วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 30 ก.ค.: ดอลล์ร่วงหลังจีดีพีสหรัฐโตน้อยกว่าคาด-IMF เตือนศก.สหรัฐเปราะบาง

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนเมื่อเทียบกับสกุลเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 ก.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยว่าเศรษฐกิจไตรมาส 2 ขยายตัวน้อยกว่าคาด และหลังจากผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์แสดงความกังวลว่า สหรัฐอาจเผชิญกับภาวะเงินฝืดแบบเดียวกับญี่ปุ่น นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังถูกกดดันหลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เตือนว่าระบบการเงินของสหรัฐอยู่ในภาวะที่เปราะบางมาก

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.39% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 86.420 เยน จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 86.760 เยน และอ่อนตัวลง 0.07% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0403 ฟรังค์ จากระดับ 1.0410 ฟรังค์

ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลง 0.19% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 1.3052 ดอลลาร์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.3077 ดอลลาร์ และค่าเงินปอนด์พุ่งขึ้น 0.61% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 1.5704 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5609 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.57% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.9054 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 0.9003 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.32% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.7259 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7236 ดอลลาร์สหรัฐ

นักลงทุนเทขายดอลลาร์สหรัฐหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ขยายตัวเพียง 2.4% ต่อปี ซึ่งชะลอตัวลงเมื่อทียบกับจีดีพีไตรมาสแรกที่ผ่านการทบครั้งใหม่ว่าขยายตัว 3.7% และน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะขยายตัวในอัตรา 2.5% ต่อปี

ดอลลาร์สหรัฐผันผวนมากขึ้นเมื่อไอเอ็มเอฟเตือนว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะชะลอตัวลง โดยเฉพาะความเสี่ยงที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะถดถอยรุนแรงและลุกลามไปยังภาคส่วนอื่นๆ หากสถานการณ์การเงินในต่างประเทศเข้าขั้นวิกฤต

นอกจากนี้ผลการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ของธนาคารสหรัฐ ซึ่งจัดทำโดยไอเอ็มเอฟยังบ่งชี้ว่า ระบบการเงินของสหรัฐยังอยู่ในภาวะเปราะบาง และธนาคารพาณิชย์ที่มีสถานะการเงินอ่อนแอจนส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจนั้น จำเป็นต้องระดมเงินทุนเพิ่มถึง 7.6 หมื่นล้านดอลลาร์

นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงวิตกกังวลต่อการแสดงความคิดเห็นของนายเจมส์ บุลลาร์ด ผู้ว่าการเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ ที่ว่า สหรัฐอาจเผชิญกับภาวะเงินฝืดแบบเดียวกับญี่ปุ่นหากเศรษฐกิจอ่อนแอลง ซึ่งภาวะเงินฝืดจะลุกลามจนทำให้ราคาสินค้า มูลค่าที่อยู่อาศัย มูลค่าหุ้น และอัตราค่าแรงหดตัวลงด้วย ทั้งนี้ นายบุลลาร์ดแนะนำให้คณะกรรมการเฟดทบทวนโครงการซื้อพันธบัตรของรัฐบาลหากเศรษฐกิจสหรัฐเผชิญวิกฤตการณ์อันเนื่องมาจากภาวะเงินฝืด

มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส กล่าวว่า สหรัฐจำเป็นต้องประกาศใช้มาตรการที่ชัดเจนในการลดยอดขาดดุลงบประมาณ และเตือนว่า ตัวเลขหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูงอาจส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือที่ Aaa ของสหรัฐในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Daily Video Recap for 28 Jul: Upbeat Euro-Zone, UK Data Countered By Weak US Reports

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 29 ก.ค.

EUR/USD intraday: bullish bias above 1.2955

Pivot: 1.2955

คำแนะนำ : Long ที่ระดับเหนือ 1.2955 targets @ 1.3045 & 1.3115

หากราคาลงต่ำกว่าระดับ 1.2955 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.2915 & 1.289

ข้อสังเกต : RSI ติดแนวรับที่ bullish trend line

Key levels
1.3170
1.3115
1.3045
1.2995 last
1.2955
1.2915
1.2890

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 27 ก.ค.: ยูโรดีดตัว รับผลประกอบการดอยช์แบงก์-ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมนี

ค่าเงินยูโรดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (27 ก.ค.) หลังจากเยอรมนีรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคพุ่งขึ้น และธนาคารดอยช์แบงก์ และยูบีเอส เอจี ซึ่งเป็น 2 ธนาคารยักษ์ใหญ่ของยุโรป รายงานผลประกอบการที่สดใส อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายในตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลหลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ร่วงลงอย่างหนักในเดือนก.ค.

ค่าเงินยูโรดีดตัวขึ้น 0.02% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2997 ดอลลาร์ จากระดับของจันทร์ที่ 1.2994 ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินปอนด์พุ่งขึ้น 0.65% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5585 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5484 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 1.21% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 87.930 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 86.880 เยน และแข็งค่าขึ้น 1.13% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0601 ฟรังค์ จากระดับ 1.0483 ฟรังค์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนตัวลง 0.07% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9019 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของจันทร์ที่ 0.9025 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนตัวลง 0.18% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7323 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7336 ดอลลาร์สหรัฐ

นักลงทุนเข้าถือครองสกุลเงินยูโรหลังจากสถาบัน GfK รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสำหรับเดือนส.ค.ของเยอรมนี เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.9 จุด จากเดือนก.ค.ที่ระดับ 3.6 จุด หลังจากอัตราว่างงานลดลง นอกจากนี้ การที่เยอรมนีได้ครองอันดับ 3 ในศึกฟุตบอลโลก 2010 ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชาวเยอรมนีมีความเชื่อมั่นมากขึ้นด้วย

ข้อมูลของ GfK บ่งชี้ว่า ดัชนีความคาดหวังต่อภาวะเศรษฐกิจของเยอรมนี พุ่งขึ้น 31.3 จุด เป็น 36.8 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินโลกในเดือนต.ค.2551 นอกจากนี้ ผู้บริโภคคาดหวังว่ารายได้ในเดือนส.ค.จะปรับตัวขึ้นเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และอัตราว่างงานที่ลดลงอย่างเหนือความคาดหมาย

อัตราว่างงานประจำเดือนมิ.ย.ของเยอรมนีปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 เนื่องจากบริษัทเอกชนปรับเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อรองรับยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นแข็งแกร่ง

นอกจากนี้ ยูโรยังดีดตัวขึ้นขานรับรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งของธนาคารในยุโรป โดยธนาคารยูบีเอส เอจี ของสวิสเซอร์แลนด์ เปิดเผยว่าธนาคารมีกำไรในไตรมาส 2 ทั้งสิ้น 2.0 พันล้านสวิสฟรังซ์ (1.9 พันล้านดอลลาร์) และดอยช์แบงก์ ธนาคารรายใหญ่สุดในเยอรมนี เปิดเผยรายได้สุทธิในไตรมาส 2 อยู่ที่ระดับ 7.2 พันล้านยูโร

อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายในตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเป็นไปอย่างผันผวน หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.ร่วงลงสู่ระดับ 50.4 จุด จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ54.3 จุด ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 51.0 จุด และเป็นการปรับตัวลงติดต่อกัน 2 เดือน สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูงและภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันพุธ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมิ.ย. และธนาคารกลางสหรัฐจะเปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book ส่วนวันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และวันศุกร์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 2 ปี 2553

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 26 ก.ค.: ยูโรพุ่งเทียบดอลล์ ขานรับผล stress test แบงค์ยุโรป

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (26 ก.ค.) ขานรับผลการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ที่ระบุว่า มีธนาคารในยุโรปเพียง 7 แห่งที่ไม่ผ่านการทดสอบครั้งนี้ ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของสกุลเงินยูโรและภาคการเงินของยุโรปมากขึ้น แม้นักวิเคราะห์บางกลุ่มยังคงมีมุมมองที่เป็นลบต่อผลการทดสอบก็ตาม ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่ที่พุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนมิ.ย.

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.68% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2992 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.2904 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์พุ่งขึ้น 0.34% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5487 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5434 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดิ่งลง 0.69% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 86.840 เยน จากระดับของวันศุกร์ที่ 87.440 เยน และดิ่งลง 0.60% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0482 ฟรังค์ จากระดับ 1.0545 ฟรังค์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.80% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9027 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 0.8955 ดอลลาร์สหรัฐ

คณะกรรมการกำกับดูแลภาคการธนาคารของสหภาพยุโรป (CEBS) ได้เปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติ (stress test) ธนาคาร 91 แห่งในยุโรปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยระบุว่ามีธนาคารเพียง 7 แห่งที่ไม่ผ่านการทดสอบ ซึ่งได้แก่ธนาคารไฮโป เรียลเอสเตท โฮลดิ้ง ของเยอรมนี ธนาคารเอทีอีของกรีซ ส่วนธนาคารอีก 5 แห่งเป็นของสเปน ได้แก่ ธนาคาร Diada, Unnim, Espiga, Banca Civica และ Cajasur ซึ่งการทดสอบ stress test เป็นความร่วมมือระหว่าง CEBS และธนาคารกลางยุโรป (ECB)

แถลงการณ์ของ CEBS ระบุว่า ธนาคารทั้ง 7 แห่งไม่สามารถผ่านการทดสอบการเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Tier 1 capital) เนื่องจากธนาคารทั้ง 7 แห่งมีอัตราส่วนทุนต่อสินทรัพย์ต่ำกว่าระดับอ้างอิงขั้นต่ำของ CEBS ที่ 6% จึงทำให้ธนาคารเหล่านี้ต้องระดมทุนเป็นเงินรวมกันมูลค่า 3.5 พันล้านยูโร หรือ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเสริมสร้างสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่ง และเพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุน

CEBS กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการทดสอบภาวะวิกฤตธนาคาร 91 แห่งของยุโรป หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของอุตสาหกรรมการธนาคารในยุโรป ก็เพื่อประเมินว่าธนาคารเหล่านี้จะสามารถต้านทานภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจและมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลที่ลดลงได้หรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่ได้จำลองวิธีการรับมือของธนาคารต่อแรงกดดันทางการเงิน ต่อเงินกู้ และสินทรัพย์อื่นๆในยามที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง รวมทั้งทดสอบการเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุนขั้นที่ 1 ว่าอัตราส่วนทุนต่อสินทรัพย์จะยังคงอยู่เหนือระดับอ้างอิงขั้นต่ำที่ 6% หรือไม่

นายจิโอวานนี คาโรซิโอ ประธาน CEBS กล่าวว่า "ผลการทดสอบภาวะวิกฤตบ่งชี้ว่า ธนาคารทั้ง 7 แห่งจะต้องเร่งระดมทุนเพื่อเสริมสร้างสถานะการเงินให้แข็งแกร่ง นอกจากนี้ ผลการทดสอบยังสะท้อนถึงวิกฤตการเงินที่ธนาคารทั้ง 7 กำลังเผชิญ รวมถึงตัวเลขขาดทุน อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินที่ธนาคารต้องระดมทุนรวมกันในครั้งนี้ไม่มากเท่ากับที่มีการประเมินไว้เบื้องต้น เนื่องจากรัฐบาลในกลุ่มสหภาพยุโรปได้อัดฉีดเงินทุนจำนวนมากเข้าสู่ระบบเมื่อไม่นานมานี้"

CEBS พร้อมด้วยธนาคารกลางยุโรป และคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ออกแถลงการณ์ร่วมขานรับผลการทดสอบภาวะวิกฤตในครั้งนี้ว่า "การทดสอบภาวะวิกฤตของธนาคารทั้ง 91 แห่งในยุโรปเป็นไปด้วยความโปร่งใส ผลการทดสอบยืนยันชัดเจนว่า โดยภาพรวมแล้วระบบการธนาคารของสหภาพยุโรปสามารถต้านทานวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินได้ และการทดสอบครั้งนี้จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาด"

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่เดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 23.6% สู่ระดับ 330,000 ยูนิตต่อปี จากเดือนพ.ค.ที่ระดับ 267,000 ยูนิตต่อปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 30 ปี และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 320,000 ยูนิตต่อปี

ยอดขายบ้านใหม่ที่เพิ่มขึ้นแข็งแกร่งในเดือนมิ.ย.ส่งผลให้จำนวนบ้านใหม่ที่ยังไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายในตลาดสหรัฐ ปรับตัวลดลง 1.4% มาอยู่ที่ระดับ 210,000 ยูนิต ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 42 ปี ส่วนราคากลางของบ้านใหม่ปรับตัวลดลง 1.4% มาอยู่ที่ระดับ 213,400 ดอลลาร์


วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 22 ก.ค.: ดอลล์ร่วงเทียบสกุลหลักๆ หลังสหรัฐเผยข้อมูลเศรษฐกิจย่ำแย่

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 ก.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่พุ่งขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ค่าเงินยูโรทะยานขึ้นกว่า 1% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากยุโรปรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 1.01% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 1.2885 ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 1.2756 ดอลลาร์ และค่าเงินปอนด์พุ่งขึ้น 0.66% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 1.5263 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5163 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.16% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 86.920 เยน จากระดับของวันพุธที่ 87.060 เยน และดิ่งลง 0.73% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0425 ฟรังค์ จากระดับ 1.0502 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 1.85% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.8935 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 0.8773 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 1.84% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.7244 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7113 ดอลลาร์สหรัฐ

นักลงทุนกระหน่ำขายสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐหลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอภายในประเทศ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 17 ก.ค. พุ่งขึ้น 37,000 ราย สู่ระดับ 464,000 ราย ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.ปีนี้ และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 445,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้นที่ระดับ 429,000 ราย สะท้อนให้เห็นถึงภาวะอ่อนแอของตลาดแรงงานสหรัฐ ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า

ขณะที่สำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด รายงานว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐเดือนมิ.ย.ลดลง 0.2% มาอยู่ที่ระดับ 109.8 จุด บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตัวลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐเปิดเผย ยอดขายบ้านมือสองเดือนมิ.ย.ร่วงลง 5.1% แตะระดับ 5.37 ล้านยูนิต เนื่องจากปริมาณบ้านที่ยังไม่ได้ปิดดีลการขายปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี

ค่าเงินยูโรได้แรงหนุนหลังจากทางการยุโรปเปิดเผยรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งรวมถึงตัวเลขจีดีพีของ 16 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร หรือ ยูโรโซน ที่ขยายตัวเกินคาด และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในยุโรปที่ขยายตัวแข็งแกร่งเช่นกัน ซึ่งช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป

นักลงทุนจับตาดูการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ของธนาคารยุโรป 91 แห่งในคืนวันศุกร์ที่ 23 ก.ค.ตามเวลาประเทศไทย โดยคณะกรรมการกำกับดูแลภาคการธนาคารของสหภาพยุโรป (CEBS) ระบุว่า การทดสอบ stress test มีเป้าหมายที่จะประเมินว่าธนาคารในยุโรปจะสามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้หรือไม่ โดยแนวทางการทดสอบหลักๆนั้น ครอบคลุมถึงขีดความสามารถในการรับมือกับตัวเลขขาดทุน 17% ที่เกิดจากปัญหาหนี้สาธารณะของรัฐบาลกรีซ และตัวเลขขาดทุน 3% ที่เกิดจากหนี้สาธารณะของสเปน โดยเจ้าหน้าที่จะจำลองวิธีการรับมือของธนาคารต่อแรงกดดันทางการเงิน ต่อเงินกู้ และสินทรัพย์อื่นๆในยามที่เศรษฐกิจถดถอย

นางแองเกล่า แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ได้ออกมาตอบโต้เสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการทดสอบภาวะวิกฤตของธนาคารยุโรปก่อนที่จะมีการเปิดเผยผลการทดสอบว่า บททดสอบที่ CEBS นำมาใช้กับธนาคารยุโรปนั้น มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงและน่าเชื่อถือได้ แม้นักวิเคราะห์บางคนตั้งคำถามว่าการทดสอบดังกล่าวอาจจะไม่รัดกุมมากพอที่จะกอบกู้ความเชื่อมั่นของประชาชนได้

นักวิเคราะห์คาดว่า ธนาคารยุโรปทั้ง 91 แห่งอาจจะผ่านการทดสอบในครั้งนี้ แต่หนังสือพิมพ์ Handelsblatt ของเยอรมนีรายงานว่า ไฮโป เรียลเอสเตท โฮลดิ้ง ซึ่งเป็น 1 ใน 14 ธนาคารของเยอรมนีที่เข้ารับการทดสอบภาวะวิกฤตนั้น อาจจะไม่ผ่านการทดสอบ เนื่องจากไฮโป เรียลเอสเตท ยังอยู่ในสถานะที่ต้องระดมทุนเพิ่ม อย่างไรก็ตาม นางแมร์เคลเชื่อมั่นว่าไฮโป เรียลเอสเตท ยังคงมีสภาพคล่องหมุนเวียนที่ดี หลังจากที่รัฐบาลเยอรมนีเข้าไปเทคโอเวอร์กิจการ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 22 ก.ค.

EUR/USD intraday: key ST resistance at 1.284
Pivot: 1.2840

คำแนะนำ : Short ที่ระดับต่ำกว่า 1.2840 targets @ 1.2738 & 1.2695

หากราคาผ่านเหนือ 1.2840 เป้าหมายด้านบนคือ 1.2870 & 1.2910

ข้อสังเกต : ตราบใดที่ยังไม่ผ่านแนวต้านที่ 1.2840 จะมีโอกาสสูงที่จะทะลุแนว 1.27380 ลงมา

Key levels
1.2910
1.2870
1.2840
1.2770 last
1.2738
1.2695
1.2650

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 22 ก.ค.: ดอลล์,ยูโรร่วง หลังเบอร์นันเก้ชี้ศก.สหรัฐเผชิญความไม่แน่นอน

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์ และเงินยูโร ร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (21 ก.ค.) หลังจาก เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารแห่งวุฒิสภาสหรัฐว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังเผชิญกับ"ความไม่นอนอย่างไม่ปกติ" และแนวโน้มการฟื้นตัวยังคงซบเซา ซึ่งการแสดงความคิดเห็นดังกล่าวทำให้ความต้องการซื้อสินทรัพย์เสี่ยงลดน้อยลงและยังทำให้นักลงทุนวิตกกังวลในวงกว้าง นอกจากนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่จับตาดูการเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ของธนาคารในยุโรปในวันศุกร์นี้

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.91% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2767 ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 1.2884 ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินปอนด์ดิ่งลง 0.65% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5168 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5267 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.50% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 87.060 เยน จากระดับของวันอังคารที่ 87.500 เยน และดิ่งลง 0.14% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0507 ฟรังค์ จากระดับ 1.0522 ฟรังค์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.59% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8781 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันอังคารที่ 0.8833 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 0.53% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7130 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7168 ดอลลาร์สหรัฐ

นักลงทุนลดการถือครองดอลลาร์และสินทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าดอลลาร์ รวมถึงยูโรและปอนด์ หลังจากเบอร์นันเก้แถลงมุมมองเศรษฐกิจต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารแห่งวุฒิสภาสหรัฐเมื่อคืนนี้ (ตามเวลาประเทศไทย) ว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังเผชิญกับความไม่นอนอย่างไม่ปกติ อันเป็นผลมาจากภาวะตึงตัวในตลาดแรงงานและตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงตกต่ำ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ภาคครัวเรือนจับจ่ายใช้สอยน้อยลงและทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเผชิญกับภาวะที่เปราะบางมาก

เบอร์นันเก้ยังกล่าวด้วยว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาอาจทำให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ต้องใช้นโยบายที่จำเป็นเพื่อยับยั้งการชะลอตัว ซึ่งอาจรวมถึงการตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง หรืออาจทบทวนการใช้นโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจบางด้าน อย่างไรก็ตาม เบอร์นันเก้เชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะไม่กลับเข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรงครั้งใหม่

ทั้งนี้ เฟดได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ลงสู่ระดับ 3.0 - 3.5% ซึ่งน้อยกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวราว 3.2 - 3.7% นอกจากนี้ เฟดยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราว่างงานในสหรัฐว่าจะอยู่ที่ระดับ 9.2 - 9.5% ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 9.1 - 9.5%

นักลงทุนจับตาดูผล stress test ซึ่งทางคณะกรรมการกำกับดูแลภาคการธนาคารของสหภาพยุโรป (CEBS) จะเปิดเผยในวันที่ 23 ก.ค.นี้ โดยธนาคารพาณิชย์ในยุโรปที่ต้องเข้าทดสอบในครั้งนี้มีอยู่ประมาณ 91 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของอุตสาหกรรมการธนาคารในยุโรป เพื่อทดสอบว่าธนาคารเหล่านี้จะสามารถต้านทานภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจและสามารถในการรับมือกับตัวเลขขาดทุน 17% ที่เกิดจากปัญหาหนี้สาธารณะของรัฐบาลกรีซ และตัวเลขขาดทุน 3% ที่เกิดจากหนี้สาธารณะของสเปนได้หรือไม่

สำหรับธนาคารยุโรปที่เข้ารับการทดสอบครั้งนี้ รวมถึง HSBC, ลอยด์ แบงกิง, บาร์เคลยส์, รอยัลแบงค์ ออฟ สก็อตแลนด์, บีเอ็นพี พาริบาส์, โซซิเอเต เจนเนอราล, ดอยช์ แบงค์ และคอมเมิร์ซแบงค์ เอจี

นอกจากนี้ นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดขายบ้านมือสองเดือนมิ.ย. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนมิ.ย. ซึ่งทั้งหมดจะมีการเปิดเผยในวันพฤหัสบดี

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 20 ก.ค.

EUR/USD intraday: the upside prevails

Pivot: 1.2955.

คำแนะนำ : LONG ที่ระดับ @ 1.2965 เป้าหมาย 1.3070 & 1.3150

หากราคาลงผ่านต่ำกว่า 1.2955 จะเปิดทางไปสู่ 1.2875 & 1.2825.

ข้อสังเกต : ราคาอยู่ใน bullish channel หากราคาทะลุเหนือ of 1.3000 จะเปิดทางไปสู่ 1.3070

แนวโน้ม : ระยะสั้น ST ยังขึ้นได้จำกัด ; ระยะกลาง MT วิ่งอยู่ในกรอบ

Key levels Comment

1.3250*** Horizontal resistance
1.3150** Fib projection
1.3070** Intraday resistance
1.2970 Last
1.2955*** Intraday pivot point
1.2875** Intraday support
1.2825** Fib retracement (38.2%)

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 19 ก.ค.: ดอลล์ร่วงเทียบยูโร หลังสหรัฐเผยดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยหดตัวรุนแรง

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19 ก.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยร่วงลงอย่างหนัก ขณะที่ค่าเงินยูโรแม้ดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์ แต่ก็ดิ่งลงอย่างหนักในระหว่างวัน หลังจากมูดีส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์ และจากข่าวกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระงับการเจรจาโครงการปล่อยเงินกู้กับฮังการี นอกจากนี้ นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐ

ค่าเงินยูโรดีดตัวขึ้น 0.17% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2952 ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.2930 ดอลลาร์ และเงินปอนด์ดิ่งลง 0.46% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5218 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5288 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐขยับขึ้น 0.14% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 86.710 เยน จากระดับ 86.590 เยน และขยับขึ้น 0.16% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0520 ฟรังค์ จากระดับ 1.0503 ฟรังค์

ส่วนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดิ่งลง 0.10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8679 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 0.8688 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 0.62% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7060 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7104 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐถูกกดดันหลังจากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB)/ เวลส์ ฟาร์โกเปิดเผยว่า ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.ค.ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2552

นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพด้านการเงินในยุโรป หลังจากมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลไอร์แลนด์ลง 1 ขั้น มาอยู่ที่ระดับ Aa2 จากเดิมที่ระดับ Aa1 โดยระบุว่าเศรษฐกิจไอร์แลนด์มีแนวโน้มชะลอตัว

รวมทั้งข่าวที่ว่า ไอเอ็มเอฟและสหภาพยุโรป (อียู) ระงับการเจรจาโครงการเงินกู้ของฮังการีซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 2552 จนกว่าฮังการีจะดำเนินมาตรการที่เข้มงวดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ

การทบทวนดังกล่าวจะทำให้ฮังการีไม่ได้รับเงินกู้ที่เหลืออยู่ในโครงการเงินกู้ 2.51 หมื่นล้านดอลลาร์จากไอเอ็มเอฟและอียูจนกว่าการทบทวนโครงการเงินกู้จะได้ข้อสรุป โดยสาเหตุที่ทำให้การเจรจาเงินกู้ถูกระงับลงก็เพราะทั้งไอเอ็มเอฟและอียูยังไม่พอใจในมาตรการรัดเข็มขัด หรือแผนการปรับลดงบประมาณรายจ่ายในช่วงปี 2554 และ 2555 ของฮังการี

แถลงการณ์ของไอเอ็มเอฟและอียูได้สร้างแรงกดดันให้กับนายกรัฐมนตรีวิคเตอร์ ออร์แบน ของตุรกี ให้ต้องเร่งทำงานหนักเพื่อลดยอดขาดดุลตามเป้า รวมถึงการกอบกู้ความเชื่อมั่นให้กับนักลง หลังจากค่าเงินฟอรินท์ดิ่งลงไปแล้วว่า 4.6% เมื่อเทียบกับยูโรในระยะเวลาเพียง 2 วัน

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐ เตรียมลงนามรับรองกฎหมายปฏิรูปภาคการเงินในวันพุธที่ 21 ก.ค. หลังจากวุฒิสภาสหรัฐมีมติด้วยคะแนนเสียง 60 ต่อ 39 อนุมัติร่างกฎหมายปฏิรูปภาคการเงินของสหรัฐเมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายปฏิรูปภาคการเงินได้กำหนดข้อบังคับที่เข้มงวดเกี่ยวกับกิจกรรมการซื้อขายและการลงทุนด้านเฮดจ์ฟันด์ของธนาคาร นอกจากนี้ ยังเปิดทางให้รัฐบาลสามารถปิดกิจการสถาบันการเงินเสี่ยงต่อการล้มละลายได้ รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อคุ้มครองกลุ่มผู้บริโภคทางการเงิน จัดตั้งกระบวนการในการปิดบริษัทการเงินที่ประสบปัญหา

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันอังคาร กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนมิ.ย. วันพุธ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ และวันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติจะเปิดเผยยอดขายบ้านมือสองเดือนมิ.ย. และสำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด จะเปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนมิ.ย. ส่วนวันศุกร์ไม่มีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 16 ก.ค.: ดอลล์ร่วง หลังดัชนีราคาผู้

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (16 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงอย่างหนัก และดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวลดลงติดต่อกัน 3 เดือน รวมทั้งรายงานผลประกอบการที่อ่อนแอของซิตี้กรุ๊ป และแบงค์ ออฟ อเมริกา

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 01.98% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 86.590 เยน จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 87.450 เยน และดิ่งลง 0.96% เมื่อเทียบกับปอนด์ที่ระดับ 1.5305 ปอนด์ จากระดับ 1.5454 ปอนด์

ค่าเงินยูโรขยับลงเพียงเล็กน้อย 0.04% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 1.2933 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.2938 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 1.03% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0516 ฟรังค์ จากระดับ 1.0409 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดิ่งลง 1.48% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.8705 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 0.8836 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดิ่งลง 2.38% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.7108 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7281 ดอลลาร์สหรัฐ

ภาวะการซื้อขายในตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กผันผวนอย่างหนักเนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นในเดือนก.ค. ร่วงลงสู่ระดับ 66.5 จุด จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 76.0 จุด ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ 74.5 จุด เนื่องจากผู้บริโภคมีความวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลง

ขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อ ลดลง 0.1% ในเดือนมิ.ย. ทำสถิติลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะทรงตัวจากระดับของเดือนพ.ค. เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงาน อาหาร และค่าธรรมเนียมสายการบิน ปรับตัวลดลง

ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐได้ตอกย้ำถึงความวิตกกังวลที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ซึ่งก่อนหน้านี้ตลาดได้รับแรงกดดันอย่างหนักอยู่แล้วจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ลงสู่ระดับ 3.0 - 3.5% ซึ่งน้อยกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวราว 3.2 - 3.7% และคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2555 จะขยายตัวราว 3.5 - 4.5% ขณะเดียวกัน เฟดได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราว่างงานในสหรัฐว่าจะอยู่ที่ระดับ 9.2 - 9.5% ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 9.1 - 9.5%

ค่าเงินยูโรได้แรงหนุนหลังจากนายเหวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีของจีน ยืนยันว่า ยุโรปยังคงเป็นเป้าหมายการลงทุนหลักสำหรับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีน และจีนจึงยึดมั่นในหลักการการนำเงินในพอร์ทออกมากระจายความเสี่ยง ซึ่งตลาดยุโรปเป็นหนึ่งในตลาดการลงทุนหลักของจีน นอกจากนี้ นายเหวินยังกล่าวด้วยว่า จีนพร้อมจะให้ความช่วยเหลือหากประเทศยุโรปได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้สาธารณะ

นักลงทุนผิดหวังต่อผลประกอบการของซิตี้กรุ๊ป และแบงค์ ออฟ อเมริกา โดยเมื่อวานนี้ซิตี้กรุ๊ปเปิดเผยกำไรไตรมาส 2 ลดลง 38% มาอยู่ที่ระดับ 2.73 พันล้านดอลลาร์ หรือ 9 เซนต์ต่อหุ้น ขณะที่แบงค์ ออฟ อเมริกา เปิดเผยกำไรไตรมาส 2 ลดลง 75% จากไตรมาสแรก มาอยู่ที่ระดับ 1.2 พันล้านดอลลาร์

วุฒิสภาสหรัฐมีมติด้วยคะแนนเสียง 60 ต่อ 39 อนุมัติร่างกฏหมายปฏิรูปภาคการเงินของสหรัฐ ซึ่งถือเป็นการยกเครื่องระบบการเงินครั้งใหญ่ที่สุดนับจากทศวรรษที่ 1930 โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวกำหนดข้อบังคับที่เข้มงวดเกี่ยวกับกิจกรรมการซื้อขายและการลงทุนด้านเฮดจ์ฟันด์ของธนาคาร นอกจากนี้ ยังเปิดทางให้รัฐบาลสามารถปิดกิจการสถาบันการเงินเสี่ยงต่อการล้มละลายได้ รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อคุ้มครองกลุ่มผู้บริโภคทางการเงิน จัดตั้งกระบวนการในการปิดบริษัทการเงินที่ประสบปัญหา และยกระดับมาตรฐานเงินกองทุนของธนาคาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติสินเชื่อแบบในปี 2550 - 2552 ขึ้นอีก

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 15 ก.ค.: ดอลล์ร่วงเทียบสกุลเงินหลักๆ ขณะนักลงทุนวิตกแนวโน้มศก.สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสหรัฐ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจและเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแอ

ค่าเงินยูโรดีดตัวขึ้น 1.37% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2914 ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 1.2740 ดอลลาร์ และค่าเงินปอนด์พุ่งขึ้น 1.21% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5442 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5258 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 1.03% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 87.530 เยน จากระดับของวันพุธที่ 88.440 เยน และดิ่งลง 0.97% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0421 ฟรังค์ จากระดับ 1.0523 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียขยับลง 0.07% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.8836 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 0.8842 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.76% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.7292 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7237 ดอลลาร์สหรัฐ

นักลงทุนกระหน่ำขายสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเพราะขาดความเชื่อมั่นในเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสหรัฐ หลังจากเฟดระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงฟื้นตัวในระดับปานกลาง แต่สหรัฐอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อรับมือกับภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาขยายตัวได้ดีอีกครั้ง

ทั้งนี้ เฟดได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ลงสู่ระดับ 3.0 - 3.5% ซึ่งน้อยกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวราว 3.2 - 3.7% และคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2555 จะขยายตัวราว 3.5 - 4.5% ขณะเดียวกัน เฟดได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราว่างงานในสหรัฐว่าจะอยู่ที่ระดับ 9.2 - 9.5% ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 9.1 - 9.5%

นอกจากนี้ เฟดเปิดเผยเมื่อคืนนี้ว่า ผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐเดือนมิ.ย.ขยับขึ้นเพียง 0.1% ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตทรงตัวอยู่ที่ 74.1% นอกจากนี้ เฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเปิดเผยว่า ดัชนีกิจกรรมการผลิตในเขตมิด-แอตแลนติกร่วงลงสู่ระดับ 5.1 จุดในเดือนก.ค. จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 8.0 จุด ซึ่งข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนของสหรัฐทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นไปอย่างล่าช้า

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ลดลง 29,000 ราย มาอยู่ที่ระดับ 429,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2551 ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันสองสัปดาห์

อย่างไรก็ตาม แม้จำนวนคนว่างงานปรับตัวลงในรอบสัปดาห์ที่แล้ว แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าตลาดแรงงานยังเป็นความท้าทายหลักสำหรับคณะทำงานของประธานาธิบดีบารัค โอบามาและพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งกลางเทอมในเดือนพ.ย.นี้ นอกจากนี้ เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังได้ออกมาแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน พร้อมกับเรียกร้องให้ธนาคารพาณิชย์สหรัฐเพิ่มปริมาณการปล่อยเงินกู้ให้กับธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและลดอัตราว่างงาน

ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในวันศุกร์นี้ รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย. และข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติประจำเดือนพ.ค.

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 13 ก.ค.: ยูโรพุ่งเทียบดอลล์ จากข่าวรัฐบาลกรีซเปิดประมูลตั๋วเงินคลัง

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13 ก.ค.) หลังจากมีรายงานว่าการประมูลตั๋วเงินคลังของรัฐบาลกรีซผ่านไปอย่างราบรื่นและสามารถระดมทุนได้ถึง 1.625 พันล้านยูโร ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยยอดขาดดุลการค้าที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 18 เดือน และค่าเงินปอนด์ทะยานขึ้นเนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางอังกฤษอาจปรับขึ้นดอกเบี้ย หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อในประเทศพุ่งขึ้นมากกว่าเป้าหมายของธนาคารกลาง

ค่าเงินยุโรพุ่งขึ้น 0.97% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2711 ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.2589 ดอลลาร์ และค่าเงินปอนด์พุ่งขึ้น 0.96% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5165 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5021 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.20% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 88.440 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 88.620 เยน และดิ่งลง 0.56% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0547 ฟรังค์ จากระดับ 1.0606 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.61% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.8809 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันจันทร์ที่ 0.8756 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 1.07% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.7190 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7114 ดอลลาร์สหรัฐ

ยูโรพุ่งขึ้นเนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป หลังจากมีรายงานว่า รัฐบาลกรีซประสบความสำเร็จในการนำตั๋วเงินคลังอายุ 6 เดือนออกประมูล ซึ่งทำให้รัฐบาลสามารถระดมทุนได้สูงถึง 1.625 พันล้านยูโร หรือ 2.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ความสำเร็จในการประมูลตั๋วเงินคลังของรัฐบาลกรีซช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลจากข่าวที่ว่า มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของโปรตุเกสลง 2 ขั้น สู่ระดับ A1 โดยมูดี้ส์ระบุว่า การลดอันดับความน่าเชื่อถือของโปรตุเกสในครั้งนี้เป็นผลมาจากสถานะทางการเงินของโปรตุเกสมีแนวโน้มอ่อนแอลงในระยะกลาง ซึ่งในเบื้องต้นนั้น ข่าวดังกล่าวได้สร้างแรงกดดันอย่างมากในตลาด

ค่าเงินปอนด์ได้แรงหนุนจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางอังกฤษอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อ ขยายตัวที่ระดับ 3.2% ในเดือนมิ.ย. สูงกว่าที่ธนาคารกลางตั้งเป้าไว้ที่ 2% หลังจากที่ราคาสินค้าต่างๆสูงขึ้นตั้งแต่น้ำมันเชื้อเพลิงไปจนถึงราคาอาหาร

ส่วนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดขาดดุลการค้าเดือนพ.ค.พุ่งขึ้น 4.8% สู่ระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือนที่ 4.23 หมื่นล้านดอลลาร์ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้กระตุ้นดีมานด์การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงรถยนต์ คอมพิวเตอร์ และเสื้อผ้า โดยสหรัฐขาดดุลการค้ากับสหภาพยุโรป (อียู) เพิ่มขึ้น 7.5% แตะที่ 6.2 พันล้านดอลลาร์ และขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้น 15.4% สู่ระดับ 2.23 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.ปีที่แล้ว

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย.และตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนพ.ค. ข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมิ.ย. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย. และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย.

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 13 ก.ค.

EUR/USD intraday: continuation of the rebound

Pivot: 1.2550

คำแนะนำ : Long positions ที่ระดับเหนือ 1.2550 targets @ 1.2620 & 1.2650

หากราคาลงต่ำกว่า 1.2550 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.2525 & 1.2475

ข้อสังเกต : ราคาทะลุเหนือแนวขอบด้านบนของ bearish channel RSI มีทิศทางชัดเจน

Key levels
1.2700
1.2650
1.2620
1.2595 last
1.2550
1.2525
1.2475

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 12 ก.ค.: เงินดอลล์แข็งค่า ขณะนักลงทุนจับตาผลประกอบการเอกชน

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (12 ก.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวกต่อผลประกอบการเอกชน ขณะที่ยูโรร่วงลงเนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรก่อนที่คณะกรรมาธิการยุโรปจะเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ของธนาคารพาณิชย์ยุโรปในสัปดาห์หน้านี้ ส่วนค่าเงินเยนอ่อนตัวลงหลังจากพรรครัฐบาลญี่ปุ่นสูญเสียที่นั่งข้างมากในการเลือกตั้งสภาสูง

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.34% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 1.2591 ดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.2634 ดอลลาร์ และค่าเงินปอนด์ดิ่งลง 0.20% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 1.5032 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5062 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดีดขึ้น 0.02% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 88.600 เยน จากระดับของวันศุกร์ที่ 88.580 เยน และขยับขึ้น 0.20% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0597 ฟรังค์ จากระดับ 1.0576 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.27% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.8749 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 0.8773 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.17% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ 0.7101 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7113 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินยูโรร่วงลงก่อนที่คณะกรรมการกำกับดูแลภาคการธนาคารของสหภาพยุโรป (CEBS) จะเปิดเผยผล stress test ในวันที่ 23 ก.ค.นี้ โดย CEBS ต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนว่า ธนาคารพาณิชย์มีฐานเงินทุนสูงพอที่จะรับมือกับการผิดนัดชำระหนี้ (debt default) ของประเทศยุโรปได้

ธนาคารพาณิชย์ที่ต้องเข้าทดสอบในครั้งนี้ ครอบคลุมถึงธนาคารของเยอรมนี 14 แห่ง ธนาคารกรีซ 6 แห่ง และธนาคารอังกฤษ 4 แห่ง โดยแนวทางการทดสอบหลักๆอาจรวมถึงขีดความสามารถในการรับมือกับตัวเลขขาดทุน 17% ที่เกิดจากปัญหาหนี้สาธารณะของรัฐบาลกรีซ และตัวเลขขาดทุน 3% ที่เกิดจากหนี้สาธารณะของสเปน

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนเชื่อมั่นว่าผลประกอบการภาคเอกชนจะออกมาแข็งแกร่ง โดยบริษัทที่มีกำหนดจะเปิดเผยผลระกอบการในสัปดาห์นี้นั้น รวมถึงเจพีมอร์แกน เชสแอนด์โค, แบงค์ ออฟ อเมริกา, เจนเนอรัล อิเล็กทริก (จีอี) และอินเทล คอร์ป

ส่วนค่าเงินเยนร่วงลงหลังจากนายนาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสูญเสียที่นั่งในสภาสูงในศึกเลือกตั้งวุฒิสภาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งผลการเลือกตั้งดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคความพยายามของรัฐบาลในการปรับลดหนี้สาธารณะในประเทศ และอาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำเป็นครั้งที่สามในปีนี้

สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเครายงานผลการเลือกตั้งวุฒิสภาว่า พรรคเดโมเครติค ปาร์ตี้ ออฟ เจแปน (ดีพีเจ) ครองที่นั่งในสภาสูงได้ 44 ที่นั่ง ขณะที่พรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ครองที่นั่งได้ 51 ที่นั่ง ส่วนพรรคยัวร์ ปาร์ตี้ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่จัดตั้งโดยนายโยชิมิ วาตานาเบ้ อดีตรัฐมนตรีของพรรคแอลดีพีครองที่นั่งได้ 10 ที่นั่ง

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันอังคาร กระทรวงพาณิชย์จะเปิดเผยข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนพ.ค.และกระทรวงการคลังจะเปิดเผยงบประมาณของรัฐบาลกลางเดือนมิ.ย. วันพุธ กระทรวงพาณิชย์จะเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย.และตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนพ.ค. ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยรายงานการประชุมเมื่อวันที่ 22-23 มิ.ย.

วันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่เฟดสาขานิวยอร์กจะเปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือนก.ค.รวมทั้งข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมิ.ย. และกระทรวงแรงงานจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย.

ส่วนวันศุกร์ กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย.และกระทรวงการคลังจะเปิดเผยข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติเดือนพ.ค.

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Technical Analysis for Week 12—16th Jul

EUR/USD trend: sell.
GBP/USD trend: sell.
USD/JPY trend: buy.
EUR/JPY trend: sell.
GBP/JPY trend: sell.

Floor Pivot Points
Pair3rd Sup2nd Sup1st SupPivot1st Res2nd Res3rd Res
EUR/USD1.22651.23721.25061.26131.27471.28541.2988
GBP/USD1.48071.49281.49961.51171.51851.53061.5374
USD/JPY85.8586.4387.5388.1189.2189.7990.89
EUR/JPY106.37107.75109.89111.27113.41114.79116.93
GBP/JPY128.24129.74131.63133.13135.02136.52138.41


Fibonacci Retracement Levels
PairsEUR/USDGBP/USDUSD/JPYEUR/JPYGBP/JPY
100.0%1.27211.523988.69112.66134.64
61.8%1.26291.516788.05111.32133.35
50.0%1.26011.514587.85110.90132.95
38.2%1.25721.512287.65110.48132.54
23.6%1.25371.509587.41109.97132.05
0.0%1.24801.505087.01109.14131.25

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 9 ก.ค.: ดอลล์พุ่งเทียบสกุลเงินหลักๆ ขณะนลท.จับตาภาคเอกชนเผยผลประกอบการ

เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (9 ก.ค.) ขณะที่นักลงทุนกำลังจับตาการรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสสองของบริษัทเอกชนที่จะเริ่มต้นในสัปดาห์หน้า

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.27% เมื่อเทียบกับเงินเยนมาอยู่ที่ระดับ 88.620 เยน จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 88.380 เยน ส่วนเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.43% เมื่อเทียบกับดอลลาร์มาอยู่ที่ 1.2638 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2693 ดอลลาร์ และร่วงลง 0.16% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 112.02 เยน จากระดับ 112.20 เยน

นอกจากนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 0.64% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0559 ฟรังค์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.0492 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนตัวลง 0.05% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8770 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 0.8774 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์เพิ่มขึ้น 0.14% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7104 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7094 ดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ได้รับปัจจัยหนุนจากกระแสคาดการณ์ในแง่บวกของนักลงทุน เกี่ยวกับแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทเอกชนประจำไตรมาสสองที่ดีขึ้น โดยบริษัทอัลโค อิงค์ จะเปิดเผยผลประกอบการในวันจันทร์หน้า ขณะที่บริษัทชั้นนำอื่นๆ ที่จะรายงานผลประกอบการในสัปดาห์หน้าได้แก่ เจพี มอร์แกนเชส แอนด์ โค, แบงก์ ออฟ อเมริกา, เจเนอรัล อิเลคทริก โค, และอินเทล คอร์ป

ขณะเดียวกัน ปัจจัยหนุนของเงินดอลลาร์ยังมาจากการรายงานข้อมูลสต็อกสินค้าภาคค้าส่งเดือนพ.ค.ของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน แม้ยอดขายจะปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกสินค้าภาคค้าส่งเพิ่มขึ้น 0.5% ขณะที่ยอดขายลดลง 0.3%

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์เทคนิค EUR/USD 9 ก.ค.

EUR/USD intraday: the upside prevails
Pivot: 1.262

คำแนะนำ : Long ที่ระดับเหนือ 1.2620 targets @ 1.2750 & 1.2815

หากราคาลงต่ำกว่า 1.2620 เป้าหมายด้านล่างคือ 1.2550 & 1.2525

ข้อสังเกต : ราคาอยู่ใน bullish channel และกำลังติดแนวต้าน

Key levels
1.2850
1.2815
1.2750
1.2701 last
1.2620
1.2550
1.2525

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก 9 ก.ค.: ยูโรพุ่งเทียบดอลล์ หลังธนาคารกลางยุโรประบุเศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัว

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (8 ก.ค.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจากสหรัฐและออสเตรเลียได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสกุลเงินที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง นอกจากนี้ การที่นายฌอง-คล้อด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป ได้แสดงความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป นับเป็นอีกปัจจัยที่หนุนสกุลเงินยูโรแข็งแกร่งขึ้นด้วย

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.45% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2691 ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 1.2634 ดอลลาร์ ส่วนค่าเงินปอนด์ร่วงลง 0.16% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5158 ดอลลาร์ จากระดับ 1.5183 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.24% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0495 ฟรังค์ จากระดับของวันพุธที่ 1.0520 ฟรังค์ แต่ดีดตัวขึ้น 0.78% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 88.380 เยน จากระดับ 87.700 เยน

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 1.38% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8762 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 0.8643 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดีดขึ้น 0.74% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7081 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7029 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินยูโรยังคงทะยานขึ้นต่อเนื่องจากเมื่อวันพุธ หลังจากนายทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรปประเมินว่า เศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนยังคงฟื้นตัวในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และคาดว่าการฟื้นตัวจะต่อเนื่องไปจนถึงช่วงครึ่งหลังของปีด้วย ส่วนในการประชุมเมื่อวานนี้ ธนาคารกลางยุโรปได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 1% ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่

นักลงทุนเข้าซื้อสกุลเงินที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง รวมถึงยูโรและดอลลาร์ออสเตรเลีย หลังจากสำนักงานสถิติออสเตรเลียเผยตัวเลขจ้างงานเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 45,900 ตำแหน่งจากระดับเดือนพ.ค. และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจออสเตรเลียจะขยายตัวที่ระดับ 3.0% ในปี 2553 และ 3.5% ในปี 2554

ในรายงาน World Economic Outlook รายไตรมาสซึ่งมีการเปิดเผยเมื่อวานนี้นั้น ไอเอ็มเอฟได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ขึ้นเป็น 4.5% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวเพียง 4.1% พร้อมกับปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐเป็น 3.3% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวเพียง 2.7%

ส่วนแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโร ยังคงทรงตัวที่ระดับ 1% นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียเป็น 7.5% จากเดิม 7% โดยได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนเป็น 10.5% จากเดิม 10% ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่นเป็น 2.4% จากเดิม 1.9% และปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจอินเดียเป็น 9.4% จากเดิม 8.8%

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 3 ก.ค. ลดลง 21,000 ราย มาอยู่ที่ระดับ 454,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค.เป็นต้นมา และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 460,000 ราย ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 เดือน ลดลง 1,250 ราย มาอยู่ที่ระดับ 466,000 ราย ซึ่งบ่งชี้ว่าอัตราการเลย์ออฟพนักงานในสหรัฐกำลังปรับตัวลดลง

ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุด 0.5% เป็นเดือนที่ 16 ติดต่อกัน ในการประชุมเมื่อวานนี้ แม้จะเริ่มมีเสียงเรียกร้องเพิ่มมากขึ้นเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อก็ตาม นอกจากนี้ ธนาคารกลางอังกฤษยังได้ตัดสินใจที่จะไม่อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มเติมภายใต้โครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของตลาด

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของอังกฤษปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบสามเดือน มาอยู่ที่ 3.4% ในเดือนพฤษภาคม จากระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือนที่ 3.7% ในเดือนเมษายน ซึ่งแม้ว่าจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ระดับ 2% ของธนาคารกลางอังกฤษ