วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

ราคาทองคำร่วง 30 มี.ค. นักลงทุนชะลอการซื้อเพราะเห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลง เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและราคาบ้านที่สูงขึ้นของสหรัฐฯบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขึ้น จึงทำให้นักลงทุนชะลอการซื้อทองคำ
สำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด รายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.พุ่งขึ้นแตะระดับ 52.5 จุด จากเดือนก.พ.ที่ระดับ 46.4 จุด มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 50 จุด ขณะที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และ เคส ชิลเลอร์ ที่ระบุว่า ราคาบ้านใน 20 เขตเมืองใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจมากขึ้น จึงทำให้ความต้องการถือครองทองคำลดน้อยลง เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าทองคำเป็นแหล่งการลงทุนที่ปลอดความเสี่ยงในยามที่เศรษฐกิจเผชิญกับภาวะถดถอย
กองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุน ETF ทองรายใหญ่ที่สุดในโลก เข้าถือครองทองคำที่ระดับ 1,129.823 ตัน ณ วันที่ 29 มี.ค. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับของวันที่ 25 มี.ค.ที่ 5.176 ตัน
- ทองคำ ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดที่ 1,105.10 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ (- 5.90 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์)- เงิน ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดที่ 17.330 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ (- 0.05 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์)

ดาวโจนส์ปิดบวก 30 มี.ค. รับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯสดใส

ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น หลังดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเกินคาด และราคาบ้านใน 20 เขตเมืองใหญ่ ๆ ของสหรัฐฯปรับตัวขึ้น ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯนอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นแอปเปิล อิงค์ หลังจากมีรายงานข่าวว่าแอปเปิลกำลังพัฒนา iPhone รุ่นใหม่นักวิเคราะห์จากบริษัท เอฟบีบี แคปิตอล พาร์ทเนอร์ส ในมลรัฐแมรีแลนด์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้แรงหนุนหลังจากสำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยเอกชนของสหรัฐฯระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.พุ่งขึ้นแตะระดับ 52.5 จุด จากเดือนก.พ.ที่ระดับ 46.4 จุด มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 50 จุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคของสหรัฐฯมีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและเริ่มที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นด้วย
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 0.3% ทำสถิติเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ห้า และสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้
นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ หลังจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และ เคส ชิลเลอร์ เปิดเผยว่า ราคาบ้านใน 20 เขตเมืองใหญ่ๆปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่แปด
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่จะประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ มีดังนี้- วันพุธ กระทรวงพาณิชย์จะเปิดเผยยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนก.พ. - วันพฤหัสบดีกระทรวงแรงงานจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ - วันศุกร์กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร (nonfarm payroll) เดือนมี.ค. ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 200,000 คน และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมี.ค.จะทรงตัวที่ระดับ 9.7% เพราะได้แรงหนุนจากโครงการจ้างพนักชั่วคราวของภาครัฐเพื่อทำการสำรวจจำนวนประชากรครั้งใหญ่ที่จัดขึ้นทุก 10 ปีในปีนี้ รวมถึงสภาพอากาศที่ดีขึ้นทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น
หุ้นแอปเปิลทะยานขึ้น 1.5% หลังจากมีรายงานว่าแอปเปิลกำลังพัฒนา iPhone รุ่นใหม่เพื่อใช้งานบนเครือข่ายเคลื่อนที่ของบริษัท เวอริซอน คอมมิวนิเคชันส์ ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยหนุนหุ้นเวอริซอนปิดบวก 2.6% ด้วย
นักวิเคราะห์กล่าวว่า วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วอย่างแน่นอน และ พัฒนาการของความเชื่อมั่น รวมทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคก็เห็นได้ชัดเจน ต่อจากนี้ก็จะเห็นพัฒนาการที่ดีของตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นตลอดช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยตลอดไตรมาส 1/53 ดัชนีได้ปรับขึ้นไปแล้วถึง 5.2% และอีก 12 เดือนต่อจากนี้ไปนักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีจะปรับตัวขึ้นอีก 15%
หุ้น 3 M ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ มอร์แกน สแตนลีย์เปิดเผยว่าบริษัทอาจจะมีผลประกอบการที่สูงกว่าคาดการณ์- Dow Jones ปิดที่ 10,907.42 จุด (+0.11%)- S&P 500 ปิดที่ 1,173.27 จุด (+0.00%)- Nasdaq ปิดที่ 2,410.69 จุด (+0.26%)

Daily Video Recap 31 Mar: เงินปอนด์แข็งค่าจากข้อมูล GDP , ยูโรร่วงลง

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 30 มี.ค.: ดอลล์แข็งหลังสหรัฐเผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคพุ่งเกินคาด

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนและฟรังค์สวิส ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 มี.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.ที่พุ่งขึ้นเกินคาด ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเพราะได้แรงหนุนจากรายงานตัวเลขจีดีพีที่ขยายตัวขึ้น ส่วนค่าเงินยูโรทรงตัวเนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของหลายประเทศในยูโรโซน
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้น 0.42% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 92.830 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 92.440 เยน/ดอลลาร์ และแข็งค่าขึ้น 0.35% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0660 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0623 ฟรังค์/ดอลลาร์
ค่าเงินยูโรบวกเพียง 0.01% ที่ระดับ 1.3412 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 1.3410 ยูโร/ดอลลาร์ และค่าเงินปอนด์ทะยานขึ้น 1.10% ที่ระดับ 1.5064 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.4900 ปอนด์/ดอลลาร์
ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดีดขึ้น 0.12% แตะที่ระดับ 0.9183 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับ 0.9172 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ขยับขึ้น 0.04% แตะที่ระดับ 0.7093 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7090 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์
นักลงทุนเข้าถือครองสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเพราะเชื่อมั่นในแนวโน้มเศรษฐกิจ หลังจากสำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด รายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.พุ่งขึ้นแตะระดับ 52.5 จุด จากเดือนก.พ.ที่ระดับ 46.4 จุด มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 50 จุด ขณะที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์ ที่ระบุว่า ราคาบ้านใน 20 เขตเมืองใหญ่ๆปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่แปด
ขณะที่ค่าเงินปอนด์ทะยานขึ้นแข็งแกร่งหลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 4 ปี 2552 ที่ได้รับการปรับทบทวนใหม่ เป็นขยายตัว 0.4% ดีกว่าที่ประเมินไว้สองครั้งก่อนหน้านี้ เนื่องจากผลผลิตที่สูงขึ้นในภาคบริการ การก่อสร้าง และการเกษตร
ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจอังกฤษหลุดพ้นจากภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการ หลังจากที่หดตัวติดต่อกันมาหกไตรมาสก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการหดตัวติดต่อกันหกไตรมาสเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการเก็บข้อมูลในปีพ.ศ.2498 ทั้งนี้ อังกฤษเป็นประเทศเศรษฐกิจรายใหญ่ที่หลุดพ้นจากภาวะถดถอยเป็นลำดับสุดท้าย หลังจากที่ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐ และ ญี่ปุ่น ต่างแซงหน้ากันไปก่อนแล้ว
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันพุธ กระทรวงพาณิชย์จะเปิดเผยยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนก.พ. และวันพฤหัสบดีกระทรวงแรงงานจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
ส่วนวันศุกร์กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร (nonfarm payroll) เดือนมี.ค. ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 200,000 คน และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมี.ค.จะทรงตัวที่ระดับ 9.7% เพราะได้แรงหนุนจากโครงการจ้างพนักชั่วคราวของภาครัฐเพื่อทำการสำรวจจำนวนประชากรครั้งใหญ่ที่จัดขึ้นทุก 10 ปีในปีนี้ รวมถึงสภาพอากาศที่ดีขึ้นทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 31 มี.ค.


EUR/USD intraday: under pressure.
Pivot: 1.3465
คำแนะนำ : Short ที่ระดับต่ำกว่า 1.3465 targets @ 1.338 & 1.3325
หากราคาผ่านเหนือ 1.3465 เป้าหมายด้านบนคือ 1.3500 & 1.3540
ข้อสังเกต : RSI มีทิศทางลง และคาดว่าจะลงต่อ
Key levels
1.3540
1.3500
1.3465
1.3415 ราคาล่าสุด
1.3380
1.3325
1.3285

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 30 มี.ค.


EUR/USD intraday: rebound expected.
Pivot: 1.3450

คำแนะนำ : Long ที่เหนือระดับ 1.345targets @ 1.3525 & 1.3575

หากราคาทะลุต่ำกว่า 1.3450 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.3400 & 1.3365

ข้อสังเกต : ราคาเด้งกลับที่แนวรับก่อนการรีบาวนด์

Key levels
1.3635
1.3575
1.3525
1.3484 last
1.3450
1.3400
1.3365

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 29 มี.ค.: ยูโรพุ่งแรง จากข่าวรัฐบาลกรีซขายพันธบัตรมูลค่า $6.72 พันล้าน

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (29 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมีความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของสกุลเงินยูโร หลังจากรัฐบาลกรีซประกาศระดมทุนมูลค่า 6.72 พันล้านดอลลาร์ด้วยการออกพันธบัตรใหม่อายุ 7 ปี ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐได้แรงหนุนจากตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ห้า

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.50% แตะที่ระดับ 1.3477 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.3410 ยูโร/ดอลลาร์ และค่าเงินปอนด์พุ่งขึ้น 0.54% แตะที่ระดับ 1.4980 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.4900 ปอนด์/ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์ดีดตัวขึ้น 0.01% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 92.480 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 92.470 เยน/ดอลลาร์ แต่อ่อนตัวลง 0.24% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0622 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0648 ฟรังค์/ดอลลาร์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 1.48% แตะที่ 0.9173 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันศุกร์ที่ 0.9033 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และดอลลาร์นิวซีแลนด์ดีดขึ้น 0.88% แตะที่ 0.7093 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7031 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์

สำนักบริหารหนี้ของกรีซเปิดเผยว่า รัฐบาลกรีซระดมทุนด้วยการขายพันธบัตรใหม่อายุ 7 ปีวงเงิน 5 พันล้านยูโร หรือ 6.72 พันล้านดอลลาร์ ที่อัตราผลตอบแทน 5.9% ซึ่งสูงกว่า 2 เท่าของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมนี

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์จากบริษัท บราวน์บราเธอร์ส แฮร์รีแมน ในกรุงนิวยอร์กกล่าวว่า กล่าวว่า แม้ค่าเงินยูโรฟื้นตัวขึ้น แต่ปัญหาหนี้สินและอัตราการขยายตัวที่อ่อนแอของเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซน อาจทำให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ยังไม่ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะนี้ โดยนักวิเคราะห์คาดว่าอีซีบีจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงหน้า ซึ่งอาจจะทำให้ความน่าดึงดูดใจของสกุลเงินยูโรลดลงด้วย

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนและสกุลเงินอื่นๆ ยกเว้นยูโรและฟรังค์สวิส หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 0.3% ทำสถิติเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ห้า และการคาดการณ์ที่ว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร (nonfarm payroll) เดือนมี.ค.ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยในวันศุกร์นี้นั้น จะเพิ่มขึ้น 200,000 คน และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมี.ค.จะทรงตัวที่ระดับ 9.7%

Daily Video Technical Update 30 Mar

Daily Video Recap 30 Mar: Euro Extends Rally, but Commodity Currencies Steal the Show

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

กรีซเตรียมออกพันธบัตรใหม่เร็วๆ นี้ หลังยุโรป-IMF ผ่านแผนช่วยเหลือ

รัฐมนตรีคลังของกรีซ
เอเอฟพี/เอเยนซีส์ - กรีซเตรียมที่จะออกพันธบัตรใหม่มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ ภายหลังจากพวกผู้นำยุโรปเพิ่งทำความตกลงเกี่ยวกับแผนการฉุกเฉินที่จะช่วยเหลือกรีซในการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สิน

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ฉบับวันเสาร์ (27) เปโตรส คริสโตดูลู ผู้อำนวยการใหญ่ของสำนักงานบริหารหนี้ภาคสาธารณะของกรีซ ระบุว่าจะออกพันธบัตรใหม่เป็นมูลค่าราว 5,000 ล้านยูโร ภายในสัปดาห์นี้

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวรายหนึ่งในกระทรวงการคลังกรีซกล่าวในวันเสาร์ว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนว่าจะออกพันธบัตรใหม่เมื่อใด โดยจะต้องพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ให้เหมาะสมเสียก่อน

ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลกรีซชนิด 10 ปี ซึ่งก็คือดอกเบี้ยที่กรีซจะต้องจ่ายจากการออกพันธบัตร ได้ลดลงเล็กน้อย เหลือ 6.193% ในเย็นวันศุกร์(26) สืบเนื่องจากผู้นำของยูโรโซนสามารถทำความตกลงกันเกี่ยวกับแผนการฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือวิกฤตหนี้สินของกรีซ

ตามข้อตกลงของผู้นำ 16 ชาติยูโรโซนที่ทำกันได้เมื่อวันพฤหัสบดี ชาติเหล่านี้และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) พร้อมจะเข้าช่วยเหลือกรีซ ถ้าหากทางการเอเธนส์มีความต้องการเงินกู้

ข้อตกลงนี้ไม่ได้มีการระบุตัวเลขใดๆ แต่พวกเจ้าหน้าที่อียูกล่าวว่า อยู่ในราว 22,000 ล้านยูโร โดยที่ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี แห่งฝรั่งเศส บอกว่า ชาติยูโรโซนจะเป็นผู้ออกเงินกู้นี้ประมาณสองในสามของยอดทั้งหมด

ทั้งผู้นำยูโรโซนและรัฐบาลกรีซต่างแถลงย้ำว่า กรีซยังไม่ได้ขอความสนับสนุนทางการเงินใดๆ และยังไม่ได้มีการตัดสินใจเพื่อเริ่มเดินเครื่อง “กลไก” ช่วยเหลือนี้ อีกทั้งหวังกันว่าจะไม่ต้องนำมาใช้จริงๆ ด้วยซ้ำ เนื่องจากเพียงต้องการให้ตลาดการเงินเกิดความมั่นใจ และดึงอัตราดอกเบี้ยที่กรีซต้องจ่ายในตลาดพันธบัตรให้ลดลงมา

เจาะลึกแผนช่วยเหลือกรีซของ EU-IMF

กลุ่มผู้นำในเขตยูโรโซนบรรลุข้อตกลงเมื่อวานนี้เกี่ยวกับการสร้าง เครือข่ายความปลอดภัยเพื่อช่วยเหลือกรีซในการคลี่คลายปัญหาหนี้สาธารณะ ซึ่งจะรวมถึงการให้เงินกู้ทวิภาคีและเงินช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF ) โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้

1. ข้อตกลงระบุถึงแนวทางที่กลุ่มประเทศในเขตยูโรโซนจะช่วยเหลือ กรีซในภาวะฉุกเฉิน
2. ประเทศสมาชิกจะจ่ายเงินสมทบต่อเงินกู้ดังกล่าว โดยยูโรโซน จะรับภาระในการช่วยเหลือ 2 ใน 3 ขณะที่IMF จะรับภาระ 1 ใน 3

3. กลไกความช่วยเหลือนี้จะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อการระดมเงินทุน จากตลาดทำได้ไม่เพียงพอ

4. ประเทศสมาชิกทุกประเทศในเขตยูโรโซนจะต้องเห็นพ้องกัน หากมีการปล่อยเงินกู้ และเงินกู้ที่ปล่อยให้จะต้อง"ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่เข้มงวด"

5. การตัดสินใจที่จะให้เงินกู้ จะต้องอิงตามการประเมินของคณะ กรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นผู้บริหารสหภาพยุโรป (EU) รวมทั้งธนาคาร กลางยุโรป (ECB)

6. เกณฑ์สำหรับการประเมินการปล่อยเงินกู้ จะพิจารณาจากระดับ ของความไร้เสถียรภาพของความเสี่ยงในประเทศที่เกี่ยวข้อง และสำหรับ เขตยูโรโซนโดยรวม

7. 16 ประเทศในเขตยูโรโซน จะให้เงินสมทบต่อเงินกู้ตามสัดส่วน ของการถือครองหุ้นใน ECB ซึ่งหมายความว่า ประเทศขนาดใหญ่ อาทิ เยอรมนี และฝรั่งเศส จะจ่ายเงินสมทบมากที่สุด

8. จะมีการจัดหาเงินกู้โดยคิดต้นทุนรวมถึงค่าพรีเมียมความเสี่ยง โดยจะไม่คิดอัตราดอกเบี้ยตามเขตยูโรโซน

9. ถ้าจำเป็นต้องมีการให้ความช่วยเหลือ จะมีการให้ความช่วยเหลือ ในเวลาเดียวกันจากIMF และกลุ่มประเทศในเขตยูโรโซน

10. ประเทศต่างๆตกลงที่จะเพิ่มบทบาทของ EC ในการกำกับดูแลเศรษฐกิจ โดยจะเป็นการให้น้ำหนักมากขึ้นแก่อีซี ซึ่งเป็นเวทีการประชุมสำหรับผู้นำประเทศ และรมว.คลังของยุโรป

11. จะมีคณะทำงานเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยนายฟาน รอมเพย์ เพื่อหา แนวทางในการปรับปรุงการกำกับดูแลเศรษฐกิจและความเสี่ยงด้านงบประมาณ โดยคณะทำงานดังกล่าวจะเสนอมาตรการภายในสิ้นปีนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯที่ประกาศออกมาเมื่อศุกร์ที่ 26 มี.ค. 2553
• จีดีพี – Final (Q4/09) ขยายตัว 5.6% (ลดลงการประมาณครั้งก่อนที่ 5.9%)
• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (มี.ค.) 73.6 จุด (สูงกว่าเดือนก่อนหน้าและคาดการณ์)

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯที่จะประกาศออกมาวันนี้ (จันทร์ที่ 29 มี.ค. 2553)
• รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล (ก.พ.) โดย กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ

ราคาทองคำปิดพุ่ง หลังข้อตกลงช่วยกรีซถ่วงเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า

ในการประชุมสุดยอดสหภาพยุโรป (EU) ที่ประชุมบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับแผนการช่วยเหลือกรีซ ด้วยการร่วมมือกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในการจัดหาเงินกู้ให้กับกรีซ โดยหวังว่าวิกฤตหนี้ครั้งนี้จะไม่ลุกลามไปทั่วยุโรป ซึ่งถึงแม้ว่าแผนการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับกรีซจะถูกใช้เป็นทางเลือกสุดท้าย และยังต้องได้รับการอนุมัติอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมาชิกประเทศที่ใช้เงินยูโรทั้ง 16 ประเทศ (ยูโรโซน) แต่ข้อตกลงดังกล่าวก็สามารถเป็นปัจจัยหนุนเงินยูโร เพราะเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกให้กับตลาดว่า ประเทศในยุโรปพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือกรีซเมื่อกรีซต้องการ

เงินยูโรดีดขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงได้เพิ่มความน่าดึงดูดใจให้กับทองคำในการเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไร

ขณะเดียวกัน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนประจำเดือนมี.ค.ได้รับการปรับทบทวนขึ้นมาอยู่ที่ 73.6 จุด ซึ่งดีกว่าระดับ 72.5 ในการประเมินครั้งก่อน และดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 73 ซึ่งช่วยให้นักลงทุนรู้สึกมั่นใจเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ และได้ช่วยให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ดัชนี ICE Futures ซึ่งวัดเงินดอลลาร์สหรัฐเทียบกับยูโรและสกุลเงินอื่นๆอีก 5 สกุล ร่วงลง 0.47% หลังจากแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนเมื่อช่วงต้นสัปดาห์

ทั้งนี้ การซื้อขายทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์มักสวนทางกับทิศทางของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งซื้อขายกันในสกุลดอลลาร์สหรัฐ มีราคาที่น่าดึงดูดในในสายตาของผู้ซื้อต่างชาติ

วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

Daily Video Technical Update 26,29 Mar

Daily Video Recap 26,29 Mar : Euro Rallies as EU Leaders Strike Deal

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 29 มี.ค.

Pivot: 1.3345
คำแนะนำ : Long ที่เหนือระดับ 1.3345 targets @ 1.345 & 1.3500
หากราคาลงต่ำกว่า 1.3345 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.3305 & 1.3265
ข้อสังเกต: RSI มีทิศทางปนกัน ไปทางขึ้น

Key levels
1.3535
1.3500
1.3450
1.3408 last
1.3345
1.3305
1.3265

Technical Analysis สำหรับสัปดาห์ที่ 29 มี.ค. - 3 เม.ย.

EUR/USD trend: hold.
GBP/USD trend: sell.
USD/JPY trend: buy.
EUR/JPY trend: hold.
GBP/JPY trend: sell.

Floor Pivot Points
Pair3rd Sup2nd Sup1st SupPivot1st Res2nd Res3rd Res
EUR/USD1.29581.31121.32601.34141.35621.37161.3864
GBP/USD1.44451.46211.47581.49341.50711.52471.5384
USD/JPY87.4688.6490.5891.7693.7094.8896.82
EUR/JPY118.87119.95122.00123.08125.13126.21128.26
GBP/JPY131.92133.21135.49136.78139.06140.35142.63

Fibonacci Retracement Levels
PairsEUR/USDGBP/USDUSD/JPYEUR/JPYGBP/JPY
100.0%1.35691.511192.95124.17138.08
61.8%1.34541.499191.76122.97136.72
50.0%1.34181.495591.39122.61136.30
38.2%1.33821.491891.02122.24135.87
23.6%1.33381.487290.57121.78135.35
0.0%1.32671.479889.83121.04134.51


วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

รายงานประจำสัปดาห์ 22-26 มี.ค. FX Options Report

แหล่งข่าวเผยยูโรโซนบรรลุข้อตกลงช่วยหนี้กรีซ

ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ซาร์โกซี(ซ้ายสุด) พูดคุยกับนางแองเจลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี(ขวาสุด) ระหว่างหารือกรณีหนี้สินกรีซ
เอเอฟพี - ผู้นำ 16 ชาติที่ใช้สกุลเงินยูโรบรรลุข้อตกลงเมื่อช่วงค่ำวันพฤหัสบดี(25 มี.ค.) สนับสนุนแผนของฝรั่งเศสและเยอรมนี ที่เสนอให้เงินกู้ช่วยหลือแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สินแก่กรีซร่วมกับไอเอ็มเอฟ แหล่งข่าวทางการทูตรายหนึ่งเปิดเผยกับเอเอฟพี


"บรรลุข้อตกลงแล้ว" แหล่งข่าวรายหนึ่งบอก หลังจากบรรดาผู้นำชาติยูโรโซนหารือกันรอบนอกการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม พร้อมระบุว่าผู้นำชาติในยูโรโซนจะลงนามในต้นฉบับข้อตกลงให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซโดยไม่ได้แก้ไขจากฉบับร่างแต่อย่างใด

แหล่งข่าวรัฐบาลฝรั่งเศสระบุว่าข้อตกลงที่ทางยูโรโซนจะให้ความช่วยเหลือ 2 ใน 3 ขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะมาจากกองทุนระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) จะเป็นเพียงสิ่งกระตุ้นในฐานะหนทางสุดท้ายและจะไม่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยด้วย

ทั้งนี้ยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลขออกมา แต่เจ้าหน้าที่ทูตหลายคนเคยพูดเมื่อไม่นานมานี้ว่า ยอดเงินที่เตรียมให้ความช่วยเหลือกรีซ น่าจะมากกว่า 2 หมื่นล้านยูโร

ด้าน จอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีของกรีซ ออกมายกย่องการตัดสินใจที่น่าพอใจอย่างยิ่งของสหภาพยุโรป ที่เคลื่อนไหวขยายแผนช่วยเหลือวิกฤตหนี้สินของเอเธนส์

"ยุโรปก้าวไปข้างหน้า...ยุโรปและกรีซจะโผล่พ้นวิกฤตนี้ด้วยความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น" ปาปันเดรอูกล่าว "มันเป็นการตัดสินใจที่น่าพอใจอย่างมาก ซึ่งวางกลไกยุโรปร่วมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพื่อรับรองสเถียรภาพทางการเงินของยูโรโซน"

น้ำมันปรับลดแตะ$80หลังศก.สหรัฐฯอ่อนแอ-หุ้นมะกันขยับเล็กน้อย

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันปรับลงมาแตะระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลอีกครั้งในวันศุกร์(26) จากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอเกินคาดหมายของสหรัฐฯ ขณะที่วอลล์สตรีท ขยับเพียงเล็กน้อย หลังถูกฉุดโดยความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนพฤษภาคม ลดลง 53 เซนต์ ปิดที่ 80.00 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 32 เซ็นต์ ปิดที่ 79.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ความเคลื่อนไหวในแดนลบของราคาน้ำมันมีขึ้นหลังจากมีข้อมูลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชาติผู้บริโภครายใหญ่ของโลก เติบโตในอัตราที่ช้ากว่าที่คิดในไตรมาส 4 ขณะที่การใช้จ่ายภาคธุรกิจและผู้บริโภคเฉื่อยชาลงท่ามกลางการฟื้นตัวจากภาวะถดถอยที่เปราะบาง

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ระบุว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคมปีก่อน อยู่ที่ 5.6 เปอร์เซ็นต์ ปรับลดจากที่ประมาณการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) น่าจะอยู่ที่ 5.9 เปอร์เซ็นต์

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดผสมผสานเมื่อวันศุกร์(26) เหตุนักลงทุนชั่งใจต่อการตัดสินใจเข้าช่วยวิกฤตหนี้สินกรีซของยูโรโซนและข่าวความเป็นไปได้ที่อาจเกิดความตึงเครียดรอบใหม่ในคาบสมุทรเกาหลี

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 9.15 จุด (0.08 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 10,850.36 จุด แนสแดค ลดลง 2.28 จุด (0.10 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,395.13 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 0.86 จุด (0.07 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,166.59 จุด

ตลาดปรับขึ้นในช่วงต้นของการซื้อขายตามหลังสหภาพยุโรปบรรลุข้อตกลงในการเข้าช่วยเหลือวิกฤตหนี้สินของกรีซ ทว่านักลงทุนหันมาเทขายทำกำไรในช่วงก่อนปิดตลาด หลังมีรายงานข่าวปรากฎออกมาว่าเรือรบเกาหลีใต้ซึ่งบรรทุกลูกเรือ 104 คน อัปปางใกล้น่านน้ำเกาหลีเหนือ หลังเกิดระเบิดอย่างไม่ทราบสาเหตุเมื่อวันศุกร์(26)

รัฐบาลเกาหลีใต้เรียกประชุมฉุกเฉินหน่วยงานด้านความมั่นคงในทันที ทว่าต่อมาเจ้าหน้าที่กองทัพระบุว่าไม่พบเครื่องบ่งชี้ว่าเกาหลีเหนือมีส่วนพัวพันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

Daily Video Technical Update 26 March

Daily Video Recap 26 Mar: Possible Deal in the Works Over Greece Eases Risk Aversion

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 26 มี.ค.

Pivot: 1.334
คำแนะนำ : Short ที่ระดับต่ำกว่า 1.3340 targets @ 1.3215 & 1.3185
หากราคาผ่านเหนือ 1.3340 เป้าหมายด้านบนคือ 1.3385 & 1.3450
ข้อสังเกต : RSI มีแนวโน้มลงต่อ

Key levels
1.3450
1.3385
1.3340
1.3290 last
1.3215
1.3185
1.3110

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรร่วงหนัก ขณะผู้นำยุโรปแตกคอกรณีให้ความช่วยเหลือกรีซ

ค่าเงินยูโรยังคงร่วงลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 มี.ค.) โดยยูโรดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือนเนื่องจากกลุ่มผู้นำยุโรปมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันในเรื่องการให้ความช่วยเหลือกรีซ โดยในขณะที่ผู้นำกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ร่างข้อตกลงร่วมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อช่วยกันแบ่งรับภาระในการช่วยเหลือกรีซนั้น นายฌอง-คล้อด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป เตือนว่า การที่ไอเอ็มเอฟเข้ามามีส่วนในการให้ความช่วยเหลือกรีซ อาจเป็นการส่งสัญญาณในด้านลบ
ค่าเงินยูโรดิ่งลง 0.23% แตะที่ 1.3283 ยูโร/ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.3313 ยูโร/ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินปอนด์ร่วงลง 0.32% แตะที่ 1.4820 ปอนด์/ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4868 ปอนด์/ดอลลาร์สหรัฐ
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.56% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 92.730 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 92.210 เยน/ดอลลาร์ และขยับขึ้น 0.04% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0735 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0731 ฟรังค์/ดอลลาร์
ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดีดตัวขึ้น 0.10% แตะที่ 0.9075 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันพุธที่ 0.9066 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.24% แตะที่ 0.7032 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7015 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์
ทั้งนี้ ค่าเงินยูโรร่วงลงอย่างหนักหลังจากไอเอ็มเอฟแสดงท่าทีว่าจะเข้ามามีส่วนในการให้ความช่วยเหลือกรีซร่วมกับผู้นำอียู ซึ่งทำให้นักลงทุนมองว่าความเคลื่อนไหวของไอเอ็มเอฟสะท้อนถึงการด้อยความสามารถของยุโรปในการรับมือกับปัญหาในภูมิภาคของตนเอง ขณะที่นายทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป ระบุว่าการที่ไอเอ็มเอฟเข้ามามีส่วนในการให้ความช่วยเหลือกรีซ อาจเป็นการส่งสัญญาณในด้านลบต่อตลาด
ผู้นำอียูยังคงมีความคิดเห็นแตกแยกกันเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือกรีซที่ประสบภาวะหนี้สินขั้นรุนแรง โดยข้อเสนอของสเปนและฝรั่งเศสที่ให้จัดการประชุมผู้นำยูโรโซน หรือ 16 ประเทศที่ใช้เงินยูโร ก่อนที่จะเริ่มการประชุมสุดยอดอียูนั้น ถูกเมินจากเพื่อนสมาชิก เนื่องจากความเห็นที่แตกต่างระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี
นายโฆเซ่ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ออกมาเรียกร้องให้บรรดาผู้นำยุโรปตกลงกันเกี่ยวกับแผนการสำรองฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือกรีซ โดยระบุว่า การสนับสนุนความพยายามของกรีซในการลดยอดขาดดุลงบประมาณ ไม่เพียงแต่เป็นผลดีต่อกรีซเท่านั้น แต่ยังเป็นการรักษาเสถียรภาพให้กับยูโรโซนทั้งหมดด้วย อย่างไรก็ตาม เขายังไม่ปฏิเสธทางเลือกที่จะให้ไอเอ็มเอฟเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกรีซ
เอริค เนลสัน หัวหน้านักวิเคราะห์ด้านยุโรปของโกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า ไอเอ็มเอฟอาจตัดสินใจให้ความช่วยเหลือกรีซมูลค่า 2 หมื่นล้านยูโร หรือ 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ในรูปแบบของเงินกู้ระยะเวลา 18 เดือน เนื่องจากกรีซต้องเร่งลดยอดขาดดุลงบประมาณที่มีอยู่มากที่สุดในกลุ่มอียู และต้องระดมเงินให้ได้ราว 2 หมื่นล้านยูโรเพื่อรองรับพันธบัตรที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนเม.ย.และพ.ค.

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

แผนช่วยเหลือกรีซยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ฟิตช์ยืนยันยังไม่ลดอันดับ

เยอรมนีส่งสัญญาณเป็นครั้งแรกว่า เยอรมนีจะเข้าไปช่วยเหลือทางการเงินให้แก่กรีซร่วมกับสหภาพยุโรป ในฐานะแหล่งเงินทุนสุดท้าย ทั้งนี้จะต้องมีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย และหุ้นส่วนในยูโรโซนยอมรับกรอบระเบียบวินัยด้านงบประมาณที่เข้มงวด มากขึ้น

คาดว่าแนวทางที่เยอรมนีต้องการเห็นคือรูปแบบความช่วยเหลือทวิภาคีที่กรีซร่วมกับ IMF เท่านั้น ซึ่งจะยังไม่มีการตัดสินใจในการประชุมสุดยอดในสัปดาห์นี้ แต่จะมีการจัดประชุมสุดยอดอียูนัดพิเศษ ในภายหลังเพื่อทำการตัดสินใจ หากเกิดกรณีฉุกเฉิน

ขณะนี้ทุกฝ่ายเริ่มเห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า เยอรมนีคัดค้านการที่สหภาพยุโรปจะเข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือกรีซ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน หรือการค้ำประกันแก่กรีซ คงจะไม่เกิดขึ้น

นายคริส ไพรซ์ นักวิเคราะห์อาวุโสด้านกรีซจากบริษัทฟิทช์ เรทติ้งส์ เปิดเผยว่า ฟิทช์ไม่แน่ใจว่าผู้นำสหภาพยุโรป จะให้ความช่วยเหลือกรีซ ในการประชุมสุดยอดในสัปดาห์นี้หรือไม่ แต่ความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลง การให้ความช่วยเหลือจะไม่ทำให้มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง

ตราบใด ที่ทางเลือกในการขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยังคงเปิดกว้างอยู่ โดยฟิทช์คงอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซไว้ที่ BBB+ และมีแนวโน้ม เชิงลบ นายไพรซ์กล่าวว่า ความสามารถของกรีซในการจัดการกับภาระหนี้ 3 แสนล้านยูโร (4.045 แสนล้านดอลลาร์) และแผนเพื่อการปฏิรูปต่อไปในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า จะมีความสำคัญต่ออันดับความน่าเชื่อถือของกรีซ และกรีซ จะต้องระดมทุนให้ได้ 1.6 หมื่นล้านยูโรเป็นอย่างต่ำภายในสิ้นเดือนพ.ค.นี้ ขณะที่หนี้ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์จะครบกำหนดชำระ

นายมาร์โก มิสนิค นักวิเคราะห์จากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ให้สัมภาษณ์ว่า S&P จะยังคงจับตาดูการดำเนินการของกรีซตาม มาตรการรัดเข็มขัด มากกว่าประเด็นการให้ความช่วยเหลือของอียู

S&P คงอันดับความน่าเชื่อถือที่ BBB+ ในสัปดาห์ที่แล้ว แต่เตือนว่า กรีซยังคงเสี่ยงต่อการถูกปรับลดอันดับภายใน 18-24 เดือนข้างหน้า ถ้าไม่ สามารถดำเนินการตามแผนลดยอดขาดดุลได้

คาดเฟดยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย

นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโกกล่าวว่า ขณะนี้การว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง และเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ทำให้เฟดก็จะยังไม่เร่งรีบที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเท่ากับว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับใกล้ 0% ต่อไปอีกระยะหนึ่งนั้น ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินการที่เหมาะสม

ทั้งนี้ เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป้าหมายลงสู่ระดับใกล้ 0% ในเดือน ธ.ค. 2551 และอัดฉีดเม็ดเงินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่เศรษฐกิจเพื่อลด ผลกระทบจากการทรุดตัวลงครั้งรุนแรงที่สุดของสหรัฐนับตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

คำกล่าวของนางเยลเลนเมื่อวานนี้ สอดคล้องกับชื่อเสียงของเธอในการ เป็นผู้สนับสนุนนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลาย ซึ่งให้ความสำคัญกับการกระตุ้นการ จ้างงานและการขยายตัวของเศรษฐกิจมากกว่าการหลีกเลี่ยงเงินเฟ้อ

แต่เธอกล่าวอย่างชัดเจนเช่นกันว่า แม้ว่าเธอเห็นว่าเงินเฟ้อไม่ได้เป็นความเสี่ยงในขณะนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เธอจะไม่สนับสนุนการคุมเข้มนโยบาย เมื่อสถานการณ์มีความเหมาะสม เธอกล่าวว่า ในขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นก็จะถึงเวลาที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น

นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก กล่าวที่นครเซี่ยงไฮ้ว่า คำกล่าวของเฟดที่ระบุถึง"เวลาอีกระยะหนึ่ง" หรือ “some time” หมายความว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสำหรับการประชุมของ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) เป็นเวลาอย่างน้อย 3-4 ครั้ง หรือราว 6 เดือน

นายอีแวนส์บอกว่า ภาคธุรกิจจะรู้สึกประหลาดใจในความแข็งแกร่งของอุปสงค์ในปีหน้า และจะเริ่มเพิ่มจำนวนพนักงาน แต่นั่นยังเป็นแนวโน้มที่สหรัฐต้องระมัดระวังไม่ให้เร่งตัวเกินไป อย่างไรก็ตามก็คาดว่า นโยบายการเงินมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในเชิงผ่อนคลาย ต่อไปอีกระยะหนึ่ง

ความพิการทางกายไม่ใช่เรื่องใหญ่ ตราบเท่าที่ความคิดและจิตใจไม่ได้พิการ



ผมพบเรื่องนี้ใน mblog จึงขอนำมาแบ่งปันครับ

บรรณาธิการนิตยสารคุณอุษาวดี สินธุเสน ได้พูดถึง
คลิปวิดีโอการแข่งขันโมเดิร์นแดนซ์ทางทีวีของนักเต้นรำชาวจีนคู่หนึ่ง เป็นคลิปวิดีโอที่ดูแล้วทั้ง
อึ้ง ทึ่ง และซาบซึ้งประทับใจกับลีลาการเต้นที่งดงามอ่อนช้อย พลิ้วไหวของคนพิการทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมีแขนและขาเหลืออยู่คนละข้างเดียว !!

ฝ่ายหญิงเป็นครูสอนเต้นรำเคยประสบอุบัติเหตุทำให้ต้องเสียแขนไปข้างหนึ่ง แม้ความพิการจะเป็นอุปสรรคต่อการเต้นรำ แต่ด้วยความรักในอาชีพนี้ เธอจึงไม่ย่อท้อ ยังคงมุ่งมั่นฝึกฝนและทำในสิ่งที่เธอรักต่อไป จนวันหนึ่งเธอทราบข่าวว่ามีชายหนุ่มประสบอุบัติเหตุต้องตัดขาทิ้งไปข้างหนึ่งและเขากำลังรู้สึกเศร้าและหดหู่กับชะตากรรมที่ได้รับไม่ต่างจากเธอ เธอจึงพยายามสืบเสาะหาตัวชายผู้นี้
จนพบและเกลี้ยกล่อมให้เขามาเต้นรำคู่กับเธอ

ตอนแรกฝ่ายชายลังเลอยู่นาน เขาไม่คิดว่าตัวเองจะทำได้ เพราะไม่เคยเต้นรำมาก่อน และไม่มีความรู้พื้นฐานใดๆ เกี่ยวกับการเต้นรำเลยแม้แต่น้อย แต่ในที่สุด เขาก็ตกลง เพราะเห็นว่ายังดีกว่ามีชีวิตอยู่อย่างคนพิการที่ไร้สมรรถภาพ
ทั้งคู่ได้ไปจ้างครูสอนออกแบบท่าเต้นมาออกแบบท่าเต้นให้ และด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และความเพียรพยายาม ชายหญิงคู่นี้ก็ประสบความสำเร็จ คว้าชัยชนะในการแข่งขันมาครองได้อย่าง
งดงาม...น่าภาคภูมิใจยิ่ง

ทั้งกรรมการ ผู้ชมในห้องส่ง และทุกคนที่ได้ชมการเต้นรำของหนุ่มสาวคู่นี้ ไม่มีใครไม่ประทับใจและไม่มีใครไม่ชื่นชม
อยากให้ผู้อ่านทุกท่านได้ดู โดยเฉพาะผู้ที่กำลังท้อแท้และสิ้นหวังในชีวิต รับรองว่า สิ่งที่คุณจะได้รับนั้นคุ้มค่าเกินกว่าเวลาเพียงไม่กี่นาทีที่คุณต้องเสียไปอย่างไม่อาจเทียบกันได้

"ความพิการทางกายไม่ใช่เรื่องใหญ่ ตราบเท่าที่ความคิดและจิตใจไม่ได้พิการ"

อัตราเงินเฟ้ออังกฤษร่วงแตะ 3% ในเดือนกุมภาพันธ์

สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นดัชนีหลักที่ใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและเป็นดัชนีหลักที่ธนาคารกลางอังกฤษใช้ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ลดลงแตะ 3% ในเดือนกุมภาพันธ์ จากระดับ 3.5% ในเดือนมกราคม ซึ่งปรับตัวลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 3.1%

ทั้งนี้ ตัวเลขซีพีไออังกฤษปรับตัวสูงขึ้นมากในเดือนมกราคม เนื่องจากราคาน้ำมันและภาษีจากการขายที่สูงขึ้น โดยรัฐบาลได้ปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มาอยู่ที่ระดับ 17.5% ในเดือนมกราคม จากที่ได้ปรับลด VAT ลงมาอยู่ที่ระดับ 15% ในช่วง 13 เดือนก่อนหน้านั้นเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค และทำให้มีการคาดการณ์กันว่า อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

อย่างไรก็ดี ตัวเลขซีพีไอล่าสุดทำให้นักวิเคราะห์บางส่วนเปลี่ยนมุมมองว่า เงินเฟ้อได้พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดไปแล้ว และจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2% ภายในสิ้นปีนี้ตามที่ธนาคารกลางอังกฤษได้ตั้งเป้าไว้

สำนักงานสถิติฯระบุว่า ราคาสินค้าและบริการในภาคสันทนาการและวัฒนธรรม อาทิ ของเล่น และ คอมพิวเตอร์ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ซีพีไอต่อปีร่วงลงในเดือนกุมภาพันธ์ ตามมาด้วยภาคการเคหะและการบริการในครัวเรือน ขณะที่เสื้อผ้าและรองเท้ามีราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

สำหรับดัชนีราคาผู้ค้าปลีก (RPI) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ชี้วัดเงินเฟ้ออีกทางหนึ่งโดยรวมต้นทุนเกี่ยวกับบ้านและเป็นดัชนีที่ใช้ในการเจรจาเรื่องค่าจ้าง ทรงตัวที่ระดับ 3.7% ในเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมหมวดสินค้าอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวน ลดลงมาอยู่ที่ 2.9% ในเดือนกุมภาพันธ์ จากระดับ 3.1% ในเดือนมกราคม

ฮาวเวอร์ อาร์เชอร์ นักเศรษฐศาสตร์จากไอเอชเอส โกลบอล อินไซท์ กล่าวว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ซีพีไอเดือนกุมภาพันธ์ร่วงลงนั้น เป็นเพราะการลดราคาด้านสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ และเนื่องจากราคาอาหารปรับตัวขึ้นน้อยกว่าปีก่อน นอกจากนี้ ร้านค้าปลีกหลายแห่งลดราคาสินค้าน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมาด้วย โดยดัชนีราคาผู้บริโภคที่ร่วงลงมากเกินคาดนี้ อาจช่วยคลายความวิตกของบอร์ดแบงก์ชาติอังกฤษบางรายที่เกรงว่าเงินเฟ้อจะกลายเป็นปัญหา

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 25 มี.ค.

EUR/USD intraday: the downside prevails.
Pivot: 1.3400

คำแนะนำ: Short ที่ระดับต่ำกว่า 1.3400 targets @ 1.3280 & 1.3230

หากราคาผ่านเหนือ 1.3400 เป้าหมายด้านบนคือ 1.3465 & 1.3500

ข้อสังเกต : RSI ติดเส้น bearish trend line.

Key levels
1.3500
1.3465
1.3400
1.3320 last
1.3280
1.3230
1.3115

Daily Video Recap 24 Mar: EUR/USD Breaks Below 1.3450 as Fitch Downgrades Portugal's Rating

24 มี.ค. ทองคำปิดร่วง $14.90 หลังดอลล์แข็งเทียบยูโร

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (24 มี.ค.) เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรทำให้นักลงทุนแห่เทขายทองคำ โดยค่าเงินยูโรร่วงลงเนื่องจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นหลังจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับเครดิตของกรีซ

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาทองคำ COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ยทองเดือนเม.ย.ร่วงลง 14.90 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่ 1,088.80 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,106-1,084.80 ดอลลาร์

นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำหลังจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร ภายหลังจากมีรายงานว่าฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับความน่าเชือถือของโปรตุเกสลง 1 ขั้น สู่ระดับ AA- เนื่องจากยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลโปรตุเกสร่วงลงอย่างหนักในปีที่แล้ว

นอกจากนี้ ฟิทช์ระบุว่าเศรษฐกิจโปรตุเกสจะฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่นๆที่ใช้สกุลเงินยูโร ซึ่งข่าวดังกล่าวได้ฉุดตลาดหุ้นในยุโรปดิ่งลง และส่งผลให้สกุลเงินยูโรร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐด้วย

กองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุน ETF ทองรายใหญ่ที่สุดในโลก ได้ถือครองทองแท่งที่ระดับ 1,120.079 ตัน ณ วันที่ 23 มี.ค. ซึ่งเพิ่มขึ้น 4.568 ตัน จากระดับของวันที่ 10 มี.ค.

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

Risk Aversion Rises On Greece Concerns

Daily Video Technical Update 24 March

Daily Video Recap 24 March: Pairs Stick to Recent Ranges, US Posts Housing Data

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 23 มี.ค.: ยูโรร่วงเทียบดอลล์ จากข่าวกรีซเมินขอความช่วยเหลือ IMF

ค่าเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (23 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าผู้นำกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) อาจไม่ให้ความช่วยเหลือกรีซในการประชุมสุดยอดกลุ่มอียูในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ ค่าเงินยูโรถูกกดดันหนักขึ้นจากข่าวที่ว่ารัฐบาลกรีซแสดงท่าทีว่าจะไม่ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.41% แตะที่ระดับ 1.3499 ยูโร/ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.3555 ยูโร/ดอลลาร์ และค่าเงินปอนด์ดิ่งลง 0.40% แตะที่ 1.5036 ปอนด์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.5096 ปอนด์/ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้น 0.32% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 90.380 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 90.090 เยน/ดอลลาร์ แต่อ่อนตัวลง 0.04% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0575 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0579 ฟรังค์/ดอลลาร์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.16% แตะที่ 0.9191 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย จากระดับของวันจันทร์ที่ 0.9176 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.14% แตะที่ 0.7075 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.7065 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์

นักวิเคราะห์จากบริษัท ฟอเรนจ์ เอ็กซ์เชนจ์ อนาไลติกส์ ในมลรัฐคอนเน็กติกัต กล่าวว่า ภาวะไร้เสถียรภาพทางการเงินของกรีซกำลังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและสกุลเงินของยุโรป เนื่องจากกลุ่มผู้นำอียูมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือกรีซ โดยเฉพาะนางแองเจลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ที่เรียกร้องว่ากลุ่มผู้นำอียูไม่ควรนำประเด็นการให้ความช่วยเหลือกรีซเข้าสู่ที่ประชุมสุดยอดอียูที่เมืองบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์นี้

ค่าเงินยูโรถูกกดดันมากขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรีซได้ออกมาแสดงท่าทีว่าจะไม่ขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากไอเอ็มเอฟ แม้ก่อนหน้านี้นายรัฐมนตรีเยอรมนีผลักดันให้กรีซหันไปพึ่งพาไอเอ็มเอฟก็ตาม

นายโฮเซ่ อังเกล เกอร์เรีย เลขาธิการ กลุ่มองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) กล่าวว่า กรีซควรหาทางเลือกหลายๆทางเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์ด้านการคลัง นอกจากนี้ นายเกอร์เรียกล่าวว่า เขายังคงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อเศรษฐกิจกรีซ เพราะเชื่อว่าแนวทางในการคลี่คลายวิกฤตการณ์ของกรีซยังมีอยู่หลายทาง

ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลกรีซได้ประกาศใช้มาตรการมากมายเพื่อความพยายามที่จะลดยอดขาดดุลงบประมาณ รวมถึงงบประมาณที่ต้องเตรียมไว้สำหรับการไถ่ถอนพันธบัตรมูลค่า 2 หมื่นล้านยูโร หรือ 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.นี้

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 24 มี.ค.

Pivot: 1.3465

คำแนะนำ: Long ที่ระดับเหนือ 1.3465 targets @ 1.3570 & 1.3620

หากราคาผ่านลงต่ำกว่า 1.3465 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.3415 & 1.3400

ข้อสังเกต: RSI มีโมเมนตัมด้านลงน้อย

Key levels
1.3675
1.3620
1.3570
1.3505 last
1.3465
1.3415
1.3400

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

น้ำมันขยับเล็กน้อย-หุ้นมะกันปิดบวกหลังคองเกรสผ่านแผนประกันสุขภาพ

บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แถลงขอบคุณ สภาคองเกรส ลงมติผ่านร่างกฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพครั้งประวัติศาสตร์
เอเอฟพี/เอเจนซี - ราคาน้ำมันกลับมาขยับขึ้นอีกครั้งในวันจันทร์(22) หลังดอลลาร์อ่อนค่า ขณะที่วอลล์สตรีทปิดบวกเล็กน้อย สภาคองเกรส ลงมติผ่านร่างกฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพครั้งประวัติศาสตร์ช่วยคลี่คลายความกังวลของนักลงทุน

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 57 เซนต์ ปืดที่ 81.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน เพิ่มขึ้น 66 เซนต์ ปิดที่ 80.54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ราคาน้ำมันสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด ร่วงลงต่ำกว่า 80 ดอลลาร์ในช่วงต้นของการซื้อขายในวันจันทร์(22) เมื่อดอลลาร์ขยับขึ้นขณะที่ผู้นำชาติยุโรปตกอยู่ภายใต้แรงกดดันในการเข้าคลี่คลายวิกฤตหนี้สินกรีซ ณ ที่ประชุมในกรุงบรัสเซลส์ ช่วงปลายสัปดาห์นี้

อย่างไรก็ตามราคาดีดกลับขึ้นมาปิดในแดนบวก หลังช่วงท้ายของการซื้อขายดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโร จากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซที่เขย่าความมั่นใจในยูโรโซน

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกในวันจันทร์(22) ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว หลังมติผ่านร่างกฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพครั้งประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นชัยชนะของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ช่วยยุติความวิตกของนักลงทุนต่อความไม่แน่นอนในประเด็นดังกล่าว

แม้ว่านักวิเคราะห์บางส่วนอาจมีความกังวลเพิ่มขึ้นว่าร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบในวันอาทิตย์(21) อาจกระทบต่อกำไรและเพิ่มต้นทุนแก่บริษัทประกัน ทว่าตลาดก็ได้รับผลกระทบในด้านลบในข้อวิตกนี้ไปก่อนหน้าแล้ว

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 43.91 จุด (0.41 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 10,785.89 จุด แนสแดก เพิ่มขึ้น 20.99 จุด (0.88 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,395.40 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 5.91 จุด (0.51 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,165.81 จุด

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 23 มี.ค.

EUR/USD intraday: continuation of the rebound.

Pivot: 1.3500

คำแนะนำ: Long ที่เหนือระดับ 1.3500 targets @ 1.3570 & 1.3620

หากราคาผ่านลงต่ำกว่า 1.3500 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.3465 & 1.3415

ข้อสังเกต: ราคาทะลุเหนือ channel ของแนวต้าน

Key levels
1.3655
1.3620
1.3570
1.3555 last
1.3500
1.3465
1.3415