคงลดจำนวนพนักงาน ส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคหดตัวลง

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในยุโรปได้รับปัจจัยลบ เนื่องจากรัฐบาลหลายประเทศเริ่มถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราว่างงานพุ่งขึ้นและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานดีดตัวขึ้น ส่งผลกระทบต่อความต้องการในการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน

การขยายตัวของธุรกิจบริการในยุโรปนั้น อ่อนตัวลงเมื่อเดือนก.พ. และผู้บริโภคก็มีมุมมองที่เป็นลบมากขึ้น โดยในฝรั่งเศสนั้น ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.นั้นร่วงลงสวนทางกับคาดการณ์ ทั้งนี้ รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปกำลังพยายามที่จะกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกันก็พยายามที่จะคลี่คลายความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับยอดขาดดุลงบประมาณในกรีซ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้กำลังทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจยุโรปอาจจะขยายตัว 1.6% ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ 3.9% ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐ คาดว่าจะขยายตัว 2.4%

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯที่ประกาศออกมาเมื่อพฤหัสบดีที่ 25 ก.พ. 2553
• ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ 496,000 ราย
• ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน (ม.ค.) เพิ่มขึ้น 3.0% จากเดือนก่อนหน้า

-- เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านการเงินแห่งสภาคองเกรสว่า เฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0-0.25% ต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งและเพื่อรับมือกับอัตราว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าเฟดตัดสินใจประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (discount rate) 0.25% เป็น 0.75% ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็ตาม

-- ยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐร่วงลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนม.ค. ซึ่งตอกย้ำว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ขณะที่รัฐบาลยังคงพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะถดถอยครั้งรุนแรงในรอบหลายสิบปี

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 26กพ.: ดอลล์ร่วงเทียบสกุลเงินหลัก หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐผันผวน

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (26 ก.พ.) หลังสหรัฐรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวน

นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโร หลังจากที่มีข่าวว่าเยอรมนีจะให้ความช่วยเหลือกรีซแก้ปัญหาหนี้สาธารณะและยอดขาดดุลงบประมาณในยุโรป ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวกระตุ้นให้นักลงทุนซื้อสกุลเงินที่มีความเสี่ยงมากขึ้น

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.45% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.3555 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.3616 ยูโร/ดอลลาร์ และลดลง 0.21% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 88.880 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 89.070 เยน/ดอลลาร์

นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐขยับลง 0.51% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0738 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0793 ฟรังค์/ดอลลาร์ แต่แข็งค่าขึ้น 0.14% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.5267 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.5245 ปอนด์/ดอลลาร์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.92% แตะที่ 0.8965 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 0.8883 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 1.07% แตะที่ 0.6987 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.6913 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 4 ปี 2552 ที่ได้รับการปรับทบทวนใหม่ เป็นขยายตัวแตะ 5.9% ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และตัวเลขดังกล่าวยังเพิ่มขึ้นจากที่ประเมินไว้ในระดับ 5.7% ในเดือนก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ตาม รายงานจากสมาคมนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์ระบุว่า ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐประจำเดือนม.ค.ร่วงหนักเกินคาดที่ระดับ 7.2% แตะที่ 5.05 ล้านยูนิต ทำสถิติลดลง 2 เดือนติดต่อกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงเผชิญอุปสรรคต่อการฟื้นตัว หลังจากที่ ก่อนหน้านี้สหรัฐได้เปิดเผยยอดขายบ้านใหม่ที่ร่วงลงด้วยเช่นกัน

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รายงานประจำสัปดาห์ที่ 22-26 กพ. และคาดการณ์แนวโน้มจาก FX Options Report

When The Children Cry - Sungha Jung


ขออีกสักเพลงนะครับ บางคนอาจคิดว่า อายุน้อย ยังไม่พร้อมจะทำอะไรบางอย่าง ดู Sungha Jung ชาวเกาหลี เล่นเพลงนี้ สักเพลง แล้วก็จะรู้ว่า "ไม่สำคัญว่าเราจะอายุเท่าไหร่ แต่สำคัญที่ เราคิดได้เมื่อไหร่"

Lonestar - Amazed


สุขสันต์วันศุกร์ครับ ขอมอบเพลงให้หนึ่งเพลงครับ

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 26 กพ.


EUR/USD intraday: key ST resistance at 1.3595.

Pivot: 1.3595
คำแนะนำ: Short ที่ราคาต่ำกว่า 1.3595 targets @ 1.3498 & 1.3445
หากราคาผ่านเหนือ 1.3595 เป้าหมายด้านบนคือ 1.3625 & 1.3655
ข้อสังเกต : RSI ติดเส้น bearish trend line

Key levels
1.3655
1.3625
1.3595
1.3555 last
1.3498
1.3445
1.3400

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 25 กพ.: ยูโรร่วงเทียบเยน หลังมูดีส์-S&P ขู่หั่นเครดิตกรีซ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 ก.พ.) หลังจากเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) ที่ระดับต่ำต่อไป และหลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขว่างงานประจำสัปดาห์ที่พุ่งขึ้นเกินคาด อย่างไรก็ตาม ยูโรดิ่งลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับเยน หลังจากมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส และสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ขู่ปรับลดอันดับเครดิตกรีซ
ค่าเงินยูโรร่วงลง 1.07% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 120.73 ยูโร/เยน จากระดับของวันพุธที่ 122.04 ยูโร/เยน แต่ดีดตัวขึ้น 0.16% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 1.3551 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับ 1.3530 ยูโร/ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดิ่งลง 1.23% เมื่อเทียบกับเยนที่ระดับ 89.090 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 90.200 เยน/ดอลลาร์ และดิ่งลง 0.87% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.5268 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.5402 ปอนด์/ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.57% แตะที่ 0.8877 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันพุธที่ 0.8928 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 0.40% แตะที่ 0.6900 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.6928 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์
ดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงกดดันหลังจากเบอร์นันเก้ยืนยันว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0-0.25% ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งดอกเบี้ยที่ระดับต่ำส่งผลให้สินทรัพย์ในรูปสกุลเงินดอลลาร์ด้อยค่าลงด้วย

นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังได้รับปัจจัยลบจากรายงานที่ว่าจำนวนชาวอเมริกันที่ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 20 ก.พ.เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 496,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้นที่ระดับ 474,000 ราย สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 455,000 ราย
ขณะที่ค่าเงินยูโรดิ่งลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับเยน เนื่องจากความวิตกกังวลเรื่องปัญหาหนี้สาธารณะและยอดขาดดุลงบประมาณของกรีซ หลังจากมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส และเอสแอนด์พี ขู่ปรับลดอันดับเครดิตกรีซลง 1-2 ขั้นภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า หากกรีซไม่สามารถดำเนินการตามแผนการลดยอดขาดดุลงบประมาณ

นอกจากนี้ ค่าเงินยูโรยังถูกกดดันอย่างหนักหลังจากมีรายงานว่าอัตราว่างงานเยอรมนีในเดือนก.พ. 2553 เพิ่มขึ้นแตะที่ 8.7% จากระดับ 8.6% ในเดือนม.ค. โดยมีจำนวนผู้ว่างงานอยู่ที่ 3.643 ล้านราย ซึ่งเพิ่มขึ้น 26,000 รายจากเดือนม.ค. และเพิ่มขึ้น 91,000 รายจากเดือนก.พ.ปีที่แล้ว
ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในยุโรปเดือนก.พ. 2553 ร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 95.9 จุด จากระดับที่ 96 จุดในเดือนม.ค. เนื่องจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจใน 16 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร ขยับขึ้นเพียง 0.1% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

24 กพ. Euro gets hit hard overnight

EUR/USD is opening lower again this morning, presently down at 1.3460 from a North American close Wednesday up around 1.3535.

The euro losses come with rating agencies warning of possible downgrade to Greece’s credit rating in very near future. This opens up possibility of Greek bonds being inelligible for use as collateral at the ECB, making it more difficult for country to borrow.

EUR/USD เปิดราคาต่ำลงอีกเช้านี้ ลงมาที่ระดับ 1.3460 จากราคาปิดของอเมริกาเหนือที่ 1.3535

ค่าเงินยูโรร่วงลงจากการเตือนของเอเจนซี่เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการลดอันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิตของกรีซในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งจะทำให้พันธบัตรของกรีซลดค่าลงใน ECB และทำให้ประเทศกู้เงินได้ยากมากขึ้น

และอีกบทความหนึ่งที่ส่งผลลบต่อตลาดคือ บทความเกี่ยวกับสเปน ของ WSJ ตามลิงค์นี้

http://online.wsj.com/article/SB10001424052748704454304575081481536661858.html?mod=WSJEUROPE_hpp_LEFTTopStories

25 กพ. In Focus: รัฐบาลทั่วโลกตื่นตัวปัญหาเงินเฟ้อ สร้างปรากฏการณ์ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ในปีพ.ศ. 2552 "มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ" ถือเป็นวาระของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะประเทศน้อยใหญ่ตั้งแต่ฝั่งตะวันตก ยุโรป ไปจนถึงเอเชีย พร้อมใจกันใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์เศรษฐกิจของตนเอง แต่เมื่อสัญญาณเงินเฟ้อเริ่มปรากฎให้เห็นในช่วงปลายไตรมาส 4 ทำให้รัฐบาลทั่วโลกหันมาให้น้ำหนักกับปัญหาเงินเฟ้อมากกว่าจดจ่ออยู่กับการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว หากปัญหาเงินเฟ้อยังคุกคามระบบเศรษฐกิจอย่างไม่หยุดหย่อน เราก็อาจเห็นปรากฏการณ์ "ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ" หรือคำที่ฮิตติดปากนักเศรษฐศาสตร์ในตอนนี้ว่า Exit Strategies เป็นวาระของโลกในปีพ.ศ. 2553 ก็ได้

* ตื่นปัญหาภาวะเงินเฟ้อ-ฟองสบู่ ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ทั่วโลกแห่ชะลอใช้มาตรการฟื้นฟู
หากยังจำกันได้ ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงอย่างหนักเมื่อสหรัฐประกาศตัวเลขจีดีพีช่วงต้นปี 2552 หดตัวลงถึง 6.1% ต่อปี ทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ตัดสินใจลงนามผ่านร่างกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจวงเงิน 7.87 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นพิธีลงนามอันยิ่งใหญ่ที่ได้ใจคนทั้งชาติ และถือเป็นหนึ่งในข่าวท็อปเทนปี 2552 ของเว็บไซต์ CNN การนำร่องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐทำให้หลายประเทศดำเนินนโยบายตามในเวลาต่อมา รวมถึงจีนที่อัดฉีดเงิน 5.83 แสนล้านดอลลาร์เข้าไปฟื้นฟูเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเปิดทางให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศปล่อยเงินกู้ให้กับภาคครัวเรือนและเอกชนอย่างมหาศาล โดยเฉพาะในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2552 ธนาคารพาณิชย์จีนปล่อยวงเงินกู้สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 9.2 ล้านล้านหยวน หรือ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์
แต่ในช่วงปลายไตรมาส 4 ปี 2552 ยาวมาจนถึงปี 2553 เม็ดเงินหลายล้านล้านดอลลาร์ที่รัฐบาลทั่วโลกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจก็เริ่มกลายเป็นดาบสองคม เพราะสภาพคล่องในระบบสูงเกินไปและไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ กูรูเศรษฐกิจหลายคน รวมถึง บิล กรอส และวอร์เรน บัฟเฟตต์ ร้อนใจจนต้องออกมาเตือนว่ามาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ทำให้มีสภาพคล่องหนาแน่นในระบบนั้นจะทำให้เศรษฐกิจโลกเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อครั้งใหญ่ โดยเฉพาะบัฟเฟตต์ที่แสดงความกังวลว่าตัวเลขเงินเฟ้อทั่วโลกจะพุ่งขึ้นรุนแรงกว่าในช่วงทศวรรษที่ 70
คำเตือนของบัฟเฟตต์ไม่สูญเปล่า เพราะคณะทำงานของโอบามา "ให้ราคา" กับทุกสัญญาณของมหาเศรษฐีนักลงทุนผู้นี้มาโดยตลอด ดังนั้นรัฐบาลสหรัฐและธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จึงหันมาตื่นตัวเรื่องเงินเฟ้อและเริ่มวางยุทธศาสตร์การถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากเฟดที่ตัดสินใจประกาศปิดโครงการจัดหาสภาพคล่องฉุกเฉินบางส่วนเมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากเฟดใช้โครงการดังกล่าวมาระยะหนึ่งแล้วเพื่อยับยั้งวิกฤตการณ์การเงินที่เป็นผลมาจากปัญหาในตลาดปล่อยกู้เพื่อการซื้อบ้าน นอกจากนี้ เฟดยังประกาศชะลอการเข้าซื้อหลักทรัพย์และตราสารหนี้ และจะปล่อยให้โครงการซื้อหลักทรัพย์หมดอายุลงในไตรมาสแรกของปี 2553
ประเทศอื่นๆก็ตื่นตัวเรื่องเงินเฟ้อไม่แพ้สหรัฐ โดยเฉพาะธนาคารกลางออสเตรเลียที่นำร่องประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 3 เดือนรวด ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าออสเตรเลียหวาดหวั่นกับพิษภัยเงินเฟ้อมากกว่าเศรษฐกิจถดถอย ในขณะที่ธนาคารกลางอินเดียก็มีคำสั่งให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มการสำรองสภาพคล่อง 25% จากเดิม 24% พร้อมกับปิดกองทุนพิเศษในการซื้อคืนหลักทรัพย์สำหรับธนาคาร อีกทั้งยังปิดวงเงินสว็อปอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับภาคธนาคาร และลดวงเงินการรีไฟแนนซ์สินเชื่อเพื่อการส่งออกลงสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤตการณ์ โดยอยู่ที่ระดับ 15% จาก 50%
ในฝั่งของจีนซึ่งถูกจับตาเรื่องเงินเฟ้อมากที่สุดในบรรดาประเทศเอเชียนั้น เมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 3 เดือนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กลางเดือนส.ค.2552 ส่งผลให้ค่าสว็อปอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ (NDIRS) พุ่งขึ้นอย่างมาก การดำเนินการดังกล่าวถือเป็นการส่งสัญญาณว่า จีนก็หวั่นใจกับปัญหาเงินเฟ้อไม่แพ้ประเทศอื่นๆเช่นกัน

* ตะลึง สหรัฐ-จีน เพิ่มโดสยาแรง หวั่นอุณหภูมิเงินเฟ้อพุ่งปรอทแตก
คล้อยหลังวันที่ 7 ม.ค.ได้เพียงไม่กี่วัน ทางการจีนก็เริ่มใช้ยาแรงในการสกัดเงินเฟ้อและฟองสบู่ อาจเพราะเห็นว่าโดสยาที่ใช้เมื่อคราวที่แล้ว คงสยบพิษภัยของเงินเฟ้อได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น กระทั่งเมื่อวันที่ 12 ม.ค. ธนาคารกลางจีนดำเนินมาตรการที่แข็งกร้าวในการคุมเข้มนโยบายการเงินด้วยการออกคำสั่งให้ธนาคารพารณิชย์เพิ่มเพดานการกันสำรอง 0.5% ซึ่งเป็นการดำเนินการที่เร็วเกินคาด และส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก เท่านั้นยังไม่พอ ธนาคารกลางจีนยังได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตั๋วเงินคลังอายุ 1 ปี วงเงิน 2 หมื่นล้านหยวน (2.9 พันล้านดอลลาร์) ดูดซับเม็ดเงินสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 2 แสนล้านหยวนออกจากระบบการเงินผ่านทางข้อตกลงซื้อคืนตั๋วเงินคลังอายุ 28 วัน... ยาโดสนี้แรงใช้ได้ เพราะทำเอาตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งเหวกันถ้วนหน้า
จากนั้นในช่วงเย็นวันที่ 12 ก.พ. จีนได้สร้างปรากฏการณ์ตื่นเงินเฟ้ออีกครั้ง ด้วยการประกาศเพิ่มสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์อีก 0.5% ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ในรอบหนึ่งเดือน แต่ที่น่าสนใจคือจีนซึ่งมีสมญานาม "มังกรซ่อนเล็บ" ประกาศมาตรการดังกล่าวหลังจากตลาดหุ้นและตลาดเงินของจีนปิดทำการไปแล้ว และปิดยาวไปจนถึงวันที่ 19 ก.พ.เนื่องในเทศกาลตรุษจีน ทำให้นักลงทุนได้ฉลองตรุษจีนกันอย่างซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ ไม่ต้องมีปฏิกริยากับข่าวนี้ แต่เมื่อตลาดหุ้นจีนเปิดทำการวันจันทร์ที่ 22 ก.พ. ตลาดหุ้นจีนก็ร่วงลงแต่เช้า เนื่องจากข่าวการประกาศเพิ่มการกันสำรองแบงค์พาณิชย์นี้เอง
ฟากสหรัฐก็คงตระหนักถึงผลดีของการประกาศมาตรการหลังตลาดหุ้นปิดทำการ ทำให้เราได้เห็นข่าวเช้าตรู่ของวันศุกร์ที่ 19 ก.พ.ตามเวลาประเทศไทย ว่า เฟดประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (discount rate) 0.25% เป็น 0.75% หลังจากมีข้อมูลยืนยันว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวรวดเร็วสุดในรอบ 4 ปี โดยเฉพาะจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2552 ที่ขยายตัวในอัตรา 5.7% ต่อปี ซึ่งทำสถิติขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี ... แต่ผลพวงที่เกิดขึ้นในสหรัฐได้ผลเกินคาดกว่าจีน เมื่อตลาดหุ้นนิวยอร์กเปิดทำการในวันต่อมา ดัชนีดาวโจนส์กลับปิดในแดนบวก เพราะนักลงทุนมองมุมบวกว่า การที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยมาตรฐานในครั้งนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจและการเงินของสหรัฐน่าจะฟื้นตัวแล้ว

* ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใครว่าง่าย ... อาจมีทั้งได้และมีทั้งเสีย
ก่อนที่ความเคลื่อนไหวเรื่องการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้นในปัจจุบัน ผู้รอบรู้หลายท่านเคยออกมาแสดงความกังวลว่า หากถอนมาตรการเร็วเกินไปก็อาจทำให้เศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะเปราะบางและสุ่มเสี่ยงที่จะถดถอยอีกระลอก ที่เสียงดังที่สุดคงจะเป็นโจเซฟ สติกลิทซ์ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ที่ไม่เห็นด้วยมาตั้งแต่ต้นกับการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในสหรัฐ มิหนำซ้ำยังสนับสนุนให้รัฐบาลเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับที่ 2 เอาไว้เนื่องจากเศรษฐกิจยังเปราะบางอยู่มาก
สติกลิทซ์ยังกล่าวด้วยว่า การที่สหรัฐและประเทศอื่นๆเริ่มถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น นับว่าเร็วเกินไป เนื่องจากตลาดแรงงานของสหรัฐยังตึงตัวอย่างหนัก ซึ่งการแสดงความเห็นของสติกลิทซ์สอดคล้องกับที่ พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ กล่าวไว้ว่า สหรัฐจะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับที่ 2 มิฉะนั้นอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่อัตราว่างงานพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปี
ภาระหนักตกอยู่ที่รัฐบาลสหรัฐที่ตัดสินใจอย่างรอบคอบว่า จะจัดการกับปัญหาเงินเฟ้ออย่างไรจึงจะไม่ส่งผลกระทบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ และต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดว่าควรใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองตามคำแนะนำของเหล่ากุนซือหรือไม่ แต่สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐกำลังคิดหนักในเวลานี้ก็คือการควบคุมยอดขาดดุลงบประมาณที่ส่อเค้าว่าจะพุ่งแตะ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2553 เพราะสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใหญ่อย่างมูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ติดตามสถานการณ์งบประมาณของสหรัฐอย่างไม่ลดละ ถึงขนาดเตือนว่า อันดับความน่าเชื่อพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอาจตกอยู่ภายใต้แรงกดดันในอนาคต นอกเสียจากว่ารัฐบาลจะใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณ
นอกจากนี้ มูดีส์ยังกล่าวด้วยว่า อันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐอยู่ในกลุ่มยืดหยุ่น (Resilient AAA) ซึ่งนับว่าด้อยกว่าแคนาดา เยอรมนี และฝรั่งเศสที่อยู่ในกลุ่มต้านทาน (Resistant AAA) เนื่องจากทั้ง 3 ประเทศได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินโลกน้อยกว่าสหรัฐ และจากข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) พบว่า หนี้สาธารณะของสหรัฐมีแนวโน้มพุ่งแตะ 97.5% ของกิจกรรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมในปี 2553 จากปีนี้ที่ระดับ 87.4%
เงินเฟ้ออาจจะได้เป็นวาระของโลกแทนที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ในขณะนี้ แต่ก็เป็นวาระที่ทุกฝ่ายไหวตัวรับมืออย่างทันท่วงที ผลจากนี้ต่อไปคงต้องติดตามกันอย่างไม่ละสายตา

Morning Wakeup Call February 25, 2010

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 25 กพ.

Pivot: 1.3615
คำแนะนำ: Short ที่ระดับต่ำกว่า 1.3615 targets @ 1.3500 & 1.3455
หากราคาผ่านเหนือ 1.3615 เป้าหมายคือ 1.3675 & 1.3710
ข้อสังเกต : ตาบใดที่ราคาไม่ผ่านแนวต้าน 1.3615 , ยังมีโอกาสสูงที่จะทะลุลงมาต่ำกว่า 1.3500

Key levels
1.3710
1.3675
1.3615
1.3545 last
1.3500
1.3455
1.3400

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 24 กพ.: ดอลล์ร่วง หลังเบอร์นันเก้ยืนยันคงดอกเบี้ยต่ำ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (24 ก.พ.) หลังจากเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันต่อคณะกรรมาธิการด้านการเงินแห่งสภาคองเกรสสหรัฐว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) ที่ระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อพยุงเศรษฐกิจให้แข็งแรง
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดิ่งลง 0.20% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.3532 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 1.3505 ยูโร/ดอลลาร์ และร่วงลง 0.24% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0810 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0836 ฟรังค์/ดอลลาร์
นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.11% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.5396 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 1.5413 ปอนด์/ดอลลาร์ แต่ดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 90.200 เยน/ดอลลาร์
ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.35% แตะที่ 0.8929 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันอังคารที่ 0.8898 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดีดขึ้น 0.16% แตะที่ 0.6928 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.6917 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์
ค่าเงินดอลลาร์ดิ่งลงอย่างหนักหลังจากเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันต่อคณะกรรมาธิการด้านการเงินแห่งสภาคองเกรสสหรัฐว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0-0.25% ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งดอกเบี้ยที่ระดับต่ำส่งผลให้สินทรัพย์ในรูปสกุลเงินดอลลาร์ด้อยค่าลงด้วย
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่เดือนม.ค.ร่วงลง 11.2% แตะระดับ 309,000 ยูนิต/ปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยยอดขายบ้านใหม่ที่ร่วงลงอย่างหนักได้ตอกย้ำถึงความเปราะบางของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.สหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 46 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน จากเดือนม.ค.ที่ระดับ 56.5 จุด และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ 55 จุด

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

All Cried Out

มีเพลงนี้ ออกมาที่สถานีเพลง 181FM เพราะดีครับ ขอคั่นรายการก่อนด้วยเสียงเพลง เพราะว่าวันนี้ข้อมูลข่าวมีมากเกินไปแล้วครับ

ใช้ชีวิตอย่างมีสติ


สวัสดียามบ่ายครับ เคยเป็นแบบนี้มั้ยครับ หมดกัน..สร้างมากับมือ ... ผมว่านักเทรดที่ประสบการณ์มากมาย น่าผ่านอาการแบบนี้มาเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนที่ทดลองฝึกฝนด้วยตนเอง พอชินเมื่อใหร่ แล้วอยากเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ผลลัพธ์ใหม่ๆ ถึงจะออกมา
ทุกปัญหา มีทางออก ใช้ชีวิตอย่างมีสติ (ขอบคุณยาหม่องน้ำ เซียงเพียวอิ๊ว ^_^)

24 กพ.เศรษฐกิจสหรัฐฯยังขยายตัวต่ำต่อไปอีก 2 ปี

นางเจเน็ท เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) สาขาซานฟรานซิสโก คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจะขยายตัวในอัตราที่ต่ำไปอีกราว 2 ปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยยังคงจำเป็นต้องอยู่ในระดับต่ำต่อไป เพื่อเป็นปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับเข้าสู่ภาวะสมดุล

การแสดงความเห็นของนางเยลเลนสอดคล้องกับสัญญาญของ FED ที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีกระยะ แม้จะได้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางปล่อยกู้ฉุกเฉินให้กับสถาบันการเงิน (Discount Rate)ไปแล้วก็ตาม

นางเยเลน ยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะเปลี่ยนนโยบายการเงิน แต่ในที่สุดเมื่อเศรษฐกิจกลับสู่การขยายตัว ธนาคารกลางก็ไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเป็นพิเศษอีก

(ปล.หากเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ค่าเงินดอลลาห์จะแข็งขึ้น เนื่องจากอัตราผลตอบแทนสูงกว่า แต่จากข่าว แสดงว่ายังไม่ขึ้นในอนาคตอันใกล้)

24 กพ."อลัน กรีนสแปน" ติงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวไม่สมดุล

นายอลัน กรีนสแปน อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า การฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐครั้งนี้เป็นไปอย่างไม่สมดุล เนื่องจากผู้มีรายได้สูงและภาคธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการฟื้นตัวของตลาดเงินตลาดทุน

ขณะที่ภาคธุรกิจขนาดย่อมยังคงไม่ได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ซึ่งยังคงขาดความเชื่อมั่นที่จะปล่อยสินเชื่อในขณะนี้

กรีนสแปน บอกด้วยว่า วิกฤตการเงินโลกที่เพิ่งผ่านพ้นไปนับเป็นวิกฤตที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งรุนแรงกว่าวิกฤตเกรทดีเปรสชั่นที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1930 และขณะนี้เศรษฐกิจโลกก็ยังยังคงอยู่ภายใต้ผลกระทบจากวิกฤตการเงินครั้งรุนแรงที่สุด

24 กพ. เศรษฐกิจอังกฤษเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลังเศรษฐกิจถดถอย

บริษัท บีดีโอ และศูนย์วิจัยเศรษฐกิจของอังกฤษ คาดการณ์ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ เศรษฐกิจอังกฤษจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง

รายงานในหัวข้อ "Transitions" ซึ่งนำเสนอโดยบีดีโอและศูนย์วิจัยเศรษฐกิจของอังกฤษ ระบุว่า ภาคธุรกิจในอังกฤษจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งภาคเอกชนไม่ควรคาดหวังว่าธุรกิจจะกลับมารุ่งเรืองได้เหมือนเมื่อก่อน อีกทั้งระบุว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างเศรษฐกิจในครั้งนี้จะค่อนข้างรุนแรงและถาวร

ปีเตอร์ เฮมิงตัน ผู้บริหารคนหนึ่งของบีดีโอกล่าวว่า "ภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นในอังกฤษจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง โดยจะเปลี่ยนแปลงตั้งแต่โครงสร้างทางอุตสาหกรรมไปจนถึงยุคดิจิตอลและเครือข่ายแห่งอนาคต พวกเราอยู่ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ซึ่งหลายองค์กรจะต้องตัดสินใจว่าจะเลือกเปลี่ยนแปลงตัวเอง หรือหายไปจากสารบบ"

รายงานฉบับดังกล่าวยังระบุด้วยว่า เศรษฐกิจจีนและอินเดียขยายตัวแข็งแกร่งมาตลอดระยะเวลา 10 ปี ทำให้อินเดียและจีนผนึกกำลังก้าวขึ้นเป็นยักษ์ใหญ่เศรษฐกิจโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจของกลุ่มชาติตะวันตกต้องเผชิญกับภาวะไร้ดุลยภาพ

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยียังส่งผลให้รูปแบบทางเศรษฐกิจดั้งเดิมที่มีอยู่ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

รายงานยังระบุด้วยว่า ธุรกิจในอังกฤษจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อให้สามารถปรับตัวกับการจัดระเบียบโลกใหม่ได้

ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าโอกาสที่เศรษฐกิจอังกฤษจะเผชิญกับภาวะถดถอยรุนแรงขึ้นเป็นสองเท่านั้น มีสูงมาก ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา รวมถึงราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่นๆที่แพงขึ้น ซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบต่อรายได้และตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภค
ดูรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://www.bdo.uk.com/news/talk-shop/business-will-never-be-the-same-again--peter-hemington.html

24 กพ.ความเชื่อมั่นธุรกิจเยอรมนีเดือน ก.พ. สะดุด หลังเจออากาศไม่เป็นใจ

เศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ของยุโรป อย่าง เยอรมนี เปิดเผยตัวเลขความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนกุมภาพันธ์ออกมาร่วงลงผิดไปจากที่ตลาดคาดการณ์และเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 11 เดือน สาเหตุเป็นเพราะภูมิอากาศที่หนาวจัดในรอบ 14 ปี ที่พัดเข้ามาปกคลุมประเทศจนทำให้ยอดขายปลีก ไปจนถึงสภาวะการก่อสร้างต้องหยุดชะงักไปโดยปริยาย

สถาบัน Ifo จากมิวนิค รายงานดัชนีบรรยากาศภาคธุรกิจ หรือที่เรียกว่า business climate index ที่อิงกับความเห็นของผู้บริหารกว่า 7,000 ราย ออกมาปรับตัวลง ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ก่อนหน้านี้คาดว่าตัวเลขจะขยับตัวดีขึ้น

รายงานดังกล่าวยังตอกย้ำถึงทิศทางเศรษฐกิจของเยอรมันที่ตัวเลขล่าสุดระบุว่า การฟื้นตัวของประเทศได้หยุดชะงักในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว เมื่อการใช้จ่ายผู้บริโภคอ่อนแรงลง ก่อนที่ปัจจัยภูมิอากาศที่ต่ำกว่าปกติ ไปจนถึงพายุหิมะ ทำให้ผู้ประกอบการต้องหยุดรอดูสถานการณ์อยู่เฉยๆ และไม่กล้าจ้างงานเพิ่ม ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ล้วนแต่เป็นตัวบั่นทอนกำลังซื้อของภาคครัวเรือน

อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์จากหลายค่าย ซึ่งก็รวมถึง ING Group ที่กรุงบรัสเซลส์ ยังแสดงความเชื่อมั่นว่า แม้หนทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเยอรมันยังดูมีขวากหนามอยู่อีกมาก แต่เมื่อดูปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ประกอบแล้ว กลับมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดูแข็งแกร่ง

หนึ่งในนั้นเป็นเพราะอานิสงส์ของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มจะประคองตัวขึ้นมาได้ และเป็นผลดีต่อภาคการส่งออกของเยอรมัน ส่วนในอีกด้านหนึ่ง ค่าเงินยูโรที่ถูกวิกฤติของประเทศกรีซเล่นงานจนทำให้ร่วงลงไปตกต่ำในรอบ 9 เดือน กลับเป็นตัวช่วยที่สำคัญต่อสินค้าส่งออกของประเทศไปโดยอัตโนมัติ

โจทย์เศรษฐกิจที่รัฐบาลผสมภายใต้การนำของ Angela Merkel กำลังต้องหาทางแก้โดยด่วน เหมือนกับที่ประเทศอื่นๆ ก็คือ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงาน ที่มีส่วนบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ในตอนนี้ รวมถึงเสียงสนับสนุนรัฐบาลที่กำลังลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน

นักเศรษฐศาสตร์จาก Deutsche Bank ในแฟรงเฟิร์ต ที่กลับมีมุมมองในด้านบวกได้ให้ความเห็นว่า ปัจจัยการอ่อนค่าของเงินยูโรน่าจะกลับมาเป็นตัวจุดประกายความคาดหวังของภาคธุรกิจ รวมถึงดีมานด์ที่จะมาจากประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น จนสามารถเข้ามาช่วยกระตุ้นภาคส่งออกให้ดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดก็เป็นเหมือนสิ่งยืนยันความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของยุโรปแห่งนี้

Morning Wakeup Call February 24, 2010

Daily Video Technical Update February 24, 2010

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 24 กพ.

*** เช้านี้อย่าลืมเลี้ยงปลานะครับ *** โปรดสังเกตว่ามีปลาสีเขียวเพิ่มมาหนึ่งตัว เพิ่งออกลูกเมื่อคืนครับ :)
Pivot: 1.3575
คำแนะนำ : Short ที่ระดับต่ำกว่า 1.3575 targets @ 1.3485 & 1.3455
หากราคาผ่านเหนือ 1.3575 เป้าหมายคือ 1.3625 & 1.3675

ข้อสังเกต : RSI ทะลุเส้น trend line ลงมา

Key levels
1.3675
1.3625
1.3575
1.3510 last
1.3485
1.3455
1.3400

ปล. ช่วงที่กราฟวิ่งแรงๆ ขอแนะนำให้กลับไปดูบทความนี้นะครับ http://forexnectura.blogspot.com/2010/01/blog-post_31.html

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 23 กพ.: ดอลล์พุ่งเทียบยูโร หลังความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนีอ่อนแอ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (23 ก.พ.) หลังจากเยอรมนีเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ดิ่งลงอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินเยน หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.68% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.3504 ยูโรต่อดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.3597 ยูโรต่อดอลลาร์ และดีดตัวขึ้น 0.73% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0838 ฟรังค์ต่อดอลลาร์ จากระดับ 1.0759 ฟรังค์ต่อดอลลาร์

นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.43% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.5415 ปอนด์ต่อดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.5481 ปอนด์ต่อดอลลาร์ แต่ดิ่งลง 1.00% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 90.210 เยนต่อดอลลาร์ จากระดับ 91.120 เยนต่อดอลลาร์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 1.18% แตะที่ 0.8895 ดอลลาร์สหรัฐต่อดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันจันทร์ที่ 0.9001 ดอลลาร์สหรัฐต่อดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 1.33% 1แตะที่ 0.6917 ดอลลาร์สหรัฐต่อดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7010 ดอลลาร์สหรัฐต่อดอลลาร์นิวซีแลนด์

ดอลลาร์สหรัฐทะยานขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร หลังจากสถาบัน Ifo รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีในเดือนก.พ.ร่วงลงเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 95.2 จุด จากระดับ 95.8 จุดในเดือนม.ค. เนื่องจากอุณหภูมิที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเฉลี่ยและหิมะที่ตกลงมาอย่างหนักได้ส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างและยอดค้าปลีก

อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยน หลังจากสำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยเอกชนของสหรัฐ รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.ดิ่งลงสู่ระดับ 46 จุด จากเดือนม.ค.ที่ระดับ 56.5 จุด และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ 55 จุด บ่งชี้ว่าผู้บริโภคมีความวิตกกังวลเรื่องตัวเลขจ้างงานที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องและแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อ่อนแอของสหรัฐทำให้นักลงทุนยังติดตามดูการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้อย่างใกล้ชิด รวมถึงยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนม.ค.,จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ขั้นต้นประจำไตรมาส 4 ปี 2552 และรายงานยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค.

นักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์ด้านการเงินของกรีซ โดยล่าสุดมีรายงานว่าทีมผู้ตรวจสอบบัญชีของคณะกรรมาธิการยุโรป ธนาคารกลางยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เข้าพบกับเจ้าหน้าที่ของทางการกรีซ โดยประเด็นหลักที่คาดว่าจะมีการปรึกษาหารือกันที่กระทรวงการคลังของกรีซในครั้งนี้คือการติดตามการใช้มาตรการสร้างเสถียรภาพและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกรีซ

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

When you say nothing at all


วันนี้ EUR/USD วิ่งขึ้นตามแถลงการณ์ของ RBA ออสเตรเลีย เวลาบ่ายสองโมง ไปถึงจุดสูงสุดที่ 1.3692
แต่ก็ถูกทางฝั่งยุโรปเทขายกลับลงมาอย่างหนักตลอดทั้งบ่าย จากข่าว IFO Business Climate ที่ออกมาไม่ดี ลงมาจนถึง 1.3552 วิ่งไกลมาก
มอบเพลงนี้ให้ฟังหนึ่งเพลงครับ เคยลงไว้ครั้งนึงแล้ว แต่ว่าฟังอีกสักรอบ

22 กพ.'โซรอส'ชี้หลังช่วย'กรีซ'อนาคต'เงินยูโร'ก็ยังมีปัญหา


จอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินชื่อดังชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการีวัย 79 ปีแสดงทัศนะผ่านทางหนังสือพิมพ์ไฟแนลเชียลไทมส์วันจันทร์ (22)ว่า แม้ทางสหภาพยุโรป (อียู)อาจแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สินของกรีซได้ ด้วยการให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญปัญหาเรื่องค่าเงินยูโรต่อไปอีกในอนาคต เป็นต้นว่า ยูโรโซนย่อมช่วยเหลือแบบเฉพาะหน้าไม่ไหวแน่ เมื่อวิกฤตหนี้สิน สเปน, อิตาลี, โปรตุเกส, ไอร์แลนด์ ปะทุติดตามมา

โซรอสกล่าวว่า สิ่งที่อียูต้องการมากกว่า คือ การตรวจตราเฝ้าระวังแบบที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวก้าวก่ายแต่ละชาติสมาชิกมากขึ้น และการหาหนทางในเชิงสถาบันเพื่อการช่วยเหลืออย่างมีเงื่อนไขแก่ชาติสมาชิกที่ประสบปัญหา ตลอดจนการจัดให้มีตลาดยูโรบอนด์ที่มีประสิทธิภาพ


Scorpions Acoustica- When love kills love

เริ่มเข้าตลาดยุโรป European Session แล้วต้องฟังเพลงให้เข้าบรรยากาศ
บรรยากาศคอนเสิร์ตของ Scorpions ขลังและสวยดีนะครับ จังหวะเร้าใจดี

Daily Video Technical Update February 23, 2010

Morning Wakeup Call February 23, 2010

The Week Ahead มองล่วงหน้า สัปดาห์ที่ 22- 26 กพ.

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 23 กพ.


EUR/USD intraday: caution.
Pivot: 1.364
คำแนะนำ : Short ที่ระดับต่ำกว่า 1.3640 targets @ 1.3575 & 1.353
หากราคาผ่านเหนือ 1.3640 เป้าหมายด้านบนคือ 1.3675 & 1.3725

ข้อสังเกต : RSI ไม่มีแรงขึ้น

Key levels
1.3725
1.3675
1.3640
1.3595 last
1.3575
1.3530
1.3485

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 22 กพ.: ดอลล์ร่วงเทียบสกุลเงินหลักๆ ก่อนเบอร์นันเก้แถลงนโยบายเศรษฐกิจ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 ก.พ.) โดยดอลลาร์เคลื่อนตัวผันผวนตลอดทั้งวัน เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงนโยบายเศรษฐกิจและการเงินต่อสภาคองเกรสในวันพุธและพฤหัสบดีนี้ นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะและยอดขาดดุลงบประมาณในยุโรป ยังส่งผลกดดันบรรยากาศการซื้อขายด้วย

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.13% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.3597 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.3615 ยูโร/ดอลลาร์ และดิ่งลง 0.52% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 91.110 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 91.590 เยน/ดอลลาร์

นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐขยับลง 0.05% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.5479 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.5472 ปอนด์/ดอลลาร์ แต่ดีดขึ้น 0.05% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0760 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0755 ฟรังค์/ดอลลาร์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.16% แตะที่ 0.8999 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันศุกร์ที่ 0.8985 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.27% แตะที่ 0.7009 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.6990 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์

ดอลลาร์สหรัฐผันผวนอย่างหนักเนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่เบอร์นันเก้จะเตรียมแถลงนโยบายเศรษฐกิจและการเงินต่อสภาคองเกรสในวันพุธและพฤหัสบดีนี้ รวมทั้งชี้แจงเหตุผลของการเตรียมถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากที่เฟดประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (discount rate) 0.25% เป็น 0.75% เนื่องจากตลาดการเงินและภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2552 ที่ขยายตัวในอัตรา 5.7% ต่อปี ซึ่งทำสถิติขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) ที่ระดับ 0-0.25% ในการประชุมครั้งหน้า หลังจากดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ทั่วไป เดือนม.ค.เพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3% ส่วนดัชนีซีพีไอพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและพลังงาน ลดลง 0.1% ซึ่งปรับตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 27 ปี

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานคืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เฟดเรียกเก็บจากธนาคารพาณิชย์ซึ่งกู้ยืมโดยตรงจากเฟด ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นคืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากการกู้ยืมระหว่างกัน

นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายในตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กยังถูกดดันจากปัญหาหนี้สาธารณะและยอดขาดดุลงบประมาณในยุโรป รวมถึงกรีซ โดยนายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูของกรีซ ยอมรับว่าการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณเป็นงานที่ยากอย่างยิ่ง ซึ่งขณะนี้ยอดขาดดุลงบประมาณของกรีซคิดเป็นร้อยละ 12.7 ของตัวเลขจีดีพีปี 2552 นับเป็นระดับสูงสุดในกลุ่มอียู

ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงข้อมูลราคาบ้านเดือนธ.ค., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือนก.พ., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนม.ค.,จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ขั้นต้นประจำไตรมาส 4 ปี 2552 และรายงานยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค.

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

22 กพ. คาดการณ์ตลาดโดย FX CBS

Market Expectations

EUR/USD : We expect an upward trend for the pair euro against the U.S. dollar for the day, Stochastic appears saturated in sales and the closure last Friday above the level of 1.35000 supports the achievement of an upward trend aimed at 1.37250.

EUR/USD : เราคาดว่าราคาจะกลับขึ้นไปด้านบน Stochastic แสดงว่าได้มีการอิ่มตัวของการขายแล้ว และขึ้นมาปิดราคาของวันศุกร์ที่ผ่านมาเหนือระดับ 1.5000 ซึ่งคาดว่าจะไปที่เป้าหมายราคา 1.3725

22 กพ. ราคาน้ำมันตลาด NYMEX พุ่งแตะ 80.26 ดอลล์เที่ยงนี้ เหตุนลท.เชื่อเฟดยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้น

สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX ซึ่งมีการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดสิงคโปร์ พุ่งขึ้น 45 เซนต์ แตะที่ 80.26 ดอลลาร์/บาร์เรลในช่วงเที่ยงวันนี้ จากระดับปิดที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ 79.81 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) ไว้ที่ระดับ 0-0.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว และจะช่วยหนุนดีมานด์พลังงานเพิ่มขึ้นด้วย

นักลงทุนเชื่อมั่นว่าแม้เฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (discount rate) 0.25% เป็น 0.75% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่เฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในการประชุมครั้งหน้า หลังจากดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ทั่วไป เดือนม.ค.เพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3% ส่วนดัชนีซีพีไอพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและพลังงาน ลดลง 0.1% ซึ่งปรับตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 27 ปี

Daily Video Technical Update February 22, 2010

Morning Wakeup Call February 22, 2010

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

nick vujicic นิค วูจิซิค คนพิการหัวใจนักสู้ บรรยายไทย


ผมเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า ทุกๆ ความสำเร็จ ประกอบด้วยความล้มเหลว ความท้าทาย ความหดหู่ เรื่องน่าเศร้า ในระหว่างทาง ก่อนที่จะพบเจอกับความอบอุ่น หอมหวาน ความภาคภูมิใจของความสำเร็จ มีบางคนเคยบอกว่า ผู้ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือผู้ที่ผ่านความล้มเหลวมามากที่สุด เพราะว่า เขาไม่เคยกลัวความล้มเหลวนั่้นเอง และเขาก็ผ่านความลำบากมาได้ทุกครั้ง จนพบความสำเร็จที่มีคุณค่า คลิปนี้ จะทำให้ท่านเข้าใจได้ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเทรดหรือไม่ ถ้าได้ดูจนจบ ท่านจะเข้าใจ ว่าผมกำลังพูดถึงอะไร :)


บุพเพสันนิวาส - เท่ห์ อุเทน


มอบเพลงนี้ให้สำหรับคนที่กำลังมีความรักนะครับ ดูไปดูมา เท่ห์ก็หน้าตาคล้ายๆ ผมแฮะ ^_^


Market Movers: SII, SLB, S, GT, ADBE


ดูบรรยากาศตลาดนิวยอร์คเล่นๆ ครับ

Dollar Hits 9-Month High vs. Euro ดอลลาห์ขึ้นสูงสุดในรอบเก้าเดือน


คาดว่าจะมีการรีบาวนด์ แนะนำให้ Long ที่เหนือ Low เดิม เป้าหมายก็ดูระดับ Fibonacci ในบทความด้านล่างเลยครับ
เพิ่งได้ความรู้ใหม่ คือ ท่านสามารถให้อาหารปลาทอง ที่ด้านซ้ายมือของบล็อกนี้ได้ด้วยนะครับ ลองเล่นดู เพลินดี ^_^

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 22 กพ.

Pivot: 1.3520
คำแนะนำ : Long ที่ระดับเหนือ 1.3520 targets @ 1.3655 & 1.3700
หากราคาผ่าน 1.3520 ลงมา เป้าหมายด้านล่างคือ 1.3440 & 1.3320
ข้อสังเกต : RSI มีทิศทางชัดเจน

Key levels
1.3790
1.3700
1.3655
1.3610 last
1.3520
1.3440
1.3320

Technical Analysis สำหรับสัปดาห์ที่ 22 - 26 กพ.


EUR/USD trend: sell.

GBP/USD trend: sell.
USD/JPY trend: buy.
EUR/JPY trend: hold.
GBP/JPY trend: hold.

Floor Pivot Points
Pair3rd Sup2nd Sup1st SupPivot1st Res2nd Res3rd Res
EUR/USD1.30791.32621.34231.36061.37671.39491.4110
GBP/USD1.47901.50671.52621.55391.57341.60111.6206
USD/JPY87.8388.7790.2691.2092.7093.6495.14
EUR/JPY120.41121.33122.98123.91125.56126.49128.14
GBP/JPY137.59139.15140.49142.05143.39144.95146.29

Fibonacci Retracement Levels
PairsEUR/USDGBP/USDUSD/JPYEUR/JPYGBP/JPY
100.0%1.37881.581692.15124.83143.61
61.8%1.36571.563591.21123.85142.50
50.0%1.36161.558090.93123.54142.16
38.2%1.35761.552490.64123.24141.82
23.6%1.35261.545590.28122.86141.39
0.0%1.34451.534489.71122.25140.71