วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก 30 ตค.: ดาวโจนส์ปิดร่วง 249.85 จุด เหตุนลท.ยังห่วงเรื่องการฟื้นตัวของศก.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ (30 ต.ค.) เนื่องจากเกิดกระแสความวิตกเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจขึ้นมาอีกครั้ง หลังการใช้จ่ายผู้บริโภคสหรัฐซบเซา ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นและหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยมากกว่าอย่างเงินดอลลาร์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วง 249.85 จุด หรือ 2.5% ปิดที่ 9,712.73 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ลดลง 29.92 จุด หรือ 2.8% ปิดที่ 1,036.19 จุด และ ดัชนี Nasdaq ร่วง 52.44 จุด หรือ 2.5% ปิดที่ 2,045.11 จุด
โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่าการใช้จ่ายรายบุคคลหดตัวลง 0.5% ในเดือนกันยายน ซึ่งถือว่าลดลงมากสุดในรอบ 9 เดือน หลังจากที่มีการขยายตัวกว่า 1.3% ในเดือนสิงหาคมโดยได้รับแรงหนุนจากมาตรการรถเก่าแลกซื้อรถใหม่ของรัฐบาลสหรัฐ
ด้านตัวเลขรายได้ส่วนบุคคลซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการใช้จ่ายในอนาคตก็แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเดือนกันยายนเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ก็ร่วงลงแตะ 70.6 จุดในเดือนตุลาคม จาก 73.5 จุดในเดือนกันยายน ซึ่งก็เป็นไปตามคาด
"ตราบใดที่ตลาดแรงงานยังไม่ดีขึ้น รายได้และการใช้จ่ายผู้บริโภคก็จะไม่สามารถขยายตัวได้อย่างเต็มที่" เคิร์ท คาร์ล นักเศรษฐศาสตร์ กล่าว
ตลาดหุ้นหลายแห่งปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หากยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานจะดีขึ้นและผู้บริโภครู้สึกดีกับการใช้จ่ายมากขึ้น ตลาดหุ้นก็คงปรับตัวสูงขึ้นได้ลำบาก
ขณะเดียวกันการซื้อขายในตลาดหุ้นมีแนวโน้มผันผวนในช่วงหลายสัปดาห์ต่อจากนี้ เนื่องจากจะมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจออกมาอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงตัวเลขภาคการผลิตและบริการของสถาบันจัดการอุปทาน (ISM), รายงานยอดขายจากกลุ่มบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ และตัวเลขจ้างงานเดือนตุลาคมของกระทรวงแรงงาน ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของเดือนนี้ นอกจากนั้นธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังมีกำหนดจัดการประชุมนโยบายเป็นเวลา 2 วันเริ่มตั้งแต่วันอังคารหน้าด้วย
ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มธนาคารเป็นกลุ่มที่ร่วงหนักสุด เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับอนาคตของ ซีไอที กรุ๊ป อิงค์ โดยคาร์ล ไอคาห์น มหาเศรษฐีนักลงทุนและผู้ถือพันธบัตร เห็นด้วยกับแผนปฏิรูปโครงสร้างองค์กรและให้เงินสนับสนุน 1 พันล้านดอลลาร์ แต่นักลงทุนก็ยังวิตกว่าบริษัทอาจต้องขอความคุ้มครองจากการล้มละลาย ส่งผลให้หุ้นบริษัทร่วงถึง 24%

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

World Markets 30 ตค.: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเกือบ 200 จุดเมื่อคืนนี้ (29 ต.ค.) และทำสถิติพุ่งขึ้นแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 3 เดือนเนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นอย่างคึกคักหลังจากสหรัฐเปิดเผยว่าเศรษฐกิจไตรมาส 3 ขยายตัวรวดเร็วเกินคาด

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์พุ่งขึ้น 199.89 จุด หรือ 2.05% ปิดที่ 9,962.58 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 23.48 จุด หรือ 2.25% ปิดที่ 1,066.11 จุด และ ดัชนี Nasdaq ดีดขึ้น 37.94 จุด หรือ 1.84% ปิดที่ 2,097.55 จุด

-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นกว่า 2 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (29 ต.ค.) โดยสัญญาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นเหนือระดับ 80 ดอลลาร์/บาร์เรลในระหว่างวัน หลังจากสหรัฐเปิดเผยเศรษฐกิจไตรมาส 3 ขยายตัวรวดเร็วเกินคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนเชื่อว่าเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วจะช่วยหนุนดีมานด์พลังงานให้แข็งแกร่งขึ้นด้วย แม้ทางการสหรัฐรายงานว่าสต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้นก็ตาม
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 2.41 ดอลลาร์ ปิดที่ 79.87 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในระหว่างวันที่ 80.46 ดอลลาร์

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแข็งแกร่งสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ (29 ต.ค.) เนื่องจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ที่ขยายตัวเกินคาดทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงอย่างหนัก ซึ่งกระตุ้นนักลงทุนให้เข้าซื้อสัญญาทองคำอย่างหนาแน่นเพราะเชื่อว่าเป็นแหล่งการลงทุนในปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 1,047.10 ดอลลาร์/ออนซ์ พุ่งขึ้น 16.60 ดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,026.90-1,048.40 ดอลลาร์

-- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐรร่วงลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร เงินปอนด์ และสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (29 ต.ค.) เนื่องจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ของสหรัฐที่ขยายตัวเกินคาดทำให้นักลงทุนลดการถือครองดอลลาร์สหรัฐและหันเข้าซื้อสกุลเงินที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่า นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นแข็งแกร่งของตลาดหุ้นนิวยอร์กยังทำให้นักลงทุนให้ความสนใจเทรดค่าเงินดอลลาร์น้อยลงด้วย
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดิ่งลง 0.82% เมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.4829 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 1.4709 ยูโร/ดอลลาร์ และร่วงลง 0.76% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0185 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0263 ฟรังค์/ดอลลาร์

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (29 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ของสหรัฐที่ขยายตัวเกินคาด
ดัชนี FTSE 100 ดีดขึ้น 57.30 จุด ปิดที่ 5,137.72 จุด หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 5,042.66-5,145.58 จุด

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

World Markets 29 ตค.: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (28 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นหลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่ที่ร่วงลงสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และโกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจประจำไตรมาส 3 ของสหรัฐ ซึ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 119.48 จุด หรือ 1.21% ปิดที่ 9,762.69 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ดิ่งลง 20.78 จุด หรือ 1.95% ปิดที่ 1,042.63 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 56.48 จุด หรือ 2.67% ปิดที่ 2,059.61 จุด

-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 2 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (28 ต.ค.) หลังจากกระทรวงพลังงานสหรัฐเปิดเผยว่าสต็อกน้ำมันเบนซินในรอบสัปดาห์ที่แล้วพุ่งขึ้นสวนทางกับการคาดการณ์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลว่าดีมานด์พลังงานในสหรัฐจะยังไม่ฟื้นตัวขึ้นในระยะใกล้นี้ นอกจากนี้ นักลงทุนยังเทขายสัญญาน้ำมันดิบหลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่ที่ร่วงลงเหนือความคาดหมาย
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 2.09 ดอลลาร์ หรือ 2.63% ปิดที่ 77.46 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 77.23-79.83 ดอลลาร์

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอีกเมื่อคืนนี้ (28 ต.ค.) เนื่องจากสกุลเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นทำให้นักลงทุนลดความต้องการถือครองสัญญาทองคำ
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 1,030.50 ดอลลาร์/ออนซ์ ดิ่งลง 4.90 ดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,042.60-1,027.10 ดอลลาร์

-- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินหลักๆของโลก ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (28 ต.ค.) เนื่องจากยอดขายบ้านใหม่ที่ร่วงลงเหนือความคาดหมายของสหรัฐทำให้นักลงทุนมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงผันผวนและเปราะบาง จึงแห่ถือครองสกุลเงินดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.66% เมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.4710 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 1.4808 ยูโร/ดอลลาร์ และพุ่งขึ้น 0.51% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0268 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0216 ฟรังค์/ดอลลาร์
นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์ดีดตัวขึ้น 0.02% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ 1.6375 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 1.6379 ปอนด์/ดอลลาร์ แต่ดิ่งลง 1.10% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 90.780 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 91.790 เยน/ดอลลาร์

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (28 ต.ค.) ซึ่งเป็นสถิติที่ร่วงลงหนักสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค.เป็นต้นมา เนื่องจากนักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มพลังงานหลังจากบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่อย่างบีจี และบีพี รายงานผลประกอบการร่วงลงอย่างหนัก นอกจากนี้ ตลาดหุ้นลอนดอนยังได้รับปัจจัยลบจากยอดขายบ้านใหม่เดือนก.ย.ของสหรัฐที่ร่วงลงสวนทางกับการคาดการณ์
ดัชนี FTSE 100 ร่วงลง 120.55 จุด ปิดที่ 5,080.42 จุด

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

World Markets 28 ตค.: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (27 ต.ค.) หลังจากบริษัท อินเตอร์เนชันแนล บิสิเนส แมชีนส์ คอร์ป (ไอบีเอ็ม) ปรับเพิ่มแผนการซื้อหุ้น และสหรัฐเปิดเผยราคาบ้านที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม แรงบวกในตลาดถูกสกัดลงหลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคร่วงลง ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดลบหลังจากบริษัท ไป่ตู้ อิงค์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจิ้นรายใหญ่ที่สุดของจีนคาดการณ์ยอดขายที่น้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 14.21 จุด หรือ 0.14% แตะที่ 9,882.17 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 3.54 จุด หรือ 0.33% แตะที่ 1,063.41 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 25.76 จุด หรือ 1.20% แตะที่ 2,116.09 จุด

-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (27 ต.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยราคาบ้านดีดตัวขึ้นในเดือนส.ค. ซึ่งทำให้นักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวกว่าเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นจะช่วยหนุนดีมานด์พลังงานเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐในวันพุธนี้
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 87 เซนต์ ปิดที่ 79.55 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 77.81-79.78 ดอลลาร์

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (27 ต.ค.) ซึ่งเป็นการร่วงลงติดต่อกัน 4 วัน เนื่องจากความกังวลที่ว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่า ซึ่งจะทำให้นักลงทุนชะลอการซื้อสัญญาสินค้าโภคภัณฑ์
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ทองเดือนธ.ค.ปิดที่ 1,035.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 7.40 ดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,044.30-1,032.90 ดอลลาร์

-- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (27 ต.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ร่วงลงอย่างหนัก ซึ่งทำให้นักลงทุนเข้าถือครองดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในยามที่เศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะเปราะบาง
ค่าเงินดอลลาร์พุ่งขึ้น 0.50% เมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.4795 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.4869 ยูโร/ดอลลาร์ แตะอ่อนตัวลง 0.46% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 91.780 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 92.200 เยน/ดอลลาร์
นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.38% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0222 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.0183 ฟรังค์/ดอลลาร์ แต่ร่วงลง 0.31% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ 1.6375 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6324 ปอนด์/ดอลลาร์

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกในวันนี้ ขานรับผลประกอบการที่ดีเกินคาดของบริษัทบีพี และหลังจากอังกฤษเปิดเผยยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งในเดือนต.ค. อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเพียงเล็กน้อยเนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐที่ร่วงลงอย่างหนัก
ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 9.23 จุด ปิดที่ 5,200.97 จุด หลังจากเคลื่อนตัว ในช่วง 5,181.91-5,230.57 จุด

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก 26 ตค. : แรงขายหุ้นพลังงานฉุดดาวโจนส์ปิดร่วง 104.22 จุด

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (26 ต.ค.) เนื่องจากการพุ่งขึ้นของสกุลเงินดอลลาร์ได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงอย่างหนัก ขณะที่หุ้นกลุ่มก่อสร้างบ้านและกลุ่มการเงินดิ่งลงหลังจากมีข่าวว่ารัฐบาลสหรัฐอาจชะลอโครงการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้าน

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ดิ่งลง 104.22 จุด หรือ 1.05% ปิดที่ 9,867.96 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ร่วงลง 12.65 จุด หรือ 1.17% ปิดที่ 1,066.95 จุด และดัชนี Nasdaq ร่วงลง 12.62 จุด หรือ 0.59% ปิดที่ 2,141.85 จุด
ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 1.39 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 ส่วนปริมาณการซื้อขายในตลาด Nasdaq มีอยู่ราว 2.34 พันล้านหุ้น
ริชาร์ด รอส นักวิเคราะห์จากบริษัท ออร์บาช เกรย์สัน ในนิวยอร์ก กล่าวกับเอพีว่า หุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลง รวมถึงหุ้นโคโนโคฟิลิปส์ หลังจากราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ร่วงลง 1.82 ดอลลาร์ แตะที่ 78.68 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นผลมาจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและเยน
หุ้นกลุ่มการเงินดิ่งลงหลังจากนายดิค โบฟ นักวิเคราะห์ชื่อดังในแวดวงการเงินปรับลดน้ำหนักความน่าลงทนุของหุ้นธนาคาร รวมถึงหุ้นฟิธเติร์ด แบงคอร์ป ที่ร่วงลง 7.9% หุ้นซันทรัสต์แบงค์ ดิ่งลง 5.4% และหุ้นยูเอสแบงคอร์ป ร่วงลง 7.9%
นอกจากนี้หุ้นกลุ่มการเงินถูกเทขายหลังจากมีข่าวว่า บริษัท แคพมาร์ค ไฟแนนเชียล กรุ๊ป อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทไฟแนนซ์ในเครือของโกลด์แมน แซคส์ และ เคเคอาร์ แอนด์ โค ยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์สินจากศาลล้มละลาย หลังจากขาดทุนไตรมาส 2 สูงถึง 1.6 พันล้านดอลลาร์
แคพมาร์ค ไฟแนนเชียล เป็นหนึ่งใน 43 บริษัทที่ยื่นหนังสือต่อศาลล้มละลายในรัฐเดลาแวร์ของสหรัฐ ตามกฎหมายมาตรา 11 แห่งราชอาณาจักรสหรัฐอเมริกา โดยแคพมาร์ค ไฟแนนเชียล ระบุในรายงานว่า ณ วันที่ 30 มิ.ย.2552 บริษัทมีหนี้สิน 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ และทรัพย์สิน 2.01 หมื่นล้านดอลลาร์
ส่วนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดีดตัวขึ้นหลังจากบริษัท มาร์เวลล์ เทคโนโลยี ปรับเพิ่มคาดการณ์ผลประกอบการไตรมาส 3 ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยจำกัดการร่วงลงของดัชนี Nasdaq โดยหุ้นมาร์เวลล์ปิดพุ่ง 2.8% และหุ้นเรดิโอแชคปิดบวก 15.9%
แอนดรู สมิธเทอร์ส นักวิเคราะห์ชื่อดังของสหรัฐคาดการณ์ว่า ตลาดหุ้นนิวยอร์กมีแนวโน้มร่วงลงหลังจากธนาคารกลางในหลายประเทศชะลอการใช้มาตรการผ่อนปรนเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นเหตุให้ราคาสินทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น พร้อมกล่าวว่า ราคาหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์กอยู่ในระดับสูงกว่าราคาตลาดที่เป็นธรรม (fair market value) อยู่ราว 40%
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจทั่วประเทศเดือนก.ย.ที่เฟดจะเปิดเผยในวันจันทร์ รวมถึงราคาบ้านเดือนส.ค.ที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์เปิดเผยราคาบ้านเดือนส.ค.ในวันอังคาร และตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 3 ซึ่งจะเปิดเผยในวันพฤหัสบดีนี้

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 26 ตค.




Pivot: 1.4965

คำแนะนำ: Long positions ที่สูงกว่า 1.4965 targets @ 1.506 & 1.511 in extension

อีกสถานการณ์หนึ่ง : หากทะลุ 1.4965 จะไปที่เป้าหมาย 1.491 & 1.4882

หมายเหตุ : ราคายังอยู่ในกรอบ bullish channel และพยายามทดสอบแนวต้าน , RSI ยังชี้ไปทางขึ้น

Key levels
1.517
1.511
1.506
1.5036 last
1.4965
1.491
1.4882

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก 23 ตค.:ดาวโจนส์ปิดลบ 109.13 จุด จากแรงเทขายทำกำไร

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ (23 ต.ค.) จากนักแรงเทขายทำกำไรของนักลงทุน หลังจากที่ผ่านมาดัชนีพุ่งสูงขานรับผลประกอบการที่สดใสของภาคเอกชน ขณะที่สหภาพรถไฟยักษ์ใหญ่ของประเทศยังมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคตที่เกรงว่า การแข็งค่าของเงินดอลลาร์จะกดดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มวัตถุดิบและพลังงาน

ดัชนีดาวโจนส์เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 109.13 จุด หรือ 1.1% ปิดที่ 9,972.18 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ลดลง 13.31 จุด หรือ 1.2% ปิดที่ 1,079.60 จุด และดัชนี Nasdaq ทรุดตัว 10.82 จุด หรือ 0.5% แตะที่ 2,154.47 จุด โดยปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 1.3 พันล้านหุ้นเท่ากับระดับของวันพฤหัสบดี
การซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเริ่มชะลอความร้อนแรงลงหลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยพุ่งขึ้นจากปัจจัยหนุนของการรายงานผลประกอบการไตรมาส 3 จากบริษัทเอกชนที่แข็งแกร่งเกินคาด ขณะเดียวกันนักลงทุนไม่มีปฏิกิริยาต่อการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจในแง่บวกไม่ว่าจะเป็นรายงานยอดขายบ้านมือสองในเดือนก.ย.ที่พุ่งขึ้น 9.4% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 26 ปี รวมถึงการเปิดเผยผลประกอบการของอเมซอนดอทคอมที่พุ่งสูงเกินคาด
ดร.บ็อบ โฟรเอลิช นักวิเคราะห์จากบริษัทฮาร์ทฟอร์ด ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซสเผยว่า "นักลงทุนต่างพากันเทขายหุ้นเพื่อทำกำไรส่งท้ายปลายสัปดาห์ หลังจากที่ดัชนีพุ่งสูงขึ้นในก่อนหน้านี้ "
ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์บางสำนักยังไม่มั่นใจว่าการที่ตลาดหุ้นอ่อนตัวลงในวันนี้จะช่วยทำไห้ตลาดดีดตัวขึ้นได้อีกหรือไม่ในอนาคต และนักลงทุนยังมีความกังวลต่อแนวโน้มผลประกอบการที่เลวร้ายและผลกำไรที่ตกต่ำอย่างหนักจากบริษัทบรอดคอม คอร์ป นอกจากนี้ จิม ยัง ซีอีโอของสภาพการรถไฟคาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะยังชะลอตัวต่อไป จนกว่าตัวเลขอัตราว่างงานจะเริ่มลดลง
ด้านลินดา ดูเซล นักวิเคราะห์จากบริษัท Federated Investors มองว่าความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นที่ลดลงในวันนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่าวิตกกังวล เพราะที่ผ่านมาตลาดหุ้นขยายตัวขึ้นร้อนแรง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ตลาดจะต้องเข้าสู่ช่วงปรับฐาน
ทั้งนี้ หุ้นอเมซอนถีบตัว 26.8% หลังบริษัทเผยผลประกอบการไตรมาส 3 ที่ทะยานขึ้น 68% ส่วนหุ้นไมโครซอฟท์ขยายตัว 5.4%
ด้านหุ้นบรอดคอมตกลง 7.3% หลังบริษัทรายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ที่ลดลงครึ่งหนึ่งจากระดับในปีที่ผ่านมา


วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก 22 ตค: ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 131.95 จุด ขานรับผลประกอบการเอกชน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (22 ต.ค.) ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาดของสถาบันการเงินและบริษัทในสหรัฐ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยบดบังแรงลบที่เกิดจากตัวเลขจ้างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐที่พุ่งขึ้นเกินคาด นอกจากนี้ นักลงทุนยังขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของจีนด้วย
ดัชนีดาวโจนส์เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์พ่งขึ้น 131.95 จุด หรือ 1.3% ปิดที่ 10,081.31 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ดีดขึ้น 11.51 จุด หรือ 1.1% ปิดที่ 1,092.91 จุด และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 14.56 จุด หรือ 0.7% แตะที่ 2,165.29 จุด
ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 1.3 พันล้านหุ้น เมื่อเทียบกับวันพุธที่ 1.4 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นบวกเท่ากับหุ้นลบในอัตราส่วน 2 ต่อ 2
อดัม โกลด์ นักวิเคราะห์จากไดเร็กเซียน ฟันด์ ในนิวยอร์ก กล่าวกับเอพีว่า ในช่วงเช้านั้นตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ขอรับสวัสดิการในระหว่างว่างงานรอบสัปดาห์ที่แล้วพุ่งขึ้นแตะ 531,000 ราย สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ รวมทั้งราคาบ้านที่ปรับตัวลดลงเกินคาด
แต่ในช่วงสายตลาดเริ่มดีดตัวขึ้นขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งของสถาบันการเงินในสหรัฐ รวมถึงพีเอ็นซี ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กรุ๊ป และฟิธเติร์ด แบงคอร์ป รวมทั้งบริษัทอีกหลายแห่ง อาทิ แมคโดนัลด์, เอทีแอนด์ที, 3M และทราเวลเลอร์ส คอส
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐที่ปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 และตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ปีนี้ของจีนที่ขยายตัว 8.9% รวมทั้งบริษัท วอลมาร์ท สโตเรส ที่ปรับเพิ่มคาดการณ์ยอดขายว่าจะเพิ่มขึ้น 1-2% ในปีนี้ และ 4-6% ในปีหน้า และบริษัท เจ ครูว์ กรุ๊ป ที่ปรับเพิ่มคาดการร์ผลประกอบการเช่นกัน
นักลงทุนจับตาดูรายงานยอดขายบ้านมือสองประจำเดือนก.ย.ซึ่งสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติจะเปิดเผยในวันศุกร์ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่ายอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย.จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 5.35 ล้านยูนิต
ทั้งนี้ หุ้นวอลมาร์ทปิดลบ 15 เซนต์ แตะที่ 50.48 ดอลลาร์ หุ้นเจ ครูว์ ปิดพุ่ง 15.2% หุ้นอีเบย์ดิ่งลง 4.2% หลังจากอีเบย์เปิดเผยรายได้สุทธิไตรมาส 3 ดิ่งลง 29% แตะที่ 349.7 ล้านดอลลาร์ หรือ 27 เซนต์/หุ้น จากระดับ 492.2 ล้านดอลลาร์ หรือ 38 เซนต์/หุ้นในปีก่อนหน้านี้
หุ้นพีเอ็นซี ไฟแนนเชียล ทะยานขึ้น 12.7% หุ้นฟิธ์เติร์ด แบงคอร์ป ดีดขึ้น 6.8% หุ้น 3M พุ่งขึ้น 3.2% หุ้นเอทีแอนด์ที ปิดบวก 0.6% และหุ้นแมคโดนัลด์ปิดบวก 2%

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

World Markets 20 ตค.: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเท

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (20 ต.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขสร้างบ้านที่เพิ่มขึ้นน้อยเกินคาด อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการที่สูงเหนือความคาดหมายของบริษัทหลายแห่งได้ช่วยพยุงตลาดไว้ไม่ให้ร่วงลงมากนัก ขณะที่นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงยอดขายบ้านมือสองประจำเดือนก.ย.
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 50.71 จุด หรือ 0.50% ปิดที่ 10,041.48 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ลดลง 6.85 จุด หรือ 0.62% ปิดที่ 1,091.06 จุด และดัชนี Nasdaq ปรับตัวลง 12.85 จุด หรือ 0.59% ปิดที่ 2,163.47 จุด

-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (20 ต.ค.) หลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) แสดงความคิดเห็นว่าน้ำมันดิบอาจไม่ดีดขึ้นมายืนเหนือระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรลในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากซัพพลายในตลาดมีมากพอ นอกจากนี้ การที่สกุลเงินดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร นับเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดสัญญาน้ำมันร่วงลงด้วย
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนพ.ย.ร่วงลง 52 เซนต์ ปิดที่ 79.09 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 79.35-78.40 ดอลลาร์

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (20 ต.ค.) ซึ่งเป็นการปิดบวกติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะร่วงลงอีก ซึ่งช่วยกระตุ้นนักลงทุนให้เข้าซื้อสัญญาโลหะมีค่า รวมถึงทองคำ เพราะเชื่อว่าเป็นการลงทุนที่ปลอดความเสี่ยง
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 1,058.60 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 50 เซนต์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,052.60-1,069.00 ดอลลาร์

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินเยน ปอนด์ และฟรังค์ อีกทั้งดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปีเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (20 ต.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขสร้างบ้านที่เพิ่มขึ้นน้อยเกินคาดและตลาดหุ้นสหรัฐอ่อนตัวลง ซึ่งกระตุ้นนักลงทุนให้เข้าถือครองดอลลาร์และชะลอการเข้าซื้อสกุลเงินที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่า
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้น 0.15% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 90.720 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 90.580 เยน/ดอลลาร์ แต่อ่อนตัวลง 0.20% เมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรที่ 1.4933 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับ 1.4963 ยูโร/ดอลลาร์
นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังขยับขึ้น 0.10% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0121 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.0111 ฟรังค์/ดอลลาร์ และพุ่งขึ้น 0.26% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ 1.6366 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.6408 ปอนด์/ดอลลาร์
ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.58% แตะที่ 0.9230 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับ 0.9284 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 1% แตะที่ 0.7487 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7563 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (20 ต.ค.) หลังจากมีรายงานว่ากาตาร์ โฮลดิ้ง แอลแอลซี กองทุนเพื่อความมั่งคั่งของรัฐบาลกาตาร์เตรียมขายหุ้นในธนาคารบาร์เคลย์ส พีแอลซี ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่อันดับ 2 ของอังกฤษ
ดัชนี FTSE 100 ลดลง 38.14 จุด ปิดที่ 5,243.40 จุด หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 5,243.40-5,298.54 จุด

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก 19 ตค: ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 96.28 จุด ขานรับผลประกอบการเอกชน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีเมื่อคืนนี้ (19 ต.ค.) ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทสหรัฐ รวมถึงบริษัท แกนเน็ทท์ โค อิงค์ และเท็กซัส อินสตรูเมนต์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวรวดเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้
เบิร์ท ไวท์ หัวหน้านักวิเคราะห์จากบริษัท แอลพีแอล ไฟแนนเชียล ในเมืองบอสตัน กล่าวกับเอพีว่า ผลประกอบการที่ดีเกินคาดของบริษัทหลายแห่งในสหรัฐช่วยให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจมากขึ้น และช่วยหนุนดัชนีดาวโจนส์ทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี
บริษัทแกนเน็ทท์ โค อิงค์ ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์รายใหญ่ในสหรัฐรายงานผลประกอบการที่สูงเกินคาดและปรับเพิ่มคาดการณ์ผลประกอบการตลอดปี 2552 ขณะที่บริษัทเท็กซัส อินสตรูเมนต์เปิดเผยผลกำไรรายไตรมาสและรายได้ที่สูงเกินคาดด้วยเช่นกัน อันเป็นผลจากยอดขายชิพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหนุนราคาหุ้นเท็กซัส อินสตรูเมนท์พุ่งขึ้น 2% ขณะที่หุ้นแคทเทอร์พิลลาร์ปิดบวกหลังจากนักวิเคราะห์ปรับเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นดังกล่าว และหุ้นแอปเปิลพุ่งขึ้น 7% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่สูงเกินคาด
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับทิศทางของตลาดอสังหาริมทรัพย์หลังจากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) เปิดเผยว่าดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยของ NAHB/เวลส์ ฟาร์โก ลดลงสู่ระดับ 18 จุดในเดือนต.ค.จากระดับ 19 จุด ในเดือนก.ย. ต่ำกว่าระดับที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ 20 ในเดือนต.ค.
นักลงทุนจับตาดูรายงานผลประกอบการของบริษัท โคคา-โคลา, แคทเทอร์พิลลาร์ และดูปองท์ ในวันอังคาร อีกทั้งจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญๆของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันพุธ เฟดจะเปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจหรือ Beige Book และกระทรวงพลังงานจะเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ ส่วนวันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, สำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ดจะเปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนก.ย. และวันศุกร์ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติจะรายงานยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย.
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ยอดขายบ้านมือสองประจำเดือนก.ย.ของสหรัฐจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 5.35 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี ขณะเดียวกันคาดว่าตัวเลขการอนุญาตสร้างบ้านเดือนก.ย.จะเพิ่มขึ้นแตะ 590,000 ยูนิตต่อปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี และคาดว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐจะเพิ่มขึ้น 0.9%

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552

World Markets 15 ตค.: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.) เนื่องจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบช่วยกระตุ้นแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งช่วยพยุงดาวโจนส์ให้ปิดแตะระดับสูงสุดในรอบปี 2552 และช่วยลดแรงลบที่เกิดจากคำสั่งขายในหุ้นกลุ่มธนาคาร ซึ่งเป็นผลมาจากการที่นักลงทุนผิดหวังต่อผลประกอบการของโกลด์แมน แซคส์ และซิตี้กรุ๊ป

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 47.08 จุด หรือ 0.47% ปิดที่ 10,062.94 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 4.54 จุด หรือ 0.42% ปิดที่ 1,096.56 จุด และดัชนี Nasdaq ขยับขึ้น 1.06 จุด หรือ 0.05% ปิดที่ 2,173.29 จุด

-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบปีเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.) หลังจากสหรัฐเผยสต็อกน้ำมันเบนซินร่วงลงเหนือความคาดหมาย ซึ่งทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นกำลังหนุนดีมานด์พลังงานให้สูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนพ.ย.พุ่งขึ้น 2.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 77.58 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 77.58-75.30 ดอลลาร์/บาร์เรล

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงหนักสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำทะยานขึ้นติดต่อกันหลายวัน
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 1,050.60 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 14.10 ดอลลาร์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,047.40-1,066.80 ดอลลาร์

-- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร แต่พุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับสกุลเงินเยนและฟรังค์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.) เนื่องจากผลประกอบการที่น่าผิดหวังของโกลด์แมน แซคส์ และซิตี้ ทำให้นักลงทุนจำนวนมากปลีกตัวออกจากตลาดหุ้นและหันเข้าซื้อดอลลาร์
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐขยับลง 0.05% เมื่อเทียบยูโรที่ระดับ 1.4932 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 1.4924 ยูโร/ดอลลาร์ แต่พุ่งขึ้น 1.32% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 90.600 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 89.420 เยน/ดอลลาร์

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.) จากแรงขายที่ส่งเข้าฉุดหุ้นกลุ่มธนาคาร เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อผลประกอบการของโกลด์แมน แซคส์ และซิตี้กรุ๊ป นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลงหลังจากบริษัท เอ็กสตราต้า พีแอลซี ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองรายใหญ่ของยุโรป ยืนยันว่าจะไม่เข้าซื้อกิจการของบริษัท แองโกล อเมริกา พีแอลซี ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองคู่แข่ง
ดัชนี FTSE 100 ร่วงลง 33.15 จุด หรือ 0.63% ปิดที่ 5,222.95 จุด หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 5,218.92-5,267.90 จุด

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก 14 ตค.: ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 144.80 จุด ขานรับผลประกอบการเจพีมอร์แกน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเหนือระดับ 10,000 จุดเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปีเมื่อคืนนี้ (14 ต.ค.) หลังจากเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และอินเทล คอร์ป เปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นอย่างคึกคักเพราะมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจมากขึ้น

ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กคึกคักขึ้นหลังจากเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ธนาคารรายใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐเมื่อพิจารณาจากสินทรัพย์ เปิดเผยกำไรไตรมาส 3 พุ่งขึ้น 6.8 เท่า ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ เนื่องจากรายได้จากตราสารหนี้ทะยานขึ้น
โดยกำไรไตรมาส 3 ของเจพีมอร์แกนปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 3.59 พันล้านดอลลาร์ หรือ 82 เซนต์ต่อหุ้น จากระดับ 527 ล้านดอลลาร์ หรือ 9 เซนต์ต่อหุ้นในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์โพลล์บลูมเบิร์กคาดว่ากำไรจะอยู่ที่ 51 เซนต์ต่อหุ้น
เจพีมอร์แกนเป็นธนาคารใหญ่รายแรกของสหรัฐที่รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ขณะที่โกลด์แมน แซคส์ มีกำหนดการเปิดเผยผลประกอบการในวันพรุ่งนี้ ซึ่งคาดว่ากำไรอาจสูงเกือบ 3 เท่าแตะ 2.4 พันล้านดอลลาร์ ส่วนซิตี้กรุ๊ป ซึ่งมีกำหนดที่จะรายงานผลประกอบการวันพรุ่งนี้เช่นกัน อาจขาดทุนถึง 2.55 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจะนับเป็นไตรมาสที่ 6 ในรอบ 8 ไตรมาสที่ซิตี้กรุ๊ปไม่สามารถทำกำไรได้
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงหนุนจากบริษัท อินเทล คอร์ป ผู้ผลิตชิปรายใหญ่สุดของโลกที่รายงานว่า กำไรสุทธิในช่วงไตรมาสสามอยู่ที่ 1.9 พันล้านดอลลาร์ หรือ 33 เซนต์/หุ้น เทียบกับปีก่อนนี้ที่ 2.01 พันล้านดอลลาร์ หรือ 35 เซนต์/หุ้น แต่ดีกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ 28 เซนต์/หุ้น
ฟิล ออร์แลนโด นักวิเคราะห์จากบริษัท Federated Investors Inc ในนิวยอร์กกล่าวว่า "ผลประกอบการที่แข็งแกร่งของเจพีมอร์แกน และอินเทล เป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนดัชนีดาวโจนส์ทะยานขึ้นเหนือระดับ 10,000 จุดได้เป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี ผลประกอบการที่ดีเกินคาดของอินเทลทำให้เกิดความคาดหวังว่าอุตสาหกรรมชิพคอมพิวเตอร์จะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง และผลประกอบการที่สดใสของเจพีมอร์แกน ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อว่าปัญหาในภาคการเงินของสหรัฐกำลังจะสิ้นสุดลง"

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก 13 ตค.: วิตกผลประกอบการเอกชน ฉุดดาวโจนส์ปิดลบ 14.74 จุด

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (13 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มผลประกอบการของภาคเอกชน หลังจากบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เปิดเผยรายได้ที่น้อยเกินคาด นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มธนาคารถูกเทขายหลังจากนักวิเคราะห์ชื่อดังได้ปรับลดน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นโกลด์แมน แซคส์

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 14.74 จุด หรือ 0.15% แตะที่ 9,871.06 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 3.00 จุด หรือ 0.28% แตะที่ 1,073.19 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดบวก 0.75 จุด หรือ 0.04% แตะที่ 2,139.89 จุด
ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 1.14 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วน 17 ต่อ 13 ส่วนปริมาณการซื้อขายในตลาด Nasdaq มีอยู่ราว 2.07 พันล้านหุ้น
เจอร์รี่ เว็บแมน หัวหน้านักวิเคราะห์จาก OppenheimerFunds Inc กล่าวกับเอพีว่า ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กซบเซาลงหลังจากบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน มียอดขายลดลง 5.3% และมีกำไรในไตรมาส 3 ราว 3.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งข่าวดังกล่าวฉุดหุ้นกลุ่มสุขภาพดิ่งลงด้วย
หุ้นกลุ่มธนาคารถูกเทขายอย่างหนักหลังจากนางเมเรดิธ วิทนีย์ นักวิเคราะห์ชื่อดังในแวดวงธนาคารได้ปรับน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นโกลด์แมน แซคส์ ลงสู่ระดับ "neutra" จากเดิมที่ระดับ "buy" โดยในช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้นโกลด์แมน แซคส์ ทะยานขึ้นถึง 34% นับตั้งแต่นางวิทธีย์แนะนำให้นักลงทุนซื้อหุ้นโกลด์แมน แซคส์
นักลงทุนจับตาดูบริษัทยักษ์ใหญ่ที่จะรายงานผลประกอบการในสัปดาห์นี้ รวมถึงบริษัท อินเทล คอร์ป,ไอบีเอ็ม, เจนเนอรัล อิเล็กทริก, เจพีมอร์แกน, โกลด์แมน แซคส์, ซิตี้กรุ๊ป และแบงค์ออฟอเมริกา
ทั้งนี้ หุ้นโกลด์แมน แซคส์ ปิดร่วง 1.5% ส่วนหุ้นจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ปิดลบ 2.4%
นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจซึ่งทางการสหรัฐจะเปิดเผยในสัปดาห์นี้ วันพุธ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.ย., มีการเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนก.ย.และตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนส.ค. และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 22-23 ก.ย.
ส่วนวันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ย., เฟดสาขานิวยอร์คเปิดเผยผลสำรวจภาคการผลิต (Empire State Index) เดือนต.ค.,กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และวันศุกร์ กระทรวงการคลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติเดือนส.ค.,เฟดเปิดเผยตัวเลขการผลิตทางอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิตเดือนก.ย. และมหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นขั้นต้นเดือนต.ค.

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หลักการวิเคราะห์ข่าว กับตลาด Forex

ใช้ดูประกอบกับข่าวในเวบ www.forexfactory.com

Actual : คือ ตัวเลขที่ประกาศจริง

Forecast : คือ ตัวเลขที่ประมาณการไว้

Previous : คือ ตัวเลขที่เคยประกาศครั้งก่อน

Retail Sales y/y : ถ้าตัวเลขออกมา ต่ำกว่า ครั้งก่อน จะทำให้ค่าเงินอ่อน

Trade Balance
โดยปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

Gross Domestic Product หรือ GDP
จะประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

Personal Consumption Expenditure หรือ (PCE)
ประกาศทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Consumer Price Index หรือ CPI ( ดัชนีราคาผู้บริโภค )
ประกาศทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

Treasury International Capital System หรือ TICS
ประกาศทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Federal Open Market Committee หรือ FOMC
จะประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Retail Sales
ประกาศทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

University of Michigan Consumer Sentiment Index
ออกทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และ สิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Producer Price Index หรือ PPI
ประกาศแถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

PPI q/q : ถ้าตัวเลขลดลงกว่าครั้งก่อนจะทำให้ค่าเงินอ่อนลง

Rightmove House Price Index m/m : ถ้าตัวเลขเพิ่มขึ้นทำให้

ค่าเงินอ่อน

การวิเคราะห์ ดัชนี Down jones กับ ตลาด Forex ถ้า Down jones ปิดบวก ค่าเงินเยนจะอ่อน ถ้า Down Jones ปิดลบ ค่าเงินเยน จะแข็ง

กลุ่มสำคัญ

Initial Weekly Jobless Claims
ประกาศทุกวันพฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

Personal Income
ประกาศแถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Personal Spending
ประกาศแถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Europe Central Bank (ECB), Bank Of England (BOE), Bank Of Japan (BOJ)
การประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ
-
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป)
-
อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด

ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany, Netherlands, Denmark, Ireland, United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden, Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland, Slovakia และ Slovenia

Durable Goods Orders
ประกาศแถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Institute of Supply Management หรือ ISM
ออกทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้

Philadelphia Fed Survey
ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น

ISM Service Index หรือ Non-Manufacturing ISM
ออกราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Factory Orders
ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Industrial Production
ออกราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Non-Farm Productivity
ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Current Account Balance
ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Consumer Confidence
ออกทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า

NY Empire State Index
ออกทุกสิ้นเดือน โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า

Leading Indicators
ออกราว ๆ สองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim, Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices

Business Inventories
ออกราว ๆ กลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า

IFO Business Indexes
ประกาศในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Existing Home Sales ยอดขายบ้านมือสองของอเมริกา

Unemployment Cliams เป็นตัวเลขการว่างงานรายสัปดาห์ของอเมริกา ถ้าตัวเลขเพิ่มขึ้นทำให้ค่าเงินอ่อน ถ้าตัวเลข ลดลงทำให้ค่าเงินแข็ง(บางกรณีผลจะกลับกันคือเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินดอลแข็งเนื่องจากนักลงทุนจะถือเงินดอลเพื่อเป็นสกุลเงินที่ปลอดภัย)

โดยปกติราคาทองคำจะขึ้นอยู่กับ

1. อัตราแลกเปลี่ยนของ USD
2.
ราคาน้ำมัน
3.
ราคาของโลหะพื้นฐาน และ โลหะอื่น พวก ทองแดง เงิน แพตตินั่ม พาลาเดียม
4.
อื่น ๆ

คราวนี้ตัวเลขที่ประกาศจะกระทบกับ 2 อย่างตรง ๆ คือ อัตราแลกเปลี่ยน กับ ราคาน้ำมัน


แล้ว 2 ตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกับราคาทองคำอย่างไร?

1.
อัตราแลกเปลี่ยน โดยปกติ ถ้าไม่มีข่าวอย่างอื่น (หมายถึงพวกข่าวก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ ฯลฯ) ที่มีน้ำหนักมากกว่า อัตราแลกเปลี่ยนก็จะมีผลตรง ๆ โดยไม่มีอย่างอื่นมาทำให้ราคาเพี้ยนไปจากเดิม โดยปกติแล้ว ทองคำจะขึ้นเมื่อ USD อ่อนค่า และ ทองคำจะลง เมื่อ USD แข็งค่า
แล้วคำที่ว่าอ่อนค่า กับ แข็งค่าเทียบกับสกุลไหนบ้าง โดยปกติแล้วจะดูที่ 2 สกุลใหญ่ ชื่อ JPY และ EUR หากสองสกุลนี้ไปในทิศทางเดียวกัน ก็แสดงว่า USD อ่อน หรือ แข็งจริง ๆ

2.
ราคาน้ำมัน จะเป็นตัวช่วยดัน หรือ ฉุด ราคาทองคำในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน