วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 30 ส.ค.: เยนแข็งเทียบดอลล์ เหตุนักลงทุนผิดหวังมาตรการแบงค์ชาติญี่ปุ่น

ค่าเงินเยนพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่น นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐ ก่อนที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนส.ค.ในวันศุกร์นี้

ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง 0.65% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 84.640 เยน จากระดับของวันศุกร์ (27 ส.ค.) ที่ 85.190 เยน และร่วงลง 0.12% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0264 ฟรังค์ จากระดับ 1.0276 ฟรังค์

ส่วนค่าเงินยูโรร่วงลง 0.79% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2661 ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.2762 ดอลลาร์ และเงินปอนด์ดิ่งลง 0.37% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5462 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5520 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดิ่งลง 0.63% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8931 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 0.8988 ดอลลาร์ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.28% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7084 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7104 ดอลลาร์สหรัฐ

เงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์เนื่องจากการนโยบายผ่อนปรนด้านการเงินเพิ่มเติมที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ประกาศใช้ในการประชุมฉุกเฉินเมื่อวานนี้ ด้วยเป้าหมายที่จะสกัดกั้นการแข็งค่าของเงินเยนนั้น ไม่ได้สร้างความพอใจให้กับนักลงทุนเท่าใดนัก นอกจากนี้ การที่บีโอเจตัดสินใจขยายโครงการปล่อยเงินกู้จากเดิม 20 ล้านล้านเยน เป็น 30 ล้านล้านเยน ก็เป็นจำนวนเงินที่ตลาดคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

เดิมทีนั้น คณะกรรมการบีโอเจวางแผนไว้ว่าจะหารือเรื่องมาตรการผ่อนปรนด้านการเงินเพิ่มเติมในการประชุมนโยบายตามกำหนดการในวันที่ 6 - 7 ก.ย.นี้ หลังจากบีโอเจถูกกดดันจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐบาลให้เร่งใช้มาตรการฉุกเฉินเพิ่มเติม เนื่องจากเงินเยนพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์และยูโร ซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์เคลื่อนตัวผันผวนตลอดทั้งวันเนื่องจากกระแสความวิตกกังวลก่อนที่ทางการสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานเดือนส.ค.ในวันศุกร์ และหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐ ปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนก.ค. ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 0.2%

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 27 ส.ค.: ดอลล์พุ่งเทียบเยน หลังเบอร์นันเก้ส่งสัญญาใช้มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนและฟรังค์สวิส ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (27 ส.ค.) หลังจากเบน เบอร์นันเก้ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณถึงความพร้อมที่จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และรายงานที่บ่งชี้ว่าตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ของสหรัฐขยายตัวได้ดีกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้

ค่าเงินดอลลาร์ดีดตัวขึ้น 1.09% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 85.370 เยน จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 84.450 เยน และพุ่งขึ้น 0.60% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0297 ฟรังค์ จากระดับ 1.0236 ฟรังค์

ค่าเงินยูโรขยับขึ้น 0.09% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2731 ดอลลาร์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.2719 ดอลลาร์ และเงินปอนด์อ่อนตัวลง 0.11% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ระดับ 1.5513 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5530 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 1.42% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8990 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 0.8864 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 1.34% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7120 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7026 ดอลลาร์

เบอร์นันเก้กล่าวในที่ประชุมประจำปีของเฟดซึ่งจัดขึ้นที่เมืองแจ๊คสัน โฮล รัฐไวโอมิ่ง ว่า เฟดพร้อมที่จะใช้นโยบายผ่อนปรนด้านการเงินเพิ่มเติม รวมถึงการใช้มาตรการพิเศษ (unconventional measures) เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนในตลาดสินเชื่อ หากคณะกรรมการเฟดพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ เบอร์นันเก้เชื่อมั่นว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐจะสูงขึ้นในปี 2554

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่ามาตรการดังกล่าวยังคงมีความไม่แน่นอน เนื่องจากเบอร์นันเก้ระบุว่า จนถึงขณะนี้ คณะกรรมการเฟดยังไม่ได้ตกลงกันว่าจะใช้มาตรการใด หรือเพิ่มการใช้มาตรการใดอย่างเฉพาะเจาะจง พร้อมกับกล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงานของสหรัฐยังคงอ่อนแอ

มาตรการพิเศษถือเป็นมาตรการที่ธนาคารกลางไม่ได้นำมาใช้ในช่วงเวลาปกติ แต่จะบังคับใช้ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์การเงินและเศรษฐกิจที่รุนแรง ซึ่งเป้าหมายหลักคือการลดความตึงตัวของตลาดการเงินและกระตุ้นระบบเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนต่อไปข้างหน้าได้

ในช่วงปี 2552 จนถึงต้นปี 2553 เฟดได้เข้าซื้อตราสาร MBS มูลค่า 1.25 ล้านล้านดอลลาร์ และตราสารที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันของแฟนนี เม และ เฟรดดี แมค ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ (GSE) มูลค่า 1.75 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเพิ่มปริมาณการไหลเวียนของเม็ดเงินในระบบ นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าวยังมีเป้าหมายที่จะฉุดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวให้ปรับตัวลดลงด้วย

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยการประเมินตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 2 ปี 2553 ว่า ขยายตัว 1.6% ซึ่งน้อยกว่าที่ประเมินไว้ครั้งก่อนว่าขยายตัว 2.4% และเป็นสถิติที่ขยายตัวรายไตรมาสที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม จีดีพีไตรมาส 2 ที่ผ่านการทบทวนครั้งล่าสุดนี้ ขยายตัวได้ดีกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะขยายตัวเพียง 1.4%

ปัจจัยที่ทำให้ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ชะลอตัวลงมาจากยอดการนำเข้าสินค้าที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ภาคเอกชนปรับลดการลงทุนด้านสต็อกสินค้าลงอย่างหนัก โดยยอดการนำเข้าสินค้าในไตรมาส 2 พุ่งขึ้น 32.4% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2527 และสูงกว่ายอดการนำเข้าที่ขยับขึ้นเพียง 9.1%

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Technical Update 26-27th Aug - Bernanke's Speech is an Event Risk for the US Dollar

Daily Video Recap 26-27th Aug: Greenback Slides On Concerns Over Fed QE and Some "Risk-On" Trades

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 26 ส.ค.: ยูโรพุ่งหลังความเชื่อมั่นเยอรมนีแข็งแกร่ง ขณะตลาดจับตาเบอร์นันเก้แถลง

ค่าเงินยูโรดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (26 ส.ค.) หลังจากมีรายงานว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเยอรมนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ เนื่องจากความกังวลที่ว่าการกล่าวปาฐกถาของเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่รัฐไวโอมิ่งในวันศุกร์นี้นั้น อาจมีการส่งสัญญาณเรื่องการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.47% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2717 ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธ (25 ส.ค.) ที่ระดับ 1.2657 ดอลลาร์ และเงินปอนด์พุ่งขึ้น 0.43% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5527 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5460 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง 0.18% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 84.430 เยน จากระดับของวันพุธที่ 84.580 เยน และดิ่งลง 0.56% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0242 ฟรังค์ จากระดับ 1.0300 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.27% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8861 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 0.8837 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดีดขึ้น 0.49% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7028 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6994 ดอลลาร์

สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นหลังจากผลสำรวจของสถาบัน GfK ของเยอรมนีบ่งชี้ว่า ผู้บริโภคในเยอรมนียังคงมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจประเทศ แม้ว่าจะมีความวิตกกังวลเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกก็ตาม โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกันยายนขยายตัวสู่ระดับ 4.1 จุด จากระดับ 4.0 จุดในเดือนสิงหาคม

ผลสำรวจดังกล่าวเป็นข้อมูลล่าสุดที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเยอรมนีฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจและตลาดแรงงานในประเทศขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง

ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ เนื่องจากนักลงทุนมีท่าทีระมัดระวังก่อนที่เบอร์นันเก้จะกล่าวปาฐกถาในที่ประชุมประจำปีของผู้ว่าการธนาคารทั่วโลกซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองแจ๊คสัน โฮล รัฐไวโอมิ่ง ในวันศุกร์นี้ โดยมีการคาดการณ์ว่าผู้ว่าการธนาคารกลางทั่วโลกจะหารือกันเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และเบอร์นันเก้อาจจะส่งสัญญาณถึงการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ

นักวิเคราะห์กล่าวว่า หากเบอร์นันเก้ไม่ได้ส่งสัญญาณใดๆเรื่องการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็อาจเป็นปัจจัยหนุนต่อดอลลาร์ แต่หากเบอร์นันเก้แสดงจุดยืนว่าเฟดจะอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ก็จะฉุดสกุลเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงด้วย

นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ผู้ว่าการเฟดสาขาชิคาโก กล่าวว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงตกอยู่ในภาวะที่ไม่แน่นอน เนื่องจากสถานการณ์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซาและเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว ซึ่งหากสถานการณ์เศรษฐกิจยังเป็นเช่นนี้ ก็มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะใช้นโยบายผ่อนปรนด้านการเงินต่อไปอีกระยะหนึ่ง

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 21 ส.ค. ร่วงลง 31,000 ราย มาอยู่ที่ระดับ 473,000 ราย ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 490,000 ราย และเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 1 เดือน

นักลงทุนจับตาดูรายงานการประเมินตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยในวันศุกร์นี้ โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจีดีพีไตรมาส 2 จะขยายตัวต่ำกว่าระดับ 2%


วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 27 ส.ค.

EUR/USD intraday: the upside prevails

Pivot: 1.2680

คำแนะนำ : Long positions เหนือระดับ 1.2680 targets @ 1.2775 & 1.2830

หากราคาลงต่ำกว่า Below 1.2680 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.2650 & 1.2590

ข้อสังเกต : เส้น RSI ติดแนวรับของ bullish trend line

Key levels
1.2900
1.2830
1.2775
1.2727 last
1.2680
1.2650
1.2590

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 25 ส.ค.: ดอลล์ร่วงเทียบยูโร หลังสหรัฐเผยยอดขายบ้านใหม่ร่วงหนัก

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนตัวอย่างผันผวนในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 ส.ค.) โดยดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินหลักๆ หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงยอดขายบ้านใหม่เดือนก.ค.ที่ร่วงลงอย่างหนัก ขณะที่เงินเยนอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์หลังจากมีกระแสคาดการณ์แพร่สะพัดในตลาดว่า ทางการญี่ปุ่นอาจเข้าแทรกแซงตลาดเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีเพื่อสกัดการแข็งค่าของเงินเยน

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้น 0.79% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 84.660 เยน จากระดับของวันอังคาร (24 ส.ค.) ที่ระดับ 84.000 เยน แต่ดอลลาร์อ่อนตัวลง 0.12% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0303 ฟรังค์ จากระดับ 1.0315 ฟรังค์

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.22% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2652 ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 1.2624 ดอลลาร์ และเงินปอนด์ดีดขึ้น 0.31% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5453 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5406 ดอลลาร์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียขยับขึ้น 0.08% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8826 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันอังคารที่ 0.8819 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.53% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.6982 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7019 ดอลลาร์สหรัฐ

ภาวะการซื้อขายในตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กผันผวนอย่างหนัก โดยดอลลาร์อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่เดือนก.ค.ร่วงลง 12.4% มาอยู่ที่ระดับ 276,000 ยูนิตต่อปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กระทรวงพาณิชย์เริ่มรวบรวมข้อมูลยอดการขายบ้านในปี 2506 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ 330,000 ยูนิตต่อปี จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 315,000 ยูนิตต่อปี

นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก กล่าวว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงตกอยู่ในภาวะที่ไม่แน่นอน เนื่องจากสถานการณ์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซาและเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว ซึ่งหากสถานการณ์เศรษฐกิจยังเป็นเช่นนี้ ก็มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะใช้นโยบายผ่อนปรนด้านการเงินต่อไป

นอกจากนี้ ทางการสหรัฐรายงานว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเพิ่มขึ้นเพียง 0.3% ในเดือนก.ค. ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะพุ่งขึ้น 2.8%

ค่าเงินเยนอ่อนตัวลงหลังจากหนังสือพิมพ์นิกเกอิ อิงลิช นิวส์ รายงานว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะใช้มาตรการผ่อนปรนด้านการเงินเพิ่มเติม ซึ่งเป็นความพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจและสกัดการแข็งค่าของเงินเยน อีกทั้งคาดว่ากระทรวงการคลังญี่ปุ่นอาจพิจารณาเรื่องการแทรกแซงตลาด หากนักเก็งกำไรแห่เข้าถือครองสกุลเงินเยนเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวคาดว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายของบีโอเจอาจเปิดการประชุมเร็วกว่ากำหนด จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 6-7 ก.ย.นี้

สถาบัน Ifo เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 106.7 ในเดือนส.ค.จากระดับ 106.2 ในเดือนก.ค. ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี และเป็นการปรับตัวขึ้น 4 เดือนติดต่อกัน บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเยอรมนีมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีการผลิตเขตมิดเวสต์เดือนก.ค. ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 25 ส.ค.

EUR/USD intraday: bullish bias above 1.262
Pivot: 1.2620

คำแนะนำ : Long positions เหนือระดับ 1.2620 targets @ 1.2730 & 1.2790

หากราคาทะลุลงต่ำกว่า 1.2620 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.2555 & 1.2470

ข้อสังเกต : ทั้งราคาและ RSI ทะลุเหนือแนว bearish trend line.

Key levels
1.2830
1.2790
1.2730
1.2675 last
1.2620
1.2555
1.2470

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 24 ส.ค.: วิตกแนวโน้มเศรษฐกิจ ฉุดดอลล์ร่วงเทียบเยน

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 15 ปีเมื่อเทียบกับสกุลเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (24 ส.ค.) เนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสกุลเงินที่ปลอดภัย รวมถึงสกุลเงินเยน นอกจากนี้ เงินเยนยังได้แรงหนุนหลังจากทางการญี่ปุ่นไม่ได้ส่งสัญญาณการใช้มาตรการสกัดเงินเยนแข็งค่า ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากรายงานยอดขายบ้านมือสองที่ร่วงลง

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 1.07% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 84.160 เยน จากระดับของวันจันทร์ (23 ส.ค.) ที่ 85.070 เยน และดิ่งลง 0.89% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0312 ฟรังค์ จากระดับ 1.0405 ฟรังค์

ค่าเงินยูโรดีดตัวขึ้น 0.11% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2672 ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.2658 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลง 0.54% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5426 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5509 ดอลลาร์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดิ่งลง 0.76% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8840 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันจันทร์ที่ 0.8908 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.30% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7045 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7066 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินเยนแข็งแกร่งขึ้นติดต่อกันหลายวันทำการที่ผ่านมา เนื่องจากยังไม่มีทีท่าว่าทางการญี่ปุ่นจะออกมาเคลื่อนไหวเรื่องเงินเยน โดยในการประชุมทางโทรศัพท์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานั้น นายนาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และนายมาซาอากิ ชิรากาว่า ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ไม่ได้หารือกันเกี่ยวกับการแทรกแซงตลาดเพื่อสกัดการแข็งค่าของเงินเยน

นายโยชิโกะ เซนโกกุ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงนิ่งเฉยต่อภาวะผันผวนในตลาดการเงิน และจะจับตาดูสถานการณ์ในตลาดอย่างใกล้ชิด รวมถึงประเด็นที่ว่าตลาดถูกขับเคลื่อนด้วยการเก็งกำไรหรือไม่ พร้อมกับกล่าวว่า มุมมองที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีต่อตลาดและเศรษฐกิจโลกยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงหลังจากสมาคมนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ค.ร่วงลงหนักสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 27.2% จากเดือนมิ.ย. มาอยู่ที่ระดับ 3.83 ล้านยูนิตต่อปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2548 หรือในรอบ 15 ปี และร่วงลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 12%

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ค.ยอดขายบ้านใหม่เดือนก.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีการผลิตเขตมิดเวสต์เดือนก.ค. ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 2/2010 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.

สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีรายงานเมื่อวานนี้ว่า ยอดขาดดุลงบประมาณในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ระดับ 3.5% ของจีดีพี จากการที่เยอรมนีได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่วนยอดการกู้ยืมสุทธิของเยอรมนีในช่วงครึ่งปีแรก อยู่ที่ 4.28 หมื่นล้านยูโร (5.437 หมื่นล้านดอลลาร์) ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากระดับ 1.87 หมื่นล้านยูโรในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Forex Technical Update 23-24th Aug - Quiet Start for US Dollar crosses; Japanese Yen Firms

Daily Video Recap 23-24th Aug: Euro Remains Pressured, Yen Tests 85, Aussie Rallies Post-Election

Weekly Technology Report 22th Aug

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 24 ส.ค.

EUR/USD intraday: capped by a negative trend line
Pivot: 1.2730

คำแนะนำ : Short positions ที่ระดับต่ำกว่า 1.2730 targets @ 1.2615 & 1.2555

หากราคาผ่านเหนือ 1.2730 เป้าหมายด้านบนคือ 1.2790 & 1.2830

ข้อสังเกต : ราคาทะลุแนวรับลงมา และคาดว่าจะลงต่อไปอีกเนื่องจาก RSI มีทิศทางลง

Key levels
1.283
1.279
1.273
1.2665 last
1.2615
1.2555
1.247

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 23 ส.ค.: ยูโรร่วง หลังดัชนีภาคบริการ-การผลิตยุโรปชะลอตัว

ค่าเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (23 ส.ค.) หลังจากมีรายงานว่า ดัชนีภาคบริการและภาคการผลิตของยุโรปขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง และหลังจากนายแอ็กเซล เวเบอร์ คณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) แนะนำให้อีซีบีขยายระยะเวลาการใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงินออกไปอีก

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.35% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2661 ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ (20 ส.ค.) ที่ 1.2705 ดอลลาร์ และค่าเงินปอนด์ดิ่งลง 0.10% แตะที่ 1.5516 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5531 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.46% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 85.220 เยน จากระดับของวันศุกร์ที่ 85.610 เยน และพุ่งขึ้น 0.63% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0404 ฟรังค์ จากระดับ 1.0339 ฟรังค์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.29% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8913 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ 0.8939 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนตัวลง 0.03% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7063 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7065 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงหลังจากนายเวเบอร์ หนึ่งในคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) แนะนำให้อีซีบีขยายระยะเวลาการใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงิน รวมถึงการตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้สกุลเงินยูโรมีมูลค่าต่ำลง

นอกจากนี้ ค่าเงินยูโรยังได้รับแรงกดดันหลังจากมาร์กิต อิโคโนมิคส์ (Markit Economics) ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจความคิดเห็นที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของภาคบริการและภาคการผลิตในยุโรปประจำเดือนก.ค.ขยายตัวที่ระดับ 56.1 จุด ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 56.7 จุด บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มชะลอตัวลง

เศรษฐกิจในภูมิภาคยุโรปส่งสัญญาณการชะลอตัวตั้งแต่เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา รวมถึงผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของ 16 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร หรือ กลุ่มยูโรโซน ที่หดตัวลง 0.1% ในเดือนมิ.ย. หลังจากขยายตัว 1.1% ในเดือนพ.ค. ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.จะเพิ่มขึ้น 0.6%

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ เนื่องจากนักลงทุนเข้าถือครองดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ โดยล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจประจำเดือนก.ค.ขยับขึ้นสู่ระดับ 0 จุด จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ -0.70 จุด ซึ่งแม้ว่าฟื้นตัวขึ้นจากระดับของเดือนมิ.ย. แต่ภาวะโดยรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงซบเซา

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันอังคาร สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐจะเปิดเผยยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ค. วันพุธ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ค.และยอดขายบ้านใหม่เดือนก.ค. วันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และเฟดสาขาชิคาโกจะเปิดเผยดัชนีการผลิตเขตมิดเวสต์เดือนก.ค.

ส่วนวันศุกร์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 2/2010 และรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนจะเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 20 ส.ค.:ดอลล์แข็งค่า ขณะกระแสวิตกศก.สหรัฐหนุนนักลงทุน ซื้อดอลล์เลี่ยงความเสี่ยง

เงินดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อ 20 ส.ค. เนื่องจากนักลงทุนพากันเข้าซื้อเงินดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในยามที่ตลาดมีความวิตกกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ หลังทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 0.34% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 85.630 เยน จากระดับของวันพฤหัสบดี (19 ส.ค.) ที่ 85.340 เยน และแข็งค่าขึ้น 0.31% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0350 ฟรังค์ จากระดับ 1.0318 ฟรังค์

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.90% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2704 ดอลลาร์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.2820 ดอลลาร์ และเงินปอนด์ดิ่งลง 0.40% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5531 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5594 ดอลลาร์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.04% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8921 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 0.8925 ดอลลาร์ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.03% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7066 จากระดับ 0.7068 ดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ได้รับแรงซื้อเข้ามามากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนเข้าถือครองสกุลเงินดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐยังเผชิญกับภาวะเปราะบางจากปัจจัยทางเศรษฐกิจในวันก่อน ทั้งในส่วนของการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งพุ่งขึ้น 12,000 ราย สู่ระดับ 500,000 ราย ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟียรายงานว่า ดัชนีกิจกรรมด้านการผลิตในเขตมิด-แอตแลนติกหดตัวลงสู่ระดับ -7.7 จุดในเดือนส.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะดีดตัวขึ้น

นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินยูโร หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรปเปิดเผยถึงแผนการขยายเวลาการออกเงินกู้ให้กับธนาคารต่างๆ นานขึ้น ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจยุโรปยังคงอ่อนแอ

Technical Analysis for Week 23 - 27th Aug

EUR/USD trend: sell.
GBP/USD trend: sell.
USD/JPY trend: sell.
EUR/JPY trend: sell.
GBP/JPY trend: sell.

Floor Pivot Points
Pair3rd Sup2nd Sup1st SupPivot1st Res2nd Res3rd Res
EUR/USD1.23501.25071.26071.27641.28641.30211.3121
GBP/USD1.51941.53301.54301.55661.56661.58021.5902
USD/JPY83.6284.2584.9585.5886.2886.9187.61
EUR/JPY105.74107.00107.91109.17110.08111.34112.25
GBP/JPY129.35130.66131.84133.15134.33135.64136.82


Fibonacci Retracement Levels
PairsEUR/USDGBP/USDUSD/JPYEUR/JPYGBP/JPY
100.0%1.29211.570186.22110.42134.47
61.8%1.28231.561185.71109.59133.52
50.0%1.27931.558385.56109.34133.23
38.2%1.27621.555585.40109.08132.93
23.6%1.27251.552185.20108.76132.57
0.0%1.26641.546584.89108.25131.98

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 19 ส.ค.: ดอลล์แข็งเทียบยูโร หลังสหรัฐเผยข้อมูลเศรษฐกิจอ่อนแอ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19 ส.ค.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐทำให้นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณถึงความไม่แน่นอนและเปราะบาง ทำให้นักลงทุนจำนวนมากวิตกกังวล และส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินเยนและสกุลเงินอื่นๆ

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.29% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2818 ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธ (18 ส.ค.) ที่ระดับ 1.2855 ดอลลาร์ และเงินปอนด์ดิ่งลง 0.04% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5593 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5600 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง 0.08% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 85.350 เยน จากระดับของวันพุธที่ 85.420 เยน และอ่อนตัวลง 0.97% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0318 ฟรังค์ จากระดับ 1.0419 ฟรังค์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.73% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8921 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 0.8987 ดอลลาร์ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.95% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ จากระดับ 0.7072 ดอลลาร์สหรัฐ

ดอลลาร์แข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร เนื่องจากนักลงทุนเข้าถือครองดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐยังเผชิญกับภาวะเปราะบาง โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้ว พุ่งขึ้น 12,000 ราย สู่ระดับ 500,000 ราย ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2552 ที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานพุ่งแตะระดับ 500,000 คน

ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ พุ่งขึ้น 8,000 ราย แตะระดับ 482,500 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2552 สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทสหรัฐยังคงลดการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา

ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟียรายงานว่า ดัชนีกิจกรรมด้านการผลิตในเขตมิด-แอตแลนติกหดตัวลงสู่ระดับ -7.7 จุดในเดือนส.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะดีดตัวขึ้น และหดตัวลงหลังจากเคลื่อนไหวที่ระดับ +5.1 จุดในเดือนก.ค. โดยดัชนีกิจกรรมด้านการผลิตที่เคลื่อนไหวเหนือระดับ 0 บ่งชี้ว่ากิจกรรมด้านการผลิตมีการขยายตัว แต่ดัชนีที่เหลือไหวต่ำกว่า 0 บ่งชี้ว่ากิจกรรมด้านการผลิตหดตัวลง

ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ แม้ธนาคารกลางเยอรมนีได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศเป็นประมาณ 3% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ไม่ถึง 2% เมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากการส่งออกที่แข็งแกร่งเกินคาดในไตรมาสสอง

แบงก์ชาติเยอรมนีระบุในรายงานประจำเดือนว่า ทิศทางความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจเยอรมนียังอยู่ในช่วงขาขึ้น และคาดว่าจะต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แม้ว่าตลาดการเงินในต่างประเทศยังมีความเสี่ยง

ด้านสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนกรกฎาคมขยายตัว 1.1% จากเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.4%

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

18th Aug Risk Appetite Returns as US Output Data Surpries on Upside

Technical Update 18th Aug - Mixed USD Trading; Euro Firms while Pound Slides

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 18 ส.ค.

EUR/USD intraday: bounce
Pivot: 1.2835

คำแนะนำ : Long positions ที่ระดับเหนือ 1.2835 targets @ 1.2935 & 1.3025

หากราคาลงต่ำกว่า 1.2835 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.2780 & 1.2730

ข้อสังเกต : RSI ติดแนวรับของ bullish trend line

Key levels
1.3075
1.3025
1.2935
1.2880 last
1.2835
1.2780
1.2730

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 17 ส.ค.: ยูโรพุ่งเทียบดอลล์ ขานรับข่าวประมูลพันธบัตรสเปน-ไอร์แลนด์

ค่าเงินยูโรดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (17 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป หลังจากมีรายงานว่ารัฐบาลสเปนและไอร์แลนด์ประสบความสำเร็จในการประมูลพันธบัตร ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนและสกุลเงินอื่นๆ หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมถึงผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค.

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.42% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2877 ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.2823 ดอลลาร์ ส่วนเงินปอนด์ร่วงลง 0.57% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5572 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5662 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งแกร่งขึ้น 0.19% เมื่อเทียบกับเงินเยนระดับ 85.520 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 85.360 เยน และดีดตัวขึ้น 0.42% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0434 ฟรังค์ จากระดับ 1.0390 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.78% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9050 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันจันทร์ที่ 0.8980 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.65% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7121 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7075 ดอลลาร์สหรัฐ

นักลงทุนเริ่มคลายความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป หลังจากมีรายงานว่ารัฐบาลไอร์แลนด์และสเปนประสบความสำเร็จในการประมูลพันธบัตร

อย่างไรก็ตาม ค่าเงินยูโรถูกกดดันในระหว่างวัน หลังจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเยอรมนีประจำเดือนส.ค. ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือน เนื่องจากความกังวลที่ว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเยอรมนีที่ต้องพึ่งพาการส่งเป็นหลัก

ค่าเงินดอลลาร์ดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนและสกุลเงินอื่นๆ หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ รวมถึงผลผลิตในโรงงาน เหมืองแร่ และผลผลิตด้านสาธารณูปโภค ขยายตัวขึ้น 1.0% ในเดือนก.ค. ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาคการผลิตยังคงเป็นปัจจัยหลักในการหนุนเศรษฐกิจสหรัฐให้ฟื้นตัวขึ้น

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการสร้างบ้านใหม่เดือนก.ค.ขยายตัวขึ้น 1.7% สู่ระดับ 546,000 ยูนิตต่อปี โดยตัวเลขการสร้างบ้านในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐ ขยายตัวขึ้น 30.5% ขณะที่เขตมิดเวสต์ขยายตัวขึ้น 10.7% นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (พีพีไอ) เดือนก.ค.เพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้

สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นดัชนีหลักที่ใช้วัดภาวะเงินเฟ้อ ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน มาอยู่ที่ 3.1% ในเดือนก.ค. จากระดับ 3.2% ในเดือนมิ.ย. แต่ยังสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ระดับ 2% ของธนาคารกลางอังกฤษ

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนก.ค.

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Weekly Technology Report

The Week Ahead 16 - 20th Aug

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 16 ส.ค.

Pivot: 1.2830

คำแนะนำ : Short positions ที่ระดับต่ำกว่า 1.2830 targets @ 1.273 & 1.2665

หากราคาผ่านเหนือ 1.2830 เป้าหมายด้านบนคือ 1.2900 & 1.2935

ข้อสังเกต : ราคาผ่านทะลุแนว bearish flag lower boundary และคาดว่าจะอ่อนค่าลงอีก

Key levels
1.2935
1.2900
1.2830
1.2750 last
1.2730
1.2665
1.2625

Technical Analysis for Week 16 - 20 Aug

EUR/USD trend: sell.
GBP/USD trend: buy.
USD/JPY trend: buy.
EUR/JPY trend: sell.
GBP/JPY trend: buy.

Floor Pivot Points
Pair3rd Sup2nd Sup1st SupPivot1st Res2nd Res3rd Res
EUR/USD1.20101.23811.25661.29371.31221.34931.3678
GBP/USD1.50051.52821.54371.57141.58691.61461.6301
USD/JPY83.5884.1585.2285.7986.8687.4388.50
EUR/JPY103.49106.36108.19111.06112.89115.76117.59
GBP/JPY128.32130.55132.54134.77136.76138.99140.98


Fibonacci Retracement Levels
PairsEUR/USDGBP/USDUSD/JPYEUR/JPYGBP/JPY
100.0%1.33071.599286.37113.92137.01
61.8%1.30951.582785.74112.12135.40
50.0%1.30291.577685.55111.57134.90
38.2%1.29631.572585.36111.02134.40
23.6%1.28821.566285.12110.33133.79
0.0%1.27511.556084.73109.22132.79